อาการ 4 ระยะ...ของโรคไขมันพอกตับ
ไขมันพอกตับ มีการดำเนินโรคเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 พบการสะสมของไขมันอยู่ภายในเนื้อตับ แต่ยังไม่มีการอักเสบหรืออาการใดๆ
ระยะที่ 2 มีการอักเสบของตับ และเซลล์ตับถูกทำลายบางส่วน หากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นโรค “ตับอักเสบเรื้อรัง” ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ภายใน 6 เดือน
ระยะที่ 3 มีภาวะตับอักเสบเรื้อรังและเกิดพังผืดสะสม เซลล์ตับจึงถูกทำลายไปเรื่อยๆ
ระยะที่ 4 มีภาวะตับแข็ง ตับเสื่อมสมรรถภาพจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ดี มีโอกาสพัฒนากลายเป็นมะเร็งตับได้ในอนาคต
การดูแลสุขภาพ...ให้ห่างไกลไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease)
เราสามารถดูแลสุขภาพตับให้ดีได้ ด้วยการ “ทำบางสิ่ง” และ “ไม่ทำบางอย่าง” ดังนี้
ทำสิ่งนี้...ช่วยให้สุขภาพตับดีไปอีกนาน
ดื่มน้ำสะอาดมากๆ จิบน้ำบ่อยๆ
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาการที่มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน หากจำเป็นควรเลือกชนิดที่มีไขมันดี (HDL)
ล้างผัก-ผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน เพื่อให้มีสารปนเปื้อนน้อยที่สุด
ออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นระบบเผาผลาญให้ได้อย่างน้อยครั้งละ 30-40 นาที สัปดาห์ละ 4-5 วัน รวม 150 นาทีขึ้นไปต่อสัปดาห์
ขับถ่ายเป็นประจำ อย่าปล่อยให้ท้องผูก
หากมียาที่ต้องกินเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรอย่างสม่ำเสมอ
ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาความผิดปกติของตับ แม้ยังไม่มีอาการแสดง
ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยดูจากค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) ซึ่งมีสูตรคำนวณ คือ น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2 (BMI = kg/m2)
ยกตัวอย่างเช่น น้ำหนัก 70 กิโลกรัม ส่วนสูง 175 เซนติเมตร
ดัชนีมวลกาย (BMI) = 70 ÷ (1.75 X 1.75)
= 70 ÷ 3.06
= 22.87
BMI kg/m2
อยู่ในเกณท์
ภาวะเสี่ยงต่อโรค
น้อยกว่า 18.50
น้ำหนักน้อย / ผอม
มากกว่าคนปกติ
ระหว่าง 18.50 - 22.90
ปกติ (สุขภาพดี)
เท่าคนปกติ
ระหว่าง 23 - 24.90
ท้วม / โรคอ้วนระดับ 1
อันตรายระดับ 1
ระหว่าง 25 - 29.90
อ้วน / โรคอ้วนระดับ 2
อันตรายระดับ 2
มากกว่า 30
อ้วนมาก / โรคอ้วนระดับ 3
อันตรายระดับ 3
ข้อมูลการคำนวณ BMI : กองออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ลด ละ เลิกทำสิ่งเหล่านี้...ที่ทำร้ายตับ
ลดการกินของหวาน ของมัน สิ่งที่ทำให้เสี่ยงน้ำหนักตัวเกิน
เลิกสูบบุหรี่ ทั้งบุหรี่ทั่วไปและบุหรี่ไฟฟ้า ไม่อยู่ในสถานที่ที่ต้องได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เลิกใช้สารเสพติดต่างๆ ยาฆ่าแมลง
เลิกกินยาหรือสมุนไพรโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ปกติแล้ว การตรวจสุขภาพประจำปีจะมีการตรวจค่าการทำงานของตับในเบื้องต้น แต่ใครก็ตามที่มีปัจจัยหรือพฤติกรรมเสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตับแบบเจาะลึก (Fibroscan) เพื่อค้นหารอยโรคไขมันพอกตับ ที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ เพื่อการป้องกันการลุกลามและรักษาได้ทันท่วงที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ตรวจคัดกรองและทำการรักษาจนผู้ป่วยมีภาวะตับแข็งแล้ว การรักษาจะเป็นแค่การควบคุมอาการ และการลดไขมันในตับให้น้อยลงเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่โรคจะไม่หายขาด