1. ดื่มกาแฟให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัว
หากร่างกายได้รับคาเฟอีนมากเกินไป อาจส่งผลแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนอาจใจสั่น นอนไม่หลับ หรืออาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมได้ ดังนั้นการกินกาแฟในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวันจึงเป็นเรื่องสำคัญ
แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
กด
ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการดื่มกาแฟคือ คาเฟอีน 2.5 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น หากมีน้ำหนักตัว 80 กิโลกรัม ปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม (2.5X80=200)
โดยค่าเฉลี่ยของคาเฟอีนในกาแฟหนึ่งแก้วจะอยู่ที่ประมาณ 95 มิลลิกรัม ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 แก้ว (190 มิลลิกรัม)
2. เลี่ยงกินกาแฟหลังเที่ยง
กาแฟเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากที่สุด ซึ่งฤทธิ์ของคาเฟอีนจะช่วยให้รู้สึกตื่นตัวเมื่อรู้สึกเหนื่อย แต่หากกินกาแฟช่วงหลังเที่ยงเป็นต้นไป อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพในการนอนได้
แต่อย่างไรก็ตาม ความไวต่อคาเฟอีนของแต่ละคนนั้นอาจไม่เท่ากัน บางคนอาจดื่มได้หลังเที่ยงก็จริง แต่ไม่ควรเกินบ่าย 2
สำหรับคนที่ชอบกินกาแฟช่วงบ่ายจริงๆ อาจเลือกกาแฟสกัดคาเฟอีน (Decaf coffee) เพื่อให้ไม่กระทบกับคุณภาพในการนอนช่วงกลางคืน
3. กาแฟอาจมีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย
มีงานวิจัยเผยว่าคาเฟอีนมีส่วนในการชะลอความเมื่อยล้าลง รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้กล้ามเนื้อ ซึ่งหากต้องการให้กาแฟช่วยพัฒนาการออกกำลังกาย ควรกินกาแฟก่อนออกกำลังกายอย่างน้อย 30-60 นาที
แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
กด
แต่อย่างไรก็ตาม กาแฟมีส่วนทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ดังนั้นผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อน ส่วนคนทั่วไปก็ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป เพราะอาจเป็นอันตรายได้เช่นกัน
4. ไม่ควรดื่มกาแฟเร็วเกินไป
คาเฟอีนในกาแฟมีส่วนกระตุ้นฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มักจะหลั่งออกมาเวลาที่เครียด เพราะฮอร์โมนตัวนี้สัมพันธ์กับความดันโลหิตและระบบภูมิคุ้มกัน
ดังนั้นหากดื่มกาแฟเร็วเกินไปอาจทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลไม่สมดุล ส่งผลกระทบต่อทั้งการนอนหลับและความเครียดที่มากขึ้นอีกด้วย
5. ไม่ควรใส่น้ำตาลในกาแฟ
กาแฟสามารถช่วยรู้สึกตื่นตัวได้ด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องอาศัยน้ำตาลช่วย เพราะหากติดนิสัยใส่น้ำตาลในกาแฟเป็นประจำ จะทำให้ได้รับฟรุกโตส (Fructose) มากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่โรคอ้วนหรือเบาหวานได้
สำหรับคนที่ชอบกาแฟที่มีรสหวานจริงๆ อาจใช้ทางอื่นที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น เช่น หญ้าหวาน น้ำผึ้ง เป็นต้น
6. กินอาหารที่มีแคลเซียมให้มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น นม โยเกิร์ต คะน้า บรอกโคลี หรือ ปลาเล็กปลาน้อย เพื่อทดแทน แคลเซียมที่ต้องสูญเสียไปกับปัสสาวะ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน โดยอาจปรับเปลี่ยนวิธีการชง กาแฟ ให้ใส่นมแทนครีมเทียม เป็นต้น
แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
กด
7. ควรเลือกดื่มกาแฟออร์แกนิก
การเลือกตราสินค้าของกาแฟที่น่าเชื่อถือก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากกระบวนการผลิตกาแฟเองก็มีผลต่อประโยชน์และโทษที่รับเข้าไปเช่นกัน ควรเลือกชื่อการค้าที่ปลูกกาแฟแบบออร์แกนิค ปราศจากสารพิษ ยาฆ่าแมลง
แม้จะยังมีหลักฐานไม่มากว่ามีผู้ได้รับสารพิษตกค้างจากการดื่มกาแฟมากน้อยเพียงใด แต่การกินกาแฟที่ปราศจากสารพิษตั้งแต่แรกก็ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
8. รับประทานผลไม้สม่ำเสมอ
เพราะในกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟ จะมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้น ดังนั้นวิตามินซี อี และบีตาแคโรทีนในผักผลไม้ เช่น กล้วย แตงโม ส้ม ฝรั่งมะเขือเทศ แครอต ผักใบเขียว พวกนี้จะช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกายได้
9. หลีกเลี่ยงการใส่ครีมเทียม
ครีมเทียมที่เห็นตามท้องตลาดนั้นสามารถช่วยทดแทนความมันของนมให้กับกาแฟได้ แต่โดยปกติแล้วทางเลือกที่ีดีกว่าในการดื่มเครื่องดื่มหรือกินอาหารก็ตาม คือทางเลือกที่มาจากธรรมชาติ
ดังนั้นหากมีโอกาสเลือกร้านกาแฟที่ใช้นมจริงๆ แทนครีมเทียมได้ อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เนื่องจากมีแคลเซียมที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
หากเป็นคนแพ้นม หรือไม่ชอบกินนม อาจเลือกใส่ผงปรุงรสอื่นๆ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น โกโก้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
10. กาแฟอาจไม่เหมาะสำหรับผู้อยู่ในภาวะวิตกกังวล
คาเฟอีนในกาแฟจะออกฤทธิ์ได้นานประมาณ 3-5 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตาม หลังจาก 5 ชั่วโมงไปแล้วก็ยังคงมีปริมาณคาเฟอีนอีกครึ่งที่ตกค้างอยู่ในร่างกาย
ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และอาจมีผลต่อความเครียดของคุณได้ ดังนั้นหากคุณกำลังอยู่ในภาวะวิตกกังวล หรือเป็นโรควิตกกังวล ควรใช้การดื่มชาเขียวแทน