xs
xsm
sm
md
lg

ประวัติส้มตำ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ประวัติส้มตำ ที่มาของอาหารรสจัดจ้าน

หากพูดถึงอาหารไทยที่มีรสชาติจัดจ้านถึงใจ นอกจากจะนึกถึงต้มยำแล้ว เชื่อว่าส้มตำก็เป็นชื่อที่คนนึกถึงเป็นอันดับต้นๆเช่นกัน ส้มตำเป็นเมนูอาหารที่หลายคนโปรดปราน โดยเฉพาะทางภาคอีสานที่กินได้ทุกวัน ซึ่งจัดว่าเป็นเมนูอาหารประจำภาคอีสานของเราเลยก็ว่าได้ รสชาติของส้มตำนั้นมีเอกลักษณ์ก็คือความแซ่บ เผ็ด ร้อน จนบางครั้งอาจถึงขั้นน้ำตาไหลกันเลยก็ได้ และนั่นคือเสน่ห์ที่ทำให้หลายคนติดใจส้มตำกันมาแล้ว นอกจากนี้ส้มตำยังเป็นเมนูที่เหมาะกับคนลดน้ำหนักอีกด้วย ส้มตำจึงเป็นเมนูโปรดของใครหลายคน แถมยังมีประโยชน์มากมาย แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่า ประวัติส้มตำ อาหารรสแซ่บจัดจ้านนั้นมีที่มาอย่างไร แล้วทำไมถึงเรียกส้มตำทั้งที่วัตถุดิบไม่มีส้มเลยแม้แต่น้อย? ใครจะรู้บ้างว่า ส้มตำ หรือตำบักหุ่งที่ทั้งแซ่บทั้งนัวนั้นเป็นของนอก

ที่มาของชื่อ “ส้มตำ”

คำว่า "ส้มตำ" นั้นเกิดจากคำสองคำที่นำมาผสมกันได้แก่คำว่า "ส้ม" ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของภาคอีสานที่มีความหมายว่า รสชาติเปรี้ยว และคำว่า "ตำ" นั้นก็คือการใช้อุปกรณ์เครื่องครัวชนิดหนึ่งหรือก็คือ สาก โดยเราจะใช้สากโขลกลงไปเพื่อให้วัตถุดิบทั้งหมดเข้ากัน และเมื่อนำทั้งสองคำนี้มารวมกันก็จะหมายความว่า อาหารรสเปรี้ยวที่เกิดจากการโขลกหรือตำนั่นเองคำว่า "ส้มตำ" นั้นเกิดจากคำสองคำที่นำมาผสมกันได้แก่คำว่า "ส้ม" ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของภาคอีสานที่มีความหมายว่า รสชาติเปรี้ยว และคำว่า "ตำ" นั้นก็คือการใช้อุปกรณ์เครื่องครัวชนิดหนึ่งหรือก็คือ สาก โดยเราจะใช้สากโขลกลงไปเพื่อให้วัตถุดิบทั้งหมดเข้ากัน และเมื่อนำทั้งสองคำนี้มารวมกันก็จะหมายความว่า อาหารรสเปรี้ยวที่เกิดจากการโขลกหรือตำนั่นเอง อย่างไรก็ตามตำส้มของคนอีสานนั้นมีความหมายกว้างๆ คนทางภาคอีสานเรียกส้มตำว่า ตำบักหุ่ง หรือตำหมากหุ่ง หมากหุ่งก็คือมะละกอในภาษาอีสาน แล้วเรียกตำแตงกวาว่า "ตำหมากแตง" ตำถั่วก็คือตำถั่วฝักยาว วิธีทำก็ทำคล้ายๆ กับส้มตำแต่ใส่ถั่วฝักยาวกันแทนมะละกอตำละเอียดว่า ใส่ส้มสองอย่างคือมะนาวและมะขามเปียก แล้วใส่ปลาร้า บางคนก็ใส่มะกอก กินกับข้าวเหนียว ปลาปิ้งและผักดอง เข้ากันมากๆ


กำลังโหลดความคิดเห็น