xs
xsm
sm
md
lg

ภาวะ “กินจุแต่ไม่อ้วน” เป็นโรคหรือเปล่า

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ชื่อว่าหลายๆ คน ที่มีสภาวะที่ รับประทานอาหารได้คราวละเยอะๆ หรือกินเก่ง แต่ไม่มีภาวะอ้วนให้เห็นเลย ซึ่งในบางทีก็น่าอิจฉาสำหรับใครหลายๆ คน แต่ในขณะเดียวกัน การเกิดสภาวะแบบนี้นั้น ไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย เพราะนั่นอาจจะเป็นโรคชนิดหนึ่งให้กับร่างกายได้เช่นเดียว ซึ่งอาจจะมีโรคดังนี้อยู่ในท่ามกลางการกินจุแต่ไม่อ้วน ก็เป็นได้

มีพยาธิมากเกินไป

หากการทานอาหารแล้วไม่อ้วน สาเหตุนี้คงเป็นอาการเบื้องต้นก็เป็นได้ เพราะตัวพยาธิเป็นสาเหตุที่ทำให้ทานอาหารเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน โดยอาการของโรคนั้น ย่อมมีอาการหลักๆ ทั้ง มีการปวดท้องเป็นประจำ ท้องเสียบ่อย และกินอาหารมากเท่าไหร่น้ำหนักก็ไม่ขึ้น และถ้ามีอาการที่ว่ามา แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจหาพยาธิในลำไส้ ซึ่งจะต้องมีการกินยาถ่ายพยาธิก่อน และถ้ามีภาวะกินแล้วไม่อ้วนอยู่ ก็ต้องเช็กสาเหตุอื่นกันต่อไป

ขาดสารอาหาร

อาการนี้เกิดจากภาวะโภชนาการบกพร่อง ส่งผลก่อให้เกิดร่างกายขาดสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งหรือมากกว่านั้น ซึ่งอาการนี้ มักเกิดจาก ผู้ที่ลดน้ำหนักหรือผู้รักสุขภาพแบบผิดๆ หรือ ผู้ที่หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้งหรือเนื้อสัตว์ จนทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเหมาะสม ซึ่งนอกจากจะกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนแล้ว ก็เกิดอาการอ่อนเพลีบไร้เรี่ยวแรงร่วมด้วย

ไทรอยด์เป็นพิษ

หรือเรียกอีกแบบว่า ‘ไทรอยด์ชนิดผอม’ ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของต่อมไทรอยด์ ทำให้เกิดระดับฮอร์โมนต่อมไร้ท่อในร่างกายถูกกระตุ้นให้เผาผลาญเกินความจำเป็น ส่งผลก่อให้เกิดการกินจุแล้วไม่อ้วน นั่นเอง แต่ถ้าปล่อยให้อาการนี้ทิ้งไว้นานๆ อาจจะทำให้เกิดการเต้นของหัวใจผิดปกติ มีอาการนอนไม่หลับ หัวใจเต้นแรง หรือท้องเสียได้ง่าย แต่ถ้าร้ายแรงสุด อาจจะถึงขั้นเป็นโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน

กลุ่มอาการชีแฮน ซินโดรม

สำหรับกลุ่มอาการนี้ มักจะเกิดกับคุณแม่ที่มีอาการตกเลือดรุนแรงระหว่างคลอดบุตร ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงต่อมใต้สมองไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อบริเวณต่อมใต้สมองตายถาวร จนกระทบต่อการฮอร์โมนไปควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีผลทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย คิดช้า และร่างกายซูบผอมในบางราย

โรคเบาหวาน

โรคนี้ เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษษให้หายขาดได้ ทำให้เพียงประคองอาการให้ดีขึ้นเท่านั้น โดยอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคนี้ คือ ผู้ป่วยสามารถกินอาหารได้มากขึ้น แต่น้ำหนักกลับไม่เพิ่มตาม แถมน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมาจากผู้ป่วยมีระดับอินซูลินในเลือดสูง เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลเข้าไป ก็จะเป็นผลให้ไตทำงานหนัก จนทำให้เกิดกระบวนการเผาผลาญแคลอรี่มากขึ้นตามไปด้วย

วัณโรค

วัณโรคเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรง ซึ่งสามารถติดต่อกันผ่านทางอากาศได้โดยการหายใจ การจาม การไอ หรือการอยู่กับผู้ป่วยโรคนี้เป็นเวลานาน โดยจะมีอาการไข้ต่ำ รู้สึกเหนื่อยง่าย และน้ำหนักลดลง ซึ่งถ้ามีอาการที่ว่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ลำไส้อักเสบเรื้อรัง

โรคนี้เกิดจากการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร โดยผู้ป่วยมักมีอาการท้องเสียเป็นหลัก เหมือนลำไส้ต่อตรง กินแล้วถ่ายๆ แต่บางรายอาจจะมีอาการเสริม เช่น ขาดสารอาหาร ถ่ายเป็นเลือด หรือ น้ำหนักลดลง ซึ่งก็ต้องรีบพบแพทย์เช่นเดียวกัน เพราะไม่ใช่โรคที่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้นานอาจจะพัฒนาเป็นโรคมะเร็ง หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคมะเร็ง

เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมการเติบโต หรือ การตายตามธรรมชาติของเซลล์ปกติได้ ทำให้เซลล์ของร่างกายนั้นมีการโต หรือมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์อย่างรวดเร็ว จนมีอาการก้อนเนื้อโตขึ้น โดยผู้ป่วยโรคดังกล่าวนั้น จะมีอาการท้องผูกสลับกับการท้องเสีย และในช่วง 6 เดือนแรก น้ำหนักตัวของผู้ป่วยจะมีความลดลงอย่างชัดเจน
กำลังโหลดความคิดเห็น