ไข่เป็นอาหารที่แพ้ได้มากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ คู่ไปกับนมวัวในเด็กเล็ก และพบว่าแพ้โปรตีนในไข่ขาวมากกว่าไข่แดง
Øสารก่อภูมิแพ้หลักในไข่ ได้แก่
– โอวัลบูมิน (ovalbumin)
– โอโวทรานส์เฟอร์ริน (ovotransferrin)
– โฮโวมิวคอยต์ (ovomucoid)
Øอาการ และอาการแสดง
การแพ้ไข่มีอาการได้ทั้งแบบเฉียบพลัน เช่น ผื่นลมพิษ ตาบวม ปากบวม หลอดลมอุตตัน
ปวดท้อง ถ่ายเหลว อาเจียน จนถึงแพ้แบบรุนแรงได้ ส่วนอาการแบบล่าช้าที่พบได้บ่อย คือ ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ (atopic dermatitis)
Øการดำเนินโรค
ร้อยละ 50 ของเด็กที่แพ้ไข่ อาจสามารถทานไข่ได้เมื่ออายุประมาณ 6 ปี
ผู้ป่วยแพ้ไข่บางรายสามารถทานไข่ที่ผ่านการปรุงสุกด้วยความร้อนสูงได้ เช่น ขนมเค้ก และมัฟฟิน ซึ่งมีโอกาสหายได้เร็วขึ้น
ผู้ป่วยที่หายช้าพบว่าสัมพันธ์กับค่า s|gE ต่อไข่ขาวตั้งต้นที่สูง และมีโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ร่วมด้วย
Øรายละเอียดในฉลากอาหาร (food label) ที่บ่งบอกว่ามีไข่เป็นส่วนประกอบ
-Egg white – Egg yolk
-Albumin – Lysozyme
-Lecithin – Ovalbumin
Øตัวอย่างอาหารที่มีส่วนประกอบของไข่
อาหารคาว : บะหมี่, หมี่กะทิ, มักกะโรนี, พาสต้า, โรตีมะตะบะ, พิซซ่า, ทอดมัน, ขนมครก, เกี๊ยว, ขนมจีบ, น้ำสลัด, มายองเนส, ไส้กรอก, แฮมเบอร์เกอร์, อาหารชุบแป้งทอด
อาหารว่าง : เค้ก, แพนเค้ก, มัฟฟิน, คุ้กกี้, โดนัท, ขนมปัง, วอฟเฟิล, เมอแรงค์, มาร์ชแมลโลว์, พุดดิ้ง, คัสตาร์ด, ขนมหม้อแกง, ทองหยิบ, ทองหยอต, ขนมไข่, ขนมเปี๊ยะ, ขนมสาลี่, ปุยฝ้าย,
ขนมทองม้วน, ขนมเบื้อง