xs
xsm
sm
md
lg

ขับขี่แบบไหนปลอดภัยกับชีวิต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


จากข้อมูลการเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับชาติ (Injury Survillance : IS) ในปี พ.ศ. 2557 พบว่า รถมอเตอร์ไซค์เป็นยานพาหนะที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บสูงสุดถึงร้อยละ 83.20 สูงเป็นอันดับหนึ่ง และในกลุ่มผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยบาดเจ็บรุนแรงถึง ร้อยละ 87.32 แยกเป็นผู้ขับขี่ร้อยละ 86.13 และผู้โดยสารร้อยละ 93.96
นอกจากนั้น จากการบาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งหมดจากการใช้รถมอเตอร์ไซต์เป็นยานพาหนะจะพบการสูญเสียในกลุ่มเยาวชนวัย 15-19 ปีสูงเป็นอันดับหนึ่ง และในช่วงนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายก่อนเข้าสู่เทศกาลปีใหม่ เชื่อว่าหลายคนกำลังวางแผนและเตรียมตัวออกเดินทางไปพักผ่อนในเทศกาลสำคัญดังกล่าว ทำให้ในช่วงนี้บนท้องถนนมีการใช้ยานพาหนะมากขึ้น ซึ่งก็เท่ากับว่าเมื่อมีการใช้รถเพิ่มขึ้นโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพื่อที่จะได้เดินทางท่องเที่ยว กลับบ้าน หรือใช้วันหยุดที่จะถึงนี้อย่างปลอดภัย เรามาดูกันว่าการขับขี่แบบไหนจะทำให้เราปลอดภัยกับชีวิตมากที่สุดกันค่ะ
ก่อนสตาร์ท
1.งดดื่มสุราก่อนขับขี่
2.ตรวจเช็คเลขทะเบียนท้ายรถ ป้ายวงกลม และพกใบอนุญาตขับขี่ทุกครั้ง เพื่อใช้แสดงข้อมูลของรถต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร
3.ตรวจสอบสภาพรถให้อยู่ในสภาพพร้อมขับขี่
4.สวมหมวกนิรภัยก่อนขับขี่ทุกครั้ง
5.แต่งกายด้วยเสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้าที่รัดกุม เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ผิวหนังถลอก หรือเป็นแผลเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง
ขับขี่แบบไหนปลอดภัยกับชีวิต thaihealth
ขณะขับขี่
1.ไม่ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ด้วยความเร็วสูง
2.ไม่บรรทุกสิ่งของหรือผู้โดยสารน้ำหนักมากเกินไป เพราะจะเสียการทรงตัว
3.ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
4.ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง
สาเหตุการเสียชีวิตทางท้องถนนที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดกับ คนเดินถนน ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ดื่มแล้วขับ ขับรถเร็ว และไม่สวมหมวกนิรภัย สสส. ได้ร่วมกับแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรในระดับจังหวัด (สอจร.) ดำเนินการการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางท้องถนน โดยใช้การใช้กลไกแนวราบ คือ 1.การบริหารจัดการอย่างเข้มแข็ง 2.แก้ไขจุดเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง 3.การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น โดยกลไกดังกล่าวสามารถลดอุบัติเหตุได้กว่าครึ่งหนึ่ง ใน จ.ภูเก็ต และกำลังขยายแนวทางการแก้ไขไปยังทุกจังหวัดของประเทศไทย
ทุกการบาดเจ็บบนท้องถนนไม่ว่าจะน้อยหรือมาก ล้วนแต่เป็นเหตุการณ์ที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้น ดังนั้นปัญหาอุบัติเหตุทางถนนจึงถือเป็น “วาระแห่งชาติ” ที่สสส.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งดำเนินการแก้ไขสร้างมาตรการและยกระดับมาฐานยานพาหนะปลอดภัย แต่ถึงแม้เราจะมีอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีล้ำสมัยมากเพียงใด ก็คงไม่สามารถช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้เลย หากผู้ขับขี่ยังขับรถโดยประมาทและไม่เคารพกฎจราจร


กำลังโหลดความคิดเห็น