รีเซ็ปเตอร์สารฮีสตามีน (histamine-1 receptors ) หรือตัวรับสารฮีสตามีน จะอยู่ในระบบทางเดินหายใจ หลอดเลือด และระบบทางเดินอาหาร (รวมถึงกระเพาะอาหารและหลอดอาหารด้วย) เมื่อมีสิ่งกระตุ้นตัวรับ หรือรีเซปเตอร์ฮีสตามีน จะทำให้คนเรามีอาการผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง เกิดการอักเสบ ระบบทางเดินหายใจแคบลง มีไข้ มีอาการวิงเวียนคล้ายเมารถ เมาเรือได้
นอกจากนี้ตัวรับฮีสตามีนยังพบในสมอง และไขสันหลังอีกด้วย เมื่อรีเซปเตอร์ถูกกระตุ้นจะทำให้รู้สึกตื่นตัวมากขึ้น ดังนั้นการให้ยาแก้เเพ้ระงับประสาท มีผลต่อกลไลการต้านผลของรีเซ็ปเตอร์สารฮีสตามีนในสมองด้วย เลยส่งผลให้ง่วงนอน และอาการกระวนกระวายน้อยลง สงบมากขึ้น
อาการที่ต้องใช้ยาแก้เเพ้
ยาแก้แพ้ เหมาะกับการบรรเทาอาการแพ้ ต่างๆ เช่น
อาการบวมน้ำ (บวม)
การอักเสบ
คัน
ผื่น
ตาสีแดงและน้ำ
อาการน้ำมูกไหล
จาม
ยาแก้แพ้มีประสิทธิในการรักษา เช่น
โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้
โรคหวัด
ไข้หวัดใหญ่
แพ้อาหาร
ไข้ละอองฟาง
ลมพิษ
ปฏิกิริยาภูมิไวเกินต่อยา (เเพ้ยา)
แมลงกัดต่อย
โดนผึ้งต่อย (เหล็กใน)
ยาแก้แพ้, ผลข้างเคียงยาแก้แพ้
Woman holding medicines bottle and pouring some pills on another hand for treatment medication
ยาแก้เเพ้ (antihistamines) มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร ?
ยาแก้แพ้รุ่นแรก
ยาแก้แพ้รุ่นแรก ถูกพัฒนาขึ้นมามากกว่า 70 ปีแล้ว ซึ่งในปัจจุบันยังคงใช้กันอย่างแพร่หลาย ยาแก้แพ้รุ่นเเรก มีตัวรับฮีสตามีอยู่ในบริเวณสมอง ไขสันหลัง และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย (รอบนอก) นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับตัวรับ หรือรีเซ็ปเตอร์อื่นๆด้วย เช่น muscarinic, alpha-adrenergic และ serotonin
ดังนั้น หมายความว่ายาแก้แพ้รุ่นแรกมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ง่วงนอน ปากแห้ง วิงเวียน ความดันโลหิตต่ำ และหัวใจเต้นเร็ว ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีผลข้างเคียงมากกว่ายาแก้แพ้รุ่นที่สอง โดยเฉพาะผลข้างเคียงในประสิทธิภาพการขับขี่ยานพาหนะ หรือการคงบคุมเครื่องจักร และยังมีผลกับปฏิกิริยากับยาตัวอื่น ๆด้วย
ถึงแม้ว่ายารุ่นนี้จะกินแล้วง่วง แต่ก็สามารถรักษาอาการเมารถ เมาเรือได้ดีกว่า ออกฤทธิ์ได้เร็วกว่า แต่ก็หมดฤทธิ์ได้เร็วกว่า เพราะเป็นยาแก้แพ้ที่สามารถดูดซึมผ่านสมองได้
เช่น brompheniramine, chlorpheniramine, carbinoxamine, maleate clemastine และ diphenhydramine
ยาแก้แพ้รุ่นที่สอง
ยาแก้แพ้รุ่นที่สอง เริ่มมีการพัฒนาครั้งเเรกในปี 1980 และมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึมน้อยว่ายาแก้แพ้รุ่นแรก ยาแก้แพ้รุ่นสอง ทำปฏิกิรยากับตัวรับฮีสตามีน (histamine-1 receptors ) บริเวณรอบนอกและไม่เกี่ยวข้องกับบริเวณในสมอง ดังนั้น จึงมีโอกาสน้อยที่จะทำให้เกิดผลข้างเคียงและมีปฏิกิริยากับยา
ยาแก้แพ้รุ่นที่สองส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน ถึงแม้ว่าบางตัวอาจจะมีผลข้างเคียงก็ตาม (เช่น cetirizine และ fexofenadine) อาจจะมีแนวโน้มก็จริง เเต่ต้องกินในปริมาณที่สูงขึ้น
ยารุ่นนี้ก็สามารถรักษาผื่นแดง ผื่นลมพิษบางชนิด และแก้อาการคันผิวหนังได้ดีกว่า แม้จะออกฤทธิ์ช้า แต่ก็ออกฤทธิ์ได้ยาวนาน
เช่น azelastine nasal spray, cetirizine, desloratadine, desloratadine, และ levocetirizine
ผลข้างเคียงของยาแก้แพ้ (antihistamines )
ผลข้างเคียงของยาแก้แพ้รุ่นแรก
อาการปวดท้อง
มองเห็นภาพซ้อน
ท้องผูก
ตาแห้ง
ปากแห้ง
ง่วงนอน ซึม
ปวดหัว
ความดันโลหิตต่ำ
มีเสมหะในทางเดินหายใจ
หัวใจเต้นเร็ว
มีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ
ผลข้างเคียงของยาแก้แพ้รุ่นที่ 2
อาการปวดท้อง
ไอ
อาการง่วงนอน
ความเมื่อยล้า
ปวดหัว
คลื่นไส้ อาเจียน
อาการเจ็บคอ