ในอาหารบางชนิดที่มีอายุการเก็บรักษาที่ไม่ยาวนานนัก เช่น นมสด ที่อาจมีการระบุวันเวลาที่ควรกินเอาไว้ชัดเจนว่ามีความน่าจะเป็นที่จะเสีย หรือหมดอายุเมื่อไหร่ แต่ไม่ได้หมายความว่าระบุเวลาปุ๊บแล้วเสียปั๊บทันที เพราะการระบุเวลาที่ควรบริโภคก่อนเป็นการคาดเดาจากผู้ผลิตทั้งสิ้น ทั้งนี้ อายุของผลิตภัณฑ์ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่จะช่วยยืดอายุของอาหารเหล่านั้น หรือทำให้มันเสียเร็วขึ้นนั่นเอง
1.ลองสังเกตวิธีการเก็บรักษา ว่าก่อนหน้านี้อาหารชนิดดังกล่าวมีการเปิดบรรจุภัณฑ์ไปบ้างหรือยัง หรืออาหารเหล่านั้นไม่มีช้อนกลางในการกินใช้หรือไม่
2.ถ้าอาหารที่มีอายุที่เก็บค่อนข้างสั้น เช่น นมสด ขนมปังต่างๆ ควรตรวจสอบสภาพให้ดีว่ามีรูปรส หรือกลิ่นที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ โดยเฉพาะขนมปังที่อาจมีขึ้นราได้ แม้ว่าจะเก็บในตู้เย็นก็ตามที
3.เก็บอาหารในที่ที่เย็นพอหรือไม่ ถ้าเก็บในที่ที่อุณหภูมิค่อนข้างต่ำมากก็จะเก็บรักษาอาหารเอาไว้ได้ในสภาพที่ดี และอาจจะนานขึ้นมากกว่าเดิม เพียงแต่ไม่สดใหม่ หรือกรอบอร่อยเหมือนเดิม
4.แม้ว่าจะเป็นอาหารที่เลยเวลาที่ควรบริโภคไปแล้ว และสภาพอาหารยังไม่เปลี่ยน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรประมาท ถ้าสังเกตให้เห็นความผิดปกติของอาหารเพียงเล็กน้อยก็ไม่ควรกินและโยนทิ้งไปเลยดีกว่า โดยเฉพาะอาหารที่มีความชื้นสูงที่อาจมีราที่มองไม่เห็นเกิดขึ้นมาแล้วก็ได้
แต่อย่างไรก็ตาม ทางเลือกที่ดีที่สุด คือ การรับประทานอาหารที่ปรุงสดใหม่ ซื้อในปริมาณที่พอเหมาะกับการกินในแต่ละครั้ง หมั่นเคลียร์อาหารในตู้เย็นบ่อยๆ สังเกตอาหารในตู้เย็นก่อนกิน และถ้าจำเป็นต้องเก็บอาหารเอาไว้กินต่อก็ควรใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิดก่อนเข้าตู้เย็น ก็จะช่วยเก็บรักษาอาหารเหล่านั้นเอาไว้ได้ต่ออีกระยะหนึ่งอย่างปลอดภัย