โดยลักษณะของอาการรอยช้ำสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะเบื้องต้น 1. อาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย สามารถหายไปในระยะเวลา 3-4 วัน ไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ 2. อาการบาดเจ็บจากเส้นเอ็นที่ฉีกขาด (แต่ไม่ถึงครึ่งของเส้นเอ็น) จะมีอาการบวม แดง เกิดการอักเสบ และระยะสุดท้ายระยะที่ 3 เส้นเอ็นฉีกขาดทั้งหมด ในส่วนนี้อาจส่งผลต่ออาการเส้นเอ็นพลิกหรือกระดูกหัก เกิดอาการบวมที่เนื้อเยื่อ และมีอาการปวดร่วมด้วย (อาการของข้อเท้าพลิกมักส่งผลกระทบที่เส้นเอ็นโดยตรง ไม่ส่งผลกระทบต่อข้อต่อหรือกระดูก ยกเว้นผู้ป่วยอายุมากมีโรคกระดูกร่วมจะยิ่งเพิ่มโอกาสที่เส้นเอ็นไปกระชากกระดูกให้หัก)
อย่างไรก็ตาม นอกจากภัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากรอยช้ำที่ได้รับจากกระทบจนเกิดความบาดเจ็บภายในที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า นอกจากการสังเกตอาการตามลำดับหรือพบแพทย์แล้วนั้น หากรอยช้ำแสดงอาการนานเกินกว่าสัปดาห์ หรือบางครั้งมีรอยช้ำของเลือดเกิดขึ้น ผู้ป่วยอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนเลือด หรือการอุดตันของหลอดเลือด
นับว่าเป็นโรคร้ายที่สาเหตุของโรคเกิดจาก การมี “ลิ่มเลือด” เข้าไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดง เริ่มแรกจะปวดขาอย่างมาก อาจมีอาการขาบวม กดเจ็บ โดยอาการบวมมักเริ่มที่น่อง มีรอยแดง หรือสีผิวที่ขาเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด มีอาการร้อนที่ขาร่วมกับอาการปวด ก่อนที่หากปล่อยโดยรักษาไม่ได้อย่างทันท่วงทีจะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองตีบ เรียกว่า ‘ภาวะลิ่มเลือดอุดตันของหลอดเลือดดำ’ หรือ VTE คือการที่มีลิ่มเลือดเข้าไปอุดตันบริเวณหลอดเลือดดำส่วนลึกทำให้การที่ลิ่มเลือดอาจหลุดจากขาไปอุดที่ปอด ส่งผลให้เสียชีวิต นั่นเอง โดยจากรายงานองค์การอนามัยโลกพบว่า 1 ใน 4 ของประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากภาวะหลอดเลือดอุดตันเลยทีเดียว