xs
xsm
sm
md
lg

ปรับกายและใจ...สู้ภัยน้ำท่วม

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จากพายุ “โพดุล” และ “คาจิกิ” ได้สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ประสบภัยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผลกระทบด้านสุขภาพ วันนี้ทีมเว็บไซต์ สสส. เรามีแนวทางปฏิบัติเพื่อดูแลสุขภาพในภาวะน้ำท่วม การฟื้นฟูหลังภาวะน้ำท่วม และการเยียวยาด้านจิตใจ มาฝากกัน ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้นลองไปดูกันเลย
อุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นช่วงน้ำท่วม
อุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นช่วงน้ำท่วม ได้แก่ ไฟดูด, จมน้ำ, การบาดเจ็บจากการเหยียบของแหลมหรือของมีคม, อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู, ตะขาบ, แมงป่อง ซึ่งหนีน้ำมาหลบอาศัยในบ้านเรือน
วิธีป้องกัน
ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านก่อนที่น้ำจะท่วมถึง
เก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคมในบริเวณอาคารบ้านเรือน และตามทางเดินอย่างสม่ำเสมอ
ระมัดระวังดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
สวมใส่รองเท้าขณะเดินในน้ำ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากของมีคม
หากจำเป็นต้องเดินทาง/ทำกิจกรรมทางน้ำ ควรเตรียมอุปกรณ์ชูชีพให้พร้อม
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคลมชัก ความเครียด ความดันโลหิตต่ำ ไม่ควรอยู่ตามลำพัง
ปรับกายและใจ...สู้ภัยน้ำท่วม thaihealth
การปฏิบัติตัวเมื่อถูกสัตว์และแมลงมีพิษกัด
การดูแลตนเองเบื้องต้น
ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด
เคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกกัด
ไม่ควรทำการขันชะเนาะ เพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ขาดเลือดไปเลี้ยง
นำส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยเร็วที่สุด
ห้ามทำสิ่งต่อไปนี้ คือ กรีดแผล ดูดแผล ใช้ไฟ/ไฟฟ้าจี้ที่แผล โปะน้ำแข็ง พอกสมุนไพร ดื่มสุรา กินยาแก้ปวด ที่มีส่วนผสมของแอสไพริน
แมลงและสัตว์มีพิษอื่น
การดูแลตนเองเบื้องต้น
ผึ้ง ต่อ แตน ดึงเอาเหล็กในออกแล้วทาด้วยแอมโมเนีย หรือ ครีมไตรแอมซิโนโลน
ตะขาบ แมงป่อง ให้ทาแผลด้วยแอมโมเนีย หรือ ครีมไตรแอมซิโนโลน
ถ้ามีอาการปวดมาก หรือมีอาการแพ้ เช่น หนังตาบวม หายใจไม่สะดวกให้รีบไปพบแพทย์
ดูแลจิตใจ สู้ภัยน้ำท่วม
สถานการณ์น้ำท่วมส่งผลกระทบต่อจิตใจเช่นกัน ยิ่งน้ำท่วมมากท่วมนาน ยิ่งมีผลกระทบมาก การดูแลจิตใจของตนเองและครอบครัว จะช่วยให้เรามีสติในการจัดการกับปัญหาได้ดียิ่งขึ้น
ดูแลตนเองตามขั้นตอน ดังนี้
พยายามสงบจิตใจ ให้พร้อมรับมือกับปัญหา เช่น ใช้วิธีนับลมหายใจ
คิดถึงการคลี่คลายปัญหาทีละขั้นตามลำดับความจำเป็น
ช่วยเหลือกันและกันในครอบครัว, เพื่อนบ้าน, ชุมชน เพื่อคลี่คลายปัญหา
ผ่อนคลายความเครียด ด้วยการ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน เข้านอนเป็นเวลาหากไม่ง่วงให้หากิจกรรมทำก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ ฟังวิทยุ หยุดฟัง หยุดดู หยุดรับรู้ข่าวสาร ที่ทำให้เครียด พูดคุยสังสรรค์กับเพื่อนทำกิจกรรมผ่อนคลายที่ชอบเล่นกีฬา หรือบริหารร่างกาย และร่วมกันปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบ้าน หรือศูนย์อพยพ ให้บรรยากาศสบายตา สบายใจ
ปรับกายและใจ...สู้ภัยน้ำท่วม thaihealth
ดูแลจิตใจคนในครอบครัว ด้วยการ
พูดคุย ไถ่ถามทุกข์สุข สร้างอารมณ์ขันให้แก่กัน
หาช่วงเวลาผ่อนคลาย เพื่อช่วยให้มีแรงสู้ต่อไป อาจเป็นช่วงหลังอาหารแต่ละมื้อ
แสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอก เชาน เงินช่วยเหลือ สวัสดิการต่างๆ
หมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของคนในครอบครัวที่แสดงว่ามีความเครียด จาก
ความผิดปกติทางร่างกาย เช่น ถอนหายใจบ่อยๆ เบื่ออาหาร หรือกินอาหารมากกว่าปกติ นอนไม่หลับ ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย
ความผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจ เช่น วิตกกังวล ฟุ้งซ่าน เศร้า อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย โกรธง่ายกว่าปกติ
ความผิดปกติทางการกระทำ เช่น ไม่อยากพบพูดจากับใคร หนีสังคม ขัดแย้งกับคนอื่นบ่อยๆ
การรับมือสำหรับน้ำท่วมครั้งต่อไป
ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัย และขั้นตอนการอพยพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด จากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย
ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เป็นต้น เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน
รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหาร ไว้ในที่สูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง
บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และเก็บไว้ตามที่จำง่าย
ในช่วงที่ยังต้องเผชิญกับภาวะน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง การปรับกายและใจให้เข้ากับสถานการณ์ น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันทั้งโรคและภัยที่มากับน้ำได้ ตามที่ สสส. รณรงค์ให้ทุกคนมีสุขภาพดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ประชาชนมีพื้นฐานสุขภาวะที่ดี เพียงเท่านี้ก็ทำให้ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ และมีความเข้มแข็งที่จะต่อสู้กับน้ำท่วม
ทางทีมเว็บไซต์ สสส. ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบภัย ผ่านพ้นวิกฤติการณ์ครั้งนี้ไปได้ด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแนวปฏิบัติต่างๆ ข้างต้น จะมีส่วนช่วยลดความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงสามารถนำความรู้ไปช่วยเหลือผู้อื่นได้


กำลังโหลดความคิดเห็น