xs
xsm
sm
md
lg

กองทัพอากาศไทย ชวดซื้อ F-35 เหตุกองทัพสหรัฐฯไม่ขายให้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



(23 พ.ค. 2566) มีการเปิดเผยความคืบหน้าโครงการการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35 A จากสหรัฐฯ ว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทูตของสหรัฐฯ ได้เข้าพบ พล.อ.อ. อลงกรณ์ วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เพื่อชี้แจงถึงความคืบหน้า โครงการ "จัดซื้อ F-35 A"
.
ซึ่งเบื้องต้นได้บอกว่า ยังจะไม่ขายให้ ขอชะลอการซื้อขายไปก่อน โดยให้เหตุผลถึงความพร้อมของกองทัพอากาศไทย ในเรื่องอาคารสถานที่ การรักษาความปลอดภัย เนื่องจากสหรัฐฯ จะให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลข่าวสาร เป็นอันดับแรก
.
ทำให้กองทัพอากาศ ต้องคืนงบ 369 ล้านบาท ตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ด้วย
.
ก่อนหน้านี้ได้มีการอวยกันสุดพลัง ว่าเครื่องบินขับไล่เอฟ 35 เป็นของดังและดีที่จำเป็นต้องมีประดับบารมีกองทัพอากาศไทย
.
เครื่องบินขับไล่เอฟ-35 (F-35) ผลิตโดยบริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน (Lockheed Martin) บริษัทสัญชาติอเมริกัน เริ่มขึ้นบินครั้งแรกในปี 2549 .
ปัจจุบันมี 3 รุ่น คือ
F-35A แบบขึ้น-ลงปกติ
F-35B แบบขึ้น-ลงแนวในดิ่ง
F-35C แบบที่ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน
.
เครื่องบินรุ่นนี้ได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาจากสหรัฐ อังกฤษ และประเทศอื่นๆ ที่ให้ทุนเพิ่มเติม เพื่อทดแทนเครื่องบินรบรุ่นก่อนหน้าคือ เอฟ-16 เอ-10 เอฟ/เอ-18 (รวมทั้งเอฟ/เอ-18อี/เอฟ) และเอวี-8บี
.
F-35 ได้ชื่อว่า "เครื่องบินล่องหน" เนื่องจากสามารถหลบเลี่ยงการตรวจจับของเรดาร์ จึงสามารถเจาะลึกเข้าไปในน่านฟ้าของศัตรูโดยไม่ปรากฏบนจอเรดาร์
.
ยังมีระบบอิเล็กทรอนิกส์ผสานและเซ็นเซอร์ซึ่งใช้ข้อมูลร่วมกัน ทั้งจากนอกและในเครื่องบิน เพื่อเพิ่มความระมัดระวังตัวให้กับนักบินและเพิ่มการระบุเป้าหมาย การยิงอาวุธ และส่งข้อมูลให้กับศูนย์บัญชาการได้รวดเร็วขึ้น ทั้งยังมีเครือข่ายข้อมูลความเร็วสูงไออีอีอี 1394 บิต
.
ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิต ได้ส่งมอบ F-35 ทั้งสามรุ่นไปแล้วมากกว่า 750 ลำ
.
ประเทศที่นำไปใช้ปฏิบัติภารกิจ มี 9 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐ อังกฤษ อิตาลี ออสเตรเลีย นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ อิสราเอล ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้


กำลังโหลดความคิดเห็น