โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงหัวใจตีบหรืออุดตันจากไขมัน เส้นเลือดจึงต้องทำงานหนัก เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงหัวใจให้ได้เพียงพอ
.
การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ
การตรวจร่างกายและการซักประวัติสุขภาพและประวัติครอบครัว และตรวจพิเศษต่างๆ เช่น การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง การตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง การสวนหัวใจหรือการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
.
อาการ
- เจ็บเค้นอกเหมือนมีอะไรมาทับ และมีอาการร้าวไปบริเวณคอ กราม ไหล่ และแขนทั้ง 2 ข้าง โดยเฉพาะข้างซ้าย เป็นมากขณะออกแรงนานครั้งละ 2-3 นาที
- เหนื่อยง่ายขณะออกแรง หรือออกกำลังกายที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน
- เหนื่อย หายใจหอบ นอนราบไม่ได้ แน่นอึดอัด หายใจเข้าไม่เต็มปอด อาการอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือเป็นๆ หายๆ มาเป็นเวลานาน
- ความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน หน้ามืดเวียนศีรษะ เป็นลม ร่วมกับอาการแน่นหน้าอก
- หมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น
.
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
1. ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้
- มีประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
- เพศชายมีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าผู้หญิง (แต่ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว มีโอกาสเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจใกล้เคียงกับผู้ชาย)
- อายุมากขึ้น
.
2. ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้
- น้ำหนักเกินและอ้วน
- ความดันโลหิตสูง (มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท)
- ความเครียด
- โรคเบาหวาน
- ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
- การไม่ออกกำลังกาย
- การรับประทานผักและผลไม้ในแต่ละวันน้อยเกินไป
- การสูบบุหรี่เป็นประจำ
.
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
- รักษาด้วยยา
- การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
- การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนร่วมกับการสอดฝังขดลวดค้ำยันผนังหลอดเลือด
.
ที่มา : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์