เมื่อถึงช่วงเข้าใกล้ฤดูฝน ก็จะเป็นช่วงที่ทำให้คนไทยได้พอใจชื้นกันบ้าง จากการได้บอกลาอากาศร้อน และเข้าสู่ช่วงที่มีความชุ่มฉ่ำของสายฝนแทน แต่ในความที่ฝนตกนี่แหละ ถึงแม้อากาศจะเย็นลงบ้าง ก็ยังต้องแลกกับความแปรปรวนของอากาศ ที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาจนบางครั้งเราเองก็ไม่ได้ทันตั้งตัว และการที่ต้องรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยแบบนี้แหละ ที่จะทำให้เรามีโอกาสป่วยเป็นไข้หวัดได้ ในบทความนี้ เราจะมาแบ่งปันวิธีการป้องกันไข้หวัด ด้วยกลุ่มอาหารที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันป้องกันไข้หวัดได้ โดยจะมีกลุ่มอาหารประเภทใดบ้าง เราไปติดตามด้วยกันเลย1 . อาหารป้องกันไข้หวัด – เนื้อสัตว์
ในกลุ่มอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เราควรเลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณแร่ธาตุสังกะสี (Zinc, Zn) ที่มีส่วนช่วยในการลดระยะเวลาของอาการป่วยเป็นไข้หวัดได้ เช่น หอยนางรม, ไข่แดง, เนื้อแดง เช่น เนื้อหมู และเนื้อวัว และนอกจากนี้ เนื้อสัตว์เหล่านี้ ยังมีคุณสมบัติในการลดอาการป่วยข้างเคียงได้อีกด้วย2 . อาหารป้องกันไข้หวัด – ผักสีสด
ผักสีสด มีความสำคัญในการมีส่วนช่วยเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น แครอท, พริกหวาน, มะเขือเทศ ซึ่งเป็นผักที่มีวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งควรรับประทานในรูปแบบของผักสดเท่านั้น ไม่ควรรับประทานในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่มีความเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้
.3 . อาหารป้องกันไข้หวัด – ผลไม้
ผลไม้ สามารถช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผลไม้ประเภทที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม, ฝรั่ง, กีวี่ และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ซึ่งควรเลือกรับประทานเป็นผลไม้สดมากกว่าการรับประทานในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งไม่ควรบริโภคเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน และดื่มน้ำเปล่าให้ได้อย่างน้อย 2 ลิตร เพื่อป้องกันการเกิดนิ่ว
4 . อาหารป้องกันไข้หวัด – กระเทียม
มาถึงคิวของพระเอกของเรา อย่างกระเทียมสด ตัวช่วยชั้นดีในการป้องกันไข้หวัด ด้วยกระเทียมสด มีสารอะลิซิน (Allicin) ที่มีส่วนช่วยในการเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกาย แต่สามารถถูกทำลายได้ด้วยความร้อน โดยแนะนำให้รับประทานโดยสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือรับประทานการเทียมสดบด 2-4 กลีบต่อวัน จะมีส่วนช่วยในการป้องกันไข้หวัดได้เป็นอย่างดี
หมายเหตุ : สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง และไตเสื่อม ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับโรค ตามที่แพทย์และนักกำหนดอาหารแนะนำ