กินเค็ม ทำอ้วนได้จริงหรือ
บวมน้ำ เป็นหนึ่งคำหลายคนอาจเคยได้ยินมาบ้าง เวลาต้องการหาคำแก้ตัวสวยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “อ้วน” แต่แท้จริงแล้ว บวมน้ำ เป็นภาวะอาการที่เกิดขึ้นได้จริงและมีรายละเอียดน่าสนใจอยู่ ลองมาดูคำอธิบายจากคุณหมอกันเลยค่ะ
กินเค็ม ทำอ้วนได้จริงหรือ
ไม่น่าเชื่อว่า การกินเกลือก็มีผลต่อความอ้วนได้เช่นกัน รองศาสตราจารย์นายแพทย์องอาจ วิพุธศิริ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเวชศาสตร์เขตร้อน เวชศาสตร์ป้องกันสาธารณสุขศาสตร์ แห่งชีวจิตโฮม กล่าวว่า
“นอกจากความอ้วนซึ่งมาจากการกินของหวานและมันแล้ว ยังมีความอ้วนอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดจากร่างกายเก็บกักน้ำไว้มาก หรือเรียกง่าย ๆว่า ‘อ้วนน้ำ’ หรือ ‘บวมน้ำ’ นั่นเอง”
ภาวะบวมน้ำเกิดขึ้นได้อย่างไร
คุณหมอองอาจอธิบายภาวะนี้ไว้ว่า
“เกิดจากการกินอาหารที่มีโซเดียมมากเกินไป โซเดียมที่เรากินมากเกินอยู่เป็นประจำก็คือ เกลือ (โซเดียมคลอไรด์) และผงชูรส (โซเดียมโมโนกลูตาเมต) ซองเครื่องปรุงในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแต่ละซองมีโซเดียม 1,500-1,800 มิลลิกรัม กินแค่ซองเดียวก็อาจทำให้เกิดภาวะบวมน้ำได้แล้ว
“หากใครกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปวันละ 3 ซอง รุ่งขึ้นน้ำหนัก อาจขึ้นได้1-2 กิโลกรัมเลยทีเดียว เพราะได้รับโซเดียมราว 4,500 มิลลิกรัม เนื่องจากไตเราขับเกลือได้วันละ 2,000 – 3,000 มิลลิกรัมเท่านั้น ตัวจึงบวมเพราะมีโซเดียมซึ่งเป็นตัวดูดน้ำเก็บไว้ในร่างกายตกค้างอยู่มาก ถ้ากินในลักษณะนี้ เป็นประจำก็จะอ้วนขึ้นเรื่อย ๆ และรู้สึกว่ามือ หน้า และ หนังตาตึง”
นอกจากนี้ คุณหมอองอาจยังอธิบายอีกว่า ความเค็มยังก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่างๆได้อีก เช่น ซีสต์ (Cyst) ที่เต้านมและรังไข่ หรือ ผู้สูงอายุก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่าบวมได้
น้ำหนัก
น้ำหนักเท่าไรจึงเรียกว่าอ้วน
เราสามารถตรวจสอบความอ้วน จากค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) สูตรคำนวณคือ
ค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร
เกณฑ์ค่าดัชนีมวลกาย
น้ำหนักน้อยผิดปกติ ระหว่าง 18.5-25
น้ำหนักปกติ ระหว่าง 25-30
น้ำหนักเกินปกติ ระหว่าง 30-40 มีภาวะอ้วน เสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน
มากกว่า 40 เป็นโรคอ้วน มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นแล้ว