xs
xsm
sm
md
lg

สัญญาณเตือน !? ภาวะไขมันในเลือดสูง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เรื่องน่ารู้:
⌜ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)⌟ ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็น 1 ในโรค NCDs ที่ผู้คนทั่วโลกเป็นมากที่สุด และเป็นสาเหตุหลักของความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง (โรค CADs) ที่มี 3 กลุ่ม ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย เนื่องจากเกิดภาวะเส้นเลือดตีบตัน จึงไม่สามารถส่งสารอาหารและเกิดภาวะพร่องออกซิเจนต่อระบบการทำงานของหัวใจและสมอง ที่ส่งผลต่อการเกิดอาการหัวใจวาย หรือหลอดเลือดสมองแตกได้
⌜ระดับคอเลสเตอรอลปกติตามช่วงอายุ⌟

❈ อายุไม่เกิน 19 ปี
● คอเลสเตอรอลรวม = ต่ำกว่า 170 mg/dL
● Non-HDL คอเลสเตอรอล = ต่ำกว่า 120 mg/dL
● LDL = ต่ำกว่า 110 mg/dL
● HDL = สูงกว่า 45 mg/dL

❈ อายุ 20 ปีขึ้นไป

● คอเลสเตอรอลรวม = 125 ถึง 200 mg/dL
● Non-HDL คอเลสเตอรอล = ต่ำกว่า 120 mg/dLL
● LDL = ต่ำกว่า 100 mg/dL
● HDL = เพศชายตั้งแต่แรกเกิด: 40 หรือสูงกว่า / เพศหญิงตั้งแต่แรกเกิด: 50 หรือสูงกว่า

⌜สัญญาณเตือน⌟ จะรู้ได้อย่างไรว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดาวะไขมันในเลือดสูง
⟴ การแสดงอาการเด่นๆ จากภาวะโรคไตร์กลีเซอร์ไรด์สูง เช่น ลักษณะผื่นตุ่มไขมันคล้ายขนลุกตามลำตัว แขน ต้นขา สะโพก ที่มีสีเหลืองอมส้ม หรือผื่น หรือรอยนูนตามลายฝ่ามือ ตุ่มนูนนุ่มไม่เจ็บจะพบที่ข้อผับ ศอก เข่า รอบตาดำมีแถบสีเทาหรือขาวล้อมรอบ และรอบหนังตามีผื่นนูนหรือผื่นไขมัน

⟴ เจ็บหน้าอก หายใจลำบากและถี่

⟴ อ่อนเพลียหรือเวียนหัวเรื้อรัง หน้ามืด วูบ ตาพร่ามัวบ่อยๆ

⟴ เกิดอาการสับสน เพ้อ หรือตีความคำพูดและการได้ยินผิดเพี้ยน

⟴ อวัยวะส่วนปลายนิ้วมือ และนิ้วเท้าเริ่มมีสีคล้ำหรือห้อเลือด

⟴ อุณหภูมิร่างกายแปรปรวน

⟴ มีอาการตะคริว หรือเหน็บชา

⟴ เกิดภาวะกล้ามเนื้อแขนขาใบหน้าอ่อนแรงชั่วคราว

⟴ ร่างกายขับเหงื่ออย่างผิดปกติ



⌜กลุ่มเสี่ยง⌟ ต่อการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
✧ ผู้ที่สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์เป็นประจำและต่อเนื่อง

✧ ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารแปรรูป อาหารฟาสต์ฟู้ดหรืออาหารขยะ หรืออาหารประเภทที่มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์จํานวนมาก

✧ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน

✧ ผู้ที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

✧ การนั่งหรือไขว้ห้างเป็นประจำและเป็นระยะเวลานาน

✧ มีประวัติครอบครัวที่มีคอเลสเตอรอลสูง

✧ ผู้ที่รับประทานยา Beta-blockers ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด ยาต้านเชื้อ HIV และยาประเภทสเตียรอยด์

✧ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคตับอ่อน โรคไตเรื้อรัง โรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา โรคเอดส์ ภาวะกล้ามเนื้อแขนขาใบหน้าอ่อนแรง ภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะของตนเอง (โรคภูมิต้านตนเอง) ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ภาวะพร่องไทรอยด์ ภาวะท่อน้ำดีอักเสบ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

⌜แนวทางการดูแลรักษาและลดความเสี่ยง⌟ ต่อการเกิดภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง
✓ เลิกสูบบุหรี่หรือการรับควันบุหรี่มือสอง รวมถึงป้องกันตนเองจากการรับควันหรือมลพิษทางอากาศ

✓ กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานรวมถึงโรคเรื้อรัง NCDs อื่นๆ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างเคร่งครัด

✓ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

✓ ผู้ที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

✓ เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมเน้นบำรุงหลอดเหลือด หัวใจ เช่น อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนหรือแบบสแกนดิเนเวียร์ ที่จะมุ่งเน้นอาหารจากธรรมชาติให้มากที่สุด จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอดี

✓ หากเป็นอาหารไทย สามารถรับประทานผักสดกับน้ำพริกไทยที่มีส่วนประสมของหอมแดง กระเทียม และยิ่งดีหากสามารถจัดหาน้ำพริกดังกล่าวนี้ได้ทุกมื้อ จะยิ่งเป็นการช่วยสนับสนุนสุขภาพของระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองได้เป็นอย่างดี

✓ รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

✓ ออกกำลังกายพร้อมกับฝึกลมหายใจอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิก การฝึกโยคะ เป็นต้น

✓ หมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อดูแลสุขภาพได้อย่างเข้าใจและเลือกวิธีที่เหมาะกับตนเอง

✓ หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ

ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)
ภาวะคอเลสเตอรอล (High Cholesterol หรือ High Blood Fat) ในเลือดสูง เป็น 1 ในโรค NCDs ที่ผู้คนทั่วโลกเป็นมากที่สุด และเป็นสาเหตุหลักของความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง (โรค CADs) ที่มี 3 กลุ่ม ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย เนื่องจากเกิดภาวะเส้นเลือดตีบตัน จึงไม่สามารถส่งสารอาหารและเกิดภาวะพร่องออกซิเจนต่อระบบการทำงานของหัวใจและสมอง ที่ส่งผลต่อการเกิดอาการหัวใจวาย หรือหลอดเลือดสมองแตกได้

สัญญาณเตือน จะรู้ได้อย่างไรว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
ในช่วงแรกจะไม่แสดงอาการ (เว้นแต่ว่ามีการตรวจสุขภาพเป็นประจำ) แต่เมื่อเกิดการสะสมของคราบพลัคในหลอดเลือดในระยะเวลาหนึ่ง (การสะสมของคราบพลัคจะส่งผลต่ออาการกำเกิบรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสุขภาพส่วนบุคคล) จะส่งผลต่อการสร้างภาวะหลอดตีบตันหรือหยุดการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจหรือสมอง ที่จะแสดงลักษณะทั่วไป ได้แก่
การแสดงอาการเด่นๆ จากภาวะโรคไตร์กลีเซอร์ไรด์สูง เช่น ลักษณะผื่นตุ่มไขมันคล้ายขนลุกตามลำตัว แขน ต้นขา สะโพก ที่มีสีเหลืองอมส้ม หรือผื่น หรือรอยนูนตามลายฝ่ามือ ตุ่มนูนนุ่มไม่เจ็บจะพบที่ข้อผับ ศอก เข่า รอบตาดำมีแถบสีเทาหรือขาวล้อมรอบ และรอบหนังตามีผื่นนูนหรือผื่นไขมัน
เจ็บหน้าอก หายใจลำบากและถี่
อ่อนเพลียหรือเวียนหัวเรื้อรัง หน้ามืด วูบ ตาพร่ามัวบ่อยๆ
เกิดอาการสับสน เพ้อ หรือตีความคำพูดและการได้ยินผิดเพี้ยน
อวัยวะส่วนปลายนิ้วมือ และนิ้วเท้าเริ่มมีสีคล้ำหรือห้อเลือด
อุณหภูมิร่างกายแปรปรวน
มีอาการตะคริว หรือเหน็บชา
เกิดภาวะกล้ามเนื้อแขนขาใบหน้าอ่อนแรงชั่วคราว
ร่างกายขับเหงื่ออย่างผิดปกติ
และผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์

สิ่งสำคัญที่ควรรู้ หากไม่อยากเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
⊹ ผู้ที่สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์เป็นประจำและต่อเนื่อง

⊹ ผู้มีภาวะเครียดเรื้อรัง

⊹ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน

⊹ ผู้ที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

⊹ การนั่งหรือไขว้ห้างเป็นประจำและเป็นระยะเวลานาน

⊹ มีประวัติครอบครัวที่มีคอเลสเตอรอลสูง

⊹ ผู้ที่รับประทานยา Beta-blockers ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด ยาต้านเชื้อ HIV และยาประเภทสเตียรอยด์

⊹ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคตับอ่อน โรคไตเรื้อรัง โรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา โรคเอดส์ ภาวะกล้ามเนื้อแขนขาใบหน้าอ่อนแรง ภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะของตนเอง (โรคภูมิต้านตนเอง) ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ภาวะพร่องไทรอยด์ ภาวะท่อน้ำดีอักเสบ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การหมั่นตรวจสุขภาพเพื่อติดตามและดูแลระดับคอเสลเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
สามารถตรวจเลือดเพื่อหาคอเลสเตอรอลสูงได้ตั้งแต่วัยเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีประวัติคนในครอบครัวของเด็กมีอาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะไขมันในเลือดสูง

เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงมากกว่าวัยอื่น ควรตรวจระดับคอเลสเตอรอลทุก 1-2 ปี หรือตามคำแนะนำผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และควรจะรู้จักรายการตรวจดังนี้

✦ คอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) คือปริมาณคอเลสเตอรอลทั้งหมดที่ไหลเวียนอยู่ในเลือด โดยสูตรสําหรับการคํานวณ: “HDL + LDL + 20% ไตรกลีเซอไรด์ = คอเลสเตอรอลรวม”

✦ คอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) เป็นไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอล “ดี” ที่ย้ายคอเลสเตอรอลพิเศษจากกระแสเลือดไปยังตับ ตับจะทำการกําจัดออกจากร่างกาย ประโยชน์ HDLs ช่วยให้หลอดเลือดแดงล้างคอเลสเตอรอลที่ร่างกายไม่ต้องการ ซึ่งเป็นตัวเลขเดียวในรายการตรวจไขมันที่ต้องการให้สูง

✦ ระดับ LDL (Low Density Lipoprotein) เป็นไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ํา ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอล “ไม่ดี” ที่ก่อให้เกิดการสะสมของคราบพลัคในหลอดเลือดแดง LDLs ต้องการบางตัวเพื่อให้คอเลสเตอรอลไปยังเซลล์ของร่างกาย แต่การมีมากเกินไปอาจทําให้เกิดปัญหาได้

✦ ระดับ VLDL (Very Low Density Lipoprotein) เป็นไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ํามาก เป็นอีกรูปแบบที่ “ไม่ดี” ที่ก่อให้เกิดการสะสมของคราบพลัค VLDL มีไขมันชนิดหนึ่ง (ไตรกลีเซอไรด์) ในเลือด หากมี VLDL มากเกินไปจะเกิดไขมันส่วนเกิน ซึ่งก่อให้เกิดการสะสมในหลอดเลือดแดงได้

✦ ไตรกลีเซอไรด์ (Tryglyceride) คือไขมันชนิดหนึ่ง หากมีไตรกลีเซอไรด์ในระดับสูง (hypertriglyceridemia) อาจทําให้มีความเสี่ยงต่อหลอดเลือดและโรคอื่น ๆ

✦ Non-HDL cholesterol คือคอเลสเตอรอลทั้งหมดในเลือดที่ไม่ใช่ HDL สูตรการคํานวณคือ “คอเลสเตอรอลรวม – HDL = Non-HDL cholesterol”

ระดับคอเลสเตอรอลปกติตามช่วงอายุ ควรเป็นอย่างไร
* หน่วยทั้งหมดในแผนภูมิด้านล่างเป็น mg / dL

ช่วงอายุคอเลสเตอรอลรวม
(Total Cholesterol)Non-HDL คอเลสเตอรอลLDLHDL
อายุไม่เกิน 19 ปี
ต่ำกว่า 170

ต่ำกว่า 120ต่ำกว่า 110
สูงกว่า 45

อายุ 20 ปีขึ้นไป125 ถึง 200ต่ำกว่า 130ต่ำกว่า 100
เพศชายตั้งแต่แรกเกิด: 40 หรือสูงกว่า

เพศหญิงตั้งแต่แรกเกิด: 50 หรือสูงกว่า

แนวทางการดูแลรักษาและลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง
เลิกสูบบุหรี่หรือการรับควันบุหรี่มือสอง รวมถึงป้องกันตนเองจากการรับควันหรือมลพิษทางอากาศ
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป
กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานรวมถึงโรคเรื้อรัง NCDs โรคระบบเผาผลาญอาหารพัง ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างเคร่งครัด
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
เรียนรู้ที่จะจัดการและอยู่กับความเครียดให้ได้ รวมถึงการปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความเครียด
เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมเน้นบำรุงหลอดเหลือด หัวใจ เช่น อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนหรือแบบสแกนดิเนเวียร์ ที่จะมุ่งเน้นอาหารจากธรรมชาติให้มากที่สุด โดยแหล่งอาหารควรเป็นแหล่งอาหารจากธรรมชาติ เช่น ผักสีเขียว บรอกโคลี พืชตระกูลถั่ว ปลา เนื้อสัตว์ ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม และรับประทานโปรตีนจากเนื้อปลา สัตว์ปีก ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนมในปริมาณเพียงพอต่อมื้อ ลดอาหารแปรรูปให้ได้น้อยมากที่สุดหรือไม่นำมาบริโภค ใช้น้ำมันจากน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ (Extra Virgin Olive Oil: EVOO ) หรือน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันที่ไม่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงในการประกอบอาหาร เน้นรับประทานผลไม้เป็นของว่างแทนของหวาน เช่น สตรอเบอร์รี่ แบล็คเบอรี่ แอปเปิ้ล มะเขือเทศ และกีวี่ อีกทั้งจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอดี
หากเป็นอาหารไทย สามารถรับประทานผักสดกับน้ำพริกไทยที่มีส่วนประสมของหอมแดง กระเทียม และยิ่งดีหากสามารถจัดหาน้ำพริกดังกล่าวนี้ได้ทุกมื้อ จะยิ่งเป็นการช่วยสนับสนุนสุขภาพของระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองได้เป็นอย่างดี
รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ออกกำลังกายพร้อมกับฝึกลมหายใจอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิก การฝึกโยคะ เป็นต้น
หมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อดูแลสุขภาพได้อย่างเข้าใจและเลือกวิธีที่เหมาะกับตนเอง
หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ
สรุป
หากคุณอยู่ในช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป และมีประวัติครอบครัวเป็นภาวะไขมันในเลือดสูง และเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง (โรค CADs) ที่มี 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย รวมถึงการเป็นโรค NCDs เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคตับแข็ง โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคอ้วนลงพุง เป็นต้น ควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพราะอาจก่อให้เกิดภัยเงียบอย่างภาวะไขมันในเลือดสูงหรือการมีระดับคอเลสเตอรอลสูงอย่างที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการใดๆ และหากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ จะทำให้ทราบถึงอันตรายของภาวะไขมันในเลือดสูง ก็ตอนที่เป็นโรคโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองในระยะที่ทำให้เกิดอาการที่ร้ายแรงไปแล้ว การดูแลสุขภาพและป้องกันก่อนเกิดโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพและติดตามระดับคอเลสเตอรอลของคุณอย่างสม่ำเสมอ

ไขมันในเลือดสูง เสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด 1 ในโรคเรื้อรัง (NCDs) ที่มีมาจากหลากหลายสาเหตุ เช่น การกินอาหาร ความเครียด ฮอร์โมนที่แปรปรวน การได้รับควันบุหรี่มือสองหรือควันพิษทำให้สุขภาพแย่โดยที่คุณไม่รู้ตัว ติดตามและประเมินสุขภาพคุณ เราขอแนะนำ “รายการตรวจไขมันในเส้นเลือด” ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ เพื่อประเมินสุขภาพคุณที่คุณไม่ควรอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน สภาพแวดล้อม และโรคแฝงในร่างกายคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้ ให้เราช่วยประเมินสุขภาพคุณพร้อมมอบคำแนะนำการสร้างสมดุลและการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคุณโดยเฉพาะ
กำลังโหลดความคิดเห็น