xs
xsm
sm
md
lg

อันตรายของแป้งฝุ่น ภัยร้ายของลูกน้อยจริงหรือ เรื่องที่คุณแม่ควรรู้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


อันตรายของแป้งฝุ่น

แป้งฝุ่นที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป ซึ่งถูกผลิตมาใช้สำหรับเด็ก และผู้หญิง เพื่อความหอม ความงาม และความสดชื่น แต่คุณแม่รู้หรือไม่ว่า แป้งฝุ่นที่คุณแม่นำมาใช้ทาตัวให้ลูกน้อยนั้น อาจเป็นภัยเงียบแฝงมากับโรคร้ายแรงได้ เพราะในแป้งฝุ่นมีส่วนผสมที่เรียกกันว่า “สารทัลคัม”

สารทัลคัม คืออะไร

สารทัลคัม ผลิตมากจากแร่หินชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ทัลค์ (Talc) หรือแป้งทัลคัม (Talcum Powder) เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่งที่ประกอบไปด้วยธาตุแมกนีเซียม ซิลิกอน และออกซิเจน ซึ่งมีคุณสมบัติเพื่อการดูดซับความชื้นและกลิ่นได้ดี ทำให้ผิวแห้งลื่นเนียน สารตัวนี้จึงถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบหลักของแป้งฝุ่นชนิดต่างๆ นั่นเองค่ะ

สารคัลทัมดังกล่าว หากคุณแม่ หรือลูกน้อยสูดดมเป็นประจำ ร่างกายสะสมสารตัวนี้เป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ เพราะสารตัวนี้ ไม่สามารถย่อยสลายไปได้ตามธรรมชาติ หรือจะให้เข้าใจกันง่าย ๆ คือ เมื่อคุณแม่สูดดมเข้าไปผ่านยังปอดมันก็จะไปสะสมและเกาะที่เซลล์บุผิวปอด นานเข้าจะทำให้ปอดเกิดการอักเสบ ปอดติดเชื้อ และอาจก่อตัวเป็นเนื้องอกหรือกลายเป็นมะเร็งปอดได้ในที่สุดค่ะ

คำเตือน : การทาแป้งฝุ่นอันตรายถึงชีวิต

ทางสมาคมกุมารแพทย์แห่งสหัรฐอเมริกา ไม่แนะนำให้ใช้แป้งเด็กที่มีส่วนผสมของทัลคัม โรยตัวไปที่ผิวของเด็กทารกค่ะ นั่นเพราะว่าละอองแป้งจะเข้าไปสะสมในปอด ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของลูกน้อยได้ ส่งผลให้ลูกเกิดภูมิแพ้ ซึ่งหากลูกสูดดม หรือหายใจเข้าไปเป็นบ่อย ๆ อาจจะทำให้ปวดอักเสบ เกิดเป็นโรคเนื้องอกในปวดได้ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย

- Advertisement -

แนะนำให้คุณแม่ใช้แป้งเด็กที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติเท่านั้น อย่างเช่น มีส่วนผสมของแป้งข้าวโพด (cornstarch-based powder) หรือแป้งข้าวเจ้าบริสุทธิ์ (Rice Starch) เพราะเป็นสารที่ย่อยสลายได้ และมีโมเลกุลใหญ่ ยากต่อการหายใจเข้าไป ไม่เกิดการสะสมในปอด หรือใต้ร่มผ้า ที่สำคัญไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้กับผิวที่บอบบางของลูกอีกด้วยค่ะ

การใช้แป้งเด็กที่เหมาะสมคุณแม่ควรใช้ในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป เวลาที่คุณแม่จะทาแป้งให้ลูก คุณแม่ควรเทแป้งลงบนฝ่ามือก่อนค่ะ ไม่แนะนำให้เทใกล้หน้าเด็ก หรือเทแรงจนฝุ่นแป้งคลุ้ง เพื่อป้องกันแป้งเข้าจมูกลูกได้ ส่วนคุณแม่ท่านใดที่กังวลว่า ในบริเวณส่วนที่เป็นข้อพับต่าง ๆ จะเกิดการอับชื้น หากไม่ได้ทาแป้ง เนื่องจากสภาพอากาศบ้านเราค่อนข้างร้อน ทำให้ลูกมีเหงื่อออกมาเยอะ แนะนำให้คุณแม่ลองใช้ปิโตเลียมเจลลี่ ทาลงไปที่บริเวณข้อพับแทนการทาแป้งดูค่ะ ปิโตรเลียมเจลลี่ จะเคลือบผิวของลูกน้อยไม่ให้ความชื้นเกาะอยู่ได้ จนสามารถลดปัญหาดังกล่าวออกไปได้ค่ะ

ผลการศึกษา เกี่ยวกับอันตรายของแป้งฝุ่น

จากผลการศึกษาของ ดร.แมกี เกตส์ (จากวิทยาแพทยศาสตร์ในบอสตัน) มีคำเตือนให้ผู้หญิงต้องระหว่างการใช้แป้งฝุ่น โดยเฉพาะการใช้แป้งกับบริเวณจุดซ้อนเร้น ซึ่งพบว่าผู้หญิงที่ใช้แป้งบริเวณจุดซ่อนเร้นมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่าผู้ที่ไม่ใช้แป้ง ถึง 40% เลยทีเดียว

จากปัญหาดังกล่าว อาจทำให้คุณแม่อย่างเราเริ่มกังวลว่าควรจะเลือกแป้งอย่างไรเพื่อความปลอดภัย ซึ่งเบื้อนต้นก่อนที่คุณแม่จะตัดสินใจเลือกซื้อแป้ง ควรอ่านฉลากและส่วนประกอบต่าง ๆ หากพบว่ามีสารทัลคัมควรหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาดค่ะ เพื่อความปลอดภัยของเจ้าตัวน้อย

การควบคุมตามกฎหมาย

กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศออกตามในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับแป้งฝุ่นโรยตัวไว้ว่า ผู้ประกอบการต้องแจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยได้กำหนดว่า

ต้องไม่มีวัตถุห้ามใช้ ไม่มีสารปนเปื้อน ใช้สีผสมถูกต้อง หากเป็นแป้งฝุ่นโรยตัวสำหรับเด็กต้องไม่มีกรดบอริก (Boric acid) เมนทอล (Menthol และการบูร (Camphor)
หากมีส่วนผสมของกรดบอริก ต้องใช้ในอัตราส่วนไม่เกิน 3% ของน้ำหนักทั้งหมด
หากมีส่วนผสมของเมนทอล ต้องใช้ในอัตราส่วนไม่เกิน 0% ของน้ำหนักทั้งหมด
หากมีส่วนผสมของการบูร ต้องใช้ในอัตราส่วนไม่เกิน 5% ของน้ำหนักทั้งหมด
คุณสมบัติของจุลชีววิทยา ของแป้งโรยตัว คือ จำนวนรวมของแบคทีเรีย ยีสต์ และราที่เจริญเติบโตโดยใช้อากาศ (Aerobic plate count) ในแป้งฝุ่นโรยตัวสำหรับเด็กต้องน้อยกว่า 500 และ 1,000 โคโลนีต่อกรัม หรือ มิลลิกรัมตามลำดับ และต้องไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ด้วย
นอกจากนี้อันตรายจากผงแป้งที่อยู่ในอากาศ หากสูดเข้าทางเดินหายใจทุกวัน จะเกิดการสะสมในปอด ซึ่งบริเวณเซลล์บุผิวปอดจะดักจับเป็นก้อน ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ถ้าเป็นกับเด็กทารกจะทำให้ปอดอักเสบและตายได้

เมื่อคุณแม่ทราบอย่างนี้แล้ว การใช้แป้งทาตัวลูกน้อยครั้งหน้าก็ขอให้คุณแม่เลือกใช้แป้งที่มีส่วนประกอบจากธรรมชาติดีกว่าค่ะ หรือหากคุณแม่จำเป็นต้องใช้แป้งที่มีสารทัลคัมจริง ๆ ก็ควรใช้อย่างระมัดระวังด้วยนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อยและคนในครอบครัว


กำลังโหลดความคิดเห็น