xs
xsm
sm
md
lg

ความเครียด รู้ให้ทันก่อนจะสายเกินแก้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ปัจจัยที่ทำให้เกิด ความเครียด
ความเครียดสามารถแบ่งปัจจัยในการเกิดได้ทั้งหมด 2 ปัจจัยใหญ่ ๆ คือ

ปัจจัยภายใน
เกิดจากความรู้สึกภายในร่างกายและจิตใจของตัวเองอย่างการมีโรคประจำตัว เช่น โรคซึมเศร้าหรือโรคทางจิตเวช ผู้ที่มีเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจมาเป็นเวลานาน หรือบุคลิกภาพบางอย่างเช่น มีความวิตกกังวลมาก
ปัจจัยภายนอก
เกิดจากสภาพแวดล้อมรอบตัว แบ่งออกได้ 4 เรื่องหลัก ๆ ดังนี้
การทำงาน
เกิดความกดดันในการทำงานที่มาจากหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน การแข่งขันในการทำงานที่สูงทั้งในเรื่องเวลาที่เร่งรีบ การเข้ากันไม่ได้กับเพื่อนร่วมงาน รวมไปถึงแนวทางในการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะกับตัวบุคคล
ความสัมพันธ์
ความเครียดจากความสัมพันธ์ในที่นี้เป็นความสัมพันธ์ทั้งคนรัก คู่ชีวิต และความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ทอาจจะเป็นปัญหาเล็กๆแต่เรื้อรังกันมานานหรือเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่สามารถหาทางออกได้ รวมถึงความกดดันในเรื่องการเงินในครอบครัว ซึ่งท้ายที่สุดอาจนำไปสู่ความแตกแยกของความสัมพันธ์ได้
ปัญหาสุขภาพ
ความเครียดที่เกิดจากโรคประจำตัวที่รักษาไม่หายหรือรักษามานานแล้วไม่ดีขึ้น ทำให้เกิดความวิตกกังวลและคิดมาก อาการต่างๆที่รบกวนชีวิตประจำวัน รวมถึงอาการที่นอนไม่หลับ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ ทำให้ร่างกายพักผ่อนได้ไม่เพียงพอ จนเกิดปัญหาต่อเนื่องได้
การเปลี่ยนแปลงในชีวิต
เกิดจากการเจอเหตุการณ์ในชีวิตที่เปลี่ยนแปลงกะทันหันหรือไม่ทันได้ตั้งตัว เช่น โดนไล่ออกจากงาน คนในครอบครัวเจ็บป่วย คนในครอบครัวหรือคนรักเสียชีวิต ส่งผลให้เกิดความเครียดมากขึ้นได้เช่นกัน
ความเครียดจากการทำงาน เกิดขึ้นจากอะไร ?
ต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด เกิดจากวิธีการทำงานบางรูปแบบ ดังนี้

กดดันตัวเอง
งานที่ออกมาต้องดีที่สุด
ทำงานทั้งวันทั้งคืน
วิธีการแก้ไขปัญหา คือ

แบ่งเวลาการทำงานให้ดี โดยการแบ่งเวลาในการทำงาน และเวลาในการพักผ่อนให้เหมาะสม
จัดลำดับการทำงานให้เป็นสัดส่วน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน และเป็นลำดับขั้นตอน และวางความคาดหวังให้สมดุลระหว่างเวลาและปริมาณงาน
รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง เพื่อช่วยให้จัดการแก้ไขอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้น และสามารถนำไปแก้ไขปัญหาในเรื่องการทำงานได้อีกด้วย
ผลกระทบที่เกิดจาก ความเครียด
ด้านร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน โรคกระเพาะ ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดกล้ามเนื้อ ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง ทำให้เกิดปัญหาการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อได้ง่าย
ด้านจิตใจและอารมณ์ ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวน อารมณ์ร้าย หรือมีอาการซึมเศร้า โดยในจิตใจเต็มไปด้วยความวิตกกังวล หดหู่ ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย รวมไปถึงความรู้สึกขาดความภูมิใจในตนเอง ขาดสมาธิ
ด้านพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ร้องไห้ง่าย ไม่อยากทำอะไร ขาดความอดทน เบื่อง่าย ประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง เริ่มปลีกตัวจากสังคม ไม่ดูแลตัวเอง บางคนอาจใช้ความรุนแรงทำร้ายผู้อื่น โดยหากเกิดอาการเหล่านี้หลายคนจะใช้วิธีระบายความเครียดด้วยการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ใช้ยานอนหลับ หรือใช้สารเสพติด ซึ่งส่งผลให้สุขภาพแย่ลงในระยะยาวได้ด้วยเช่นกัน


กำลังโหลดความคิดเห็น