ใครมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่บ้าง?
ผู้ที่มีสมาชิกครอบครัว หรือญาติ ที่เคยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบมาก่อน
มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
พฤติกรรมเสี่ยง “มะเร็งลำไส้ใหญ่”
รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมากเกินไป
รับประทานอาหารประเภทเนื้อแดง ปิ้งย่าง ที่มีลักษณะไหม้เกรียมบ่อยๆ
รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป
สูบบุหรี่
ดื่มแอลกอฮอล์
ขาดการออกกำลังกาย
มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง เช่น นักดูทีวีทั้งวัน นั่งติดเก้าอี้ นอนติดเตียง
น้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน)
มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอาการอย่างไร?
ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวว่ากำลังเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อยู่ แต่จะแสดงสัญญาณเตือนที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่าย เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย อุจจาระก้อนเล็กลง อุจจาระมีเลือดปน (ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าเป็นโรคริดสีดวงทวาร) และอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ซีด หรือน้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุอีกด้วย
มะเร็งลำไส้ วินิจฉัยได้อย่างไร ?
หลังจากที่มีการวินิจฉัยแล้วระบุว่าเป็นมะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้วนั้น แพทย์ก็จะแบ่งระยะของมะเร็งชนิดนี้ได้ตามการแพร่กระจายของโรค ดังนี้
Stage 0 / ระยะที่ 0 : มะเร็งลำไส้ในระยะนี้เป็นแค่เพียงระยะเริ่มต้น โดยเซลล์มะเร็งยังอยู่แค่เฉพาะบริเวณผนังของลำไส้
Stage 1 / ระยะที่ 1 : ในระยะนี้ก็เช่นกันที่มะเร็งจะยังไม่แพร่กระจายออกจากผนังลำไส้
Stage 2 / ระยะที่ 2 : มะเร็งได้แพร่ออกนอกลำไส้ แต่ยังไม่แพร่ไปสู่ต่อมน้ำเหลือง
Stage 3 / ระยะที่ 3 : มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียง แต่ยังไม่ได้แพร่ไปยังอวัยวะอื่นๆ
Stage 4 / ระยะที่ 4 : มะเร็งได้แพร่กระจายออกไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย แต่จะแพร่ยังตับและปอดมากที่สุด
Recurrent : ผู้ป่วยกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำหลังจากที่ทำการรักษา
มะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันอย่างไร?
แม้ว่าดูเหมือนจะเป็นโรคร้ายแรงที่อันตราย เพราะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เราสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ง่ายๆ เพียงลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง ลดจำนวนครั้งในการทานอาหารประเภทเนื้อแดง และปิ้งย่าง ทานอาหารที่มีกากใยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่างๆ ให้มากขึ้น ลดการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ และที่สำคัญคือ ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ รับรองว่าเคล็ดลับง่ายๆ เพียงเท่านี้ ก็ช่วยลดความเสี่ยในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากเลยทีเดียวค่ะ