1. ประโยชน์ของกุ้งเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี กุ้งเป็นอาหารที่มีโปรตีนเยอะไม่แพ้เนื้อสัตว์ประเภทอื่น โดยกรดอะมิโนในกุ้ง เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายหรือ ‘essential aminoacid’ ที่ร่างกายขาดไม่ได้ เนื่องจากกุ้งเป็นสัตว์น้ำที่มีคอเลตเตอรอลต่ำ โปรตีนสูง จึงทำให้กรดอะมิโนที่ได้จากกุ้งเป็นชนิดย่อยง่าย ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เมื่อเทียบกับโปรตีนที่ได้จากสัตว์ชนิดอื่น
atelier_pullman_grand_262. ประโยชน์ของกุ้งช่วยลดความอ้วนได้ หลายคนคงสงสัยว่ากุ้งมีส่วนช่วยในการลดความอ้วนได้อย่างไร คำตอบคือส่วนเปลือกของกุ้งจะมีสารที่เรียกว่า ไคติน (Chitin) ซึ่งในทางการแพทย์ระบุว่าไคตินเป็นสารที่ไม่ดูดซึมเข้าร่างกาย อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการเคลื่อนตัวของกากอาหารในลำไส้ คล้ายกับอาหารจำพวกไฟเบอร์ ดังนั้นกรณีผู้ที่ขับถ่ายไม่ค่อยดีหากรับประทานกุ้งที่มีขนาดไม่ใหญ่มากจึงควรเคี้ยวกุ้งทั้งเปลือกนั่นเอง
โดยนอกจากมีส่วนช่วยในการขับถ่ายแล้ว ไคตินในเปลือกกุ้งยังมีความสามารถในการดักจับคอเลสเตอรอลและไขมัน (จากการรับประทานอาหารในแต่ละวัน) ก่อนที่ร่างกายจะดูดซึมสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ ซึ่งปัจจุบันไคตินจากเปลือกกุ้งได้ถูกนำมาเป็นส่วนผสมในยาเสริมอาหารประเภทลดน้ำหนักอย่างแพร่หลาย
atelier_pullman_grand_343. ประโยชน์ของกุ้งช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์ เนื่องจากกุ้งเป็นสัตว์น้ำที่มีสารอาหารหลากหลายไม่ว่าโปรตีน คอแลตเตอรอลชนิดดี รวมไปถึงโพแทสเซียม โดยเฉพาะในกุ้งขาวที่มีประโยชน์กับคุณแม่ตั้งครรภ์มากเพราะสารอาหารเหล่านี้จะมีส่วนเพิ่มการพัฒนาด้านสมองและสติปัญญาของทารกในครรภ์
4. สารอาหารในกุ้งช่วยลดระดับคอเลตเตอรอลในเลือด ช่วยรักษาอาการหืด ไขข้ออักเสบและความจำเสื่อมได้
ทานกุ้งอย่างไร? ให้ได้คุณประโยชน์ ไม่เกิดโทษต่อร่างกาย
อย่างไรก็ตามระยะหลังมานี้จะมีการฟอเวิร์ดอีเมลล์เกี่ยวกับอันตรายในการรับประทานกุ้งออกมาอย่างแพร่หลาย แต่ก็ไม่ได้ทำให้ปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ประเภทนี้ลดลงแต่อย่างใดแม้ว่าในกุ้งจะมีสารอาหารที่มีประโยชน์จำนวนมากก็ตาม แต่การรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปนั้นย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี โดยเฉพาะหากรับประทานคู่กับวิตามินซี ในทางการแพทย์แล้วสัตว์ที่มีเปลือกอ่อน (เช่นกุ้ง) จะมีสารอาเซนิกเข้มข้นสูงโดยสารประเภทนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหากไม่รับประทานคู่กับวิตามินซีชนิดเม็ดหรือฉีด เนื่องจากหากรับประทานกุ้งในปริมาณมากในช่วงที่ได้รับวิตามินซีจะทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่เปลี่ยนวิตามินซีและอาเซนิกให้กลายเป็นสารหนู ซึ่งส่งผลต่อการทำงานในเส้นเลือดฝอย ทำให้เกิดเลือดคั่งในหัวใจ ตับ และลำไส้ จนทำให้เสียชีวิตได้
osha_0351นอกจากนั้นการรับประทานกุ้งดิบในเมนูสุดฮิตอย่าง ‘กุ้งแช่น้ำปลา’ หรือเมนูอื่นๆก็อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อ ‘วิบริโอ’ และ ‘พาราฮิโมไลคัส’ ที่รับประทานไปแล้วจะทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ในบางรายอาจเกิดอาการตะคริวในช่องท้อง ปวดหัว อาเจียนหรือมีไข้ อย่างไรก็ดีเชื้อโรคดังกล่าวถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน ดังนั้นควรรับประทานกุ้งแบบสุก หรือหากอยากรับประทานแบบดิบต้องมั่นใจความกุ้งผ่านการทำความสะอาดอย่างดี นอกจากนั้นควรราดน้ำจิ้มที่มีความเปรี้ยวจากมะนาวลงบนตัวกุ้งนานพอสมควรเพื่อให้กรดในมะนาวลดความรุนแรงของเชื้อลงนั่นเอง