ประจำเดือน มาถี่ๆ เกิดจากสาเหตุอะไร?
วงจรของรอบเดือนที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นเรื่องปกติที่มักพบในเด็กสาววัยรุ่นส่วนใหญ่ สำหรับบางคนประจำเดือนอาจมาช้า หรือเร็วต่างจากรอบเดือนเดิม แต่บางคนประจำเดือนก็ดันมามากถึง 2 ครั้งต่อเดือนเลยทีเดียว ซึ่งมีสาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้
ฮอร์โมนของวัยแรกรุ่นที่ยังไม่สมดุลคงที่
มีความตึงเครียดปะปนในขณะถึงวันตกไข่
ภาวะไข่ไม่ตก (lack of ovulation)
ไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyroidism)
การใช้ยาที่เกี่ยวข้องกับการคุมกำเนิด
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างรวดเร็ว
ภาวะร่างกายที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน
สีของประจำเดือนในรอบที่สองนั้นอาจแตกต่างจากรอบแรก มักปรากฏให้เห็นลักษณะสีแดงเข้ม น้ำตาล หรือชมพูอ่อนๆ และมีจำนวนปริมาณของเลือดลดน้อยลงกว่าเดิม เพื่อป้องกันการเปรอะเปื้อนควรพกผ้าอนามัยติดตัวไว้ เมื่อเริ่มมีอาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อย
อาการแทรกซ้อนเมื่อ ประจำเดือน คุณกำลังมารอบที่ 2 ปวด เมื่อยล้าทั้งลำตัว หรือบริเวณหลัง อาการปวดหัว อ่อนเพลียง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง เวียนหัว คลื่นไส้ อัตราการเต้นของหัวใจถี่ จังหวะการหายใจแรง ประจำเดือน มาสองรอบเป็นสัญญาณเตือนของโรคอะไรได้บ้าง
ระวังสุขภาพของคุณให้ดีหากประจำเดือนมาบ่อยในระยะเวลาเพียงเดือนเดียว อาจทำให้คุณเป็นโรคร้ายแรงได้ เช่น
โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ
เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่สะสมอยู่ในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ที่อาจเข้าสู่ช่องคลอดของคุณแพร่กระจายไปยังมดลูก และอวัยวะเพศที่ทำให้เกิดอาการแท้งบุตร รวมถึงมีอาการตกขาว เจ็บปวดในอุ้งเชิงกรานพร้อมทั้งมีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ร่วมด้วย
เนื้องอกในมดลูก
เกิดจากการเจริญเติบโตผิดที่ และยึดติดกับผนังของมดลูก ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าเมล็ดพืชจนถึงขนาดใหญ่เท่าลูกส้มโอ เนื้องอกนี้มีอาการข้างเคียงที่รุนแรงเช่น อาการปวดท้อง เลือดออกในปริมาณมาก ควรเข้ารับการปรึกษาผ่าตัดเอาออกโดยแพทย์ให้เร็วที่สุดหากเป็นได้
โรคมะเร็งปากมดลูก
เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ในเซลล์ส่วนล่างของมดลูกที่เชื่อมต่อกับช่องคลอดที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก สามารถสังเกตอาการแรกเริ่มได้ง่ายๆ คือ ประจำเดือนเริ่มไหลน้อย ส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ รวมถึงมีอาการปวดกระดูกเชิงกรานระหว่างมีเพศสัมพันธ์
ไม่อยากเลือดไหลสองรอบ ควรรีบรักษาด้วยวิธีนี้
การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ และพื้นฐานปริมาณ รวมถึงจำนวนครั้ง ของเลือดที่ไหล หากการวินิจฉัยพบว่าเป็นเพียงแค่โลหิตจาง อาจเสริมด้วยการรับประทานธาตุเหล็กเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น
สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ : แพทย์อาจจำหน่ายยาชนิดรับประทาน หรือวิธีการรักษาด้านอื่นๆ ตามแต่เหมาะสม
สำหรับผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคซีสต์ : อาจได้รับการผ่าตัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (MRI) โดยแพทย์เฉพาะทางที่ชำนาญแล้วเท่านั้น
การหยุดเจริญเติบโตของเนื้องอก : โดยใช้ฮอร์โมนกลุ่มโกนาโดโทรฟิน (Gonadotropin) เข้ารักษาโดยทำให้คุณเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนชั่วคราว และยับยั้งการเจริญเติบโตทำให้เนื้องอกมีขนาดที่เริ่มเล็กลง ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจใช้การรักษานี้ร่วมกับการผ่าตัด
แชร์เรื่องนี้
คัดลอกลิงก์