ตาปลา ถือเป็นโรคทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่เป็นตาปลาจำนวนไม่น้อย โดยสาเหตุการเกิดตาปลานั้นส่วนมากมักจะเกิดจากการเสียดสีบริเวณผิวหนังติดต่อกันเป็นเวลานาน จนทำให้เนื้อเยื่อชั้นบนเกิดความหนาและนูนขึ้นมาเป็นตุ่มคล้ายกับตาของปลา
ตาปลา มีกี่ประเภท
โดยทั่วไปพบว่าตาปลามีด้วยกัน 2 ชนิดคือ
ตาปลาชนิดขอบแข็ง เป็นตาปลาที่มักขึ้นบริเวณข้อพับ ส้นเท้า ฝ่าเท้า หรือบริเวณที่มีการเสียดสีบ่อย ๆ
ตาปลาชนิดอ่อน เป็นตาปลาที่มักขึ้นตามง่ามนิ้วเท้า
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นตาปลา
สำหรับอาการของตาปลานั้น สามารถสังเกตุได้ง่าย ๆ คือหากมีตุ่มขึ้นบริเวณเท้าหรือฝ่ามือที่มีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง เมื่อกดดูแล้วมีความรู้สึกเจ็บจี๊ด ให้สันนิษฐานได้เลยว่ามีความเสี่ยงในการเป็นตาปลาอย่างแน่นอน
ตาปลาอเกิดได้จากสาเหตุใดบ้าง
ส่วนสาเหตุของการเกิดตาปลานั้น มักเกิดจากการกดทับและรับน้ำหนักที่มากเกินไป เช่นการยืน วิ่ง หรือเดินนาน ๆ ทำให้เท้ามีการเสียดสีหรือกดทับมาก ๆ
จะรักษาตาปลาได้อย่างไร
การรักษาตาปลานั้นสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น
การติดพลาสเตอร์ที่มีกรดซาลิไซลิกในบริเวณที่เป็นตาปลา 2 – 3 วันก่อนที่จะแกะพลาสเตอร์ออกและแช่เท้าในน้ำอุ่นเพื่อช่วยให้ตาปลาหลุดลอกออกไปได้ง่าย
นำยาแอสไพรินมาบดเป็นผงแล้วนำไปผสมกับน้ำมะนาว น้ำเปล่าก่อนนำมาป้ายไว้ตรงตาปลาแล้วใช้พลาสติกพันไว้ก่อนใช้ผ้าขนหนูอุ่น ๆ มาทับไว้ทิ้งไว้ 10 นาทีก่อนใช้หินมาขัดให้ตาปลาหลุดออก
ใช้ยากัดหูดหรือตาปลาหยดบริเวณที่เป็นตาปลาวันละ 1-2 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 20 -25 วัน เพื่อกัดหัวตาปลาให้หลุดออก
ผ่าตัดหรือเลเซอร์เพื่อให้ตาปลาหลุดออก
จะป้องกันการเกิดตาปลาได้อย่างไร
โรคตาปลาสามารถป้องกันได้แค่เพียงเลือกรองเท้าให้เหมาะสมและพอดีกับขนาดเท้าของตนเอง ส่วนผู้หญิงหลีกเลี่ยงการสวมใส่รองเท้าส้นสูงหรือรองเท้าหัวแหลมเป็นประจำเพื่อป้องกันการบีบรัดรูปเท้าและกระดูกเท้า หาแผ่นรองเท้าหรือฟองน้ำมาใส่ในรองเท้าเพื่อป้องกันการเสียดสีระหว่างรองเท้าและผิวหนัง เลือกซื้อรองเท้าที่ช่วยรองรับแรงกระแทกหรือรับน้ำหนักขณะเดินหรือวิ่งเพื่อป้องกันการเสียดสี