xs
xsm
sm
md
lg

ภัยร้ายจาก “หลอดไฟ” ที่เราทุกคนควรระวัง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ในสังคมปัจจุบัน เรามีชีวิตที่ติดอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ไอแพด และสมาร์ทโฟน เฉลี่ยแล้ว 7.2 ชั่วโมงต่อวัน แต่สิ่งที่หลายคนมองข้ามไปคือ เราอยู่กับหลอดไฟเป็นระยะเวลามากถึง 16 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นไม่เพียงแต่เทคโนโลยีที่เป็นภัยร้ายแก่ดวงตาของเรา แต่หลอดไฟก็อีกหนึ่งภัยร้ายที่ควรระวัง

ดวงตาเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่มีบทบาทสำคัญ ต่อระบบการรับรู้เป็นอย่างมาก กว่า 80% ของการรับรู้ เกิดขึ้นจากการมองเห็นทั้งสิ้น คนส่วนมากมักมองข้ามความสำคัญของดวงตา และใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายแก่ดวงตากันอยู่มาก

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตา อาจเกิดจากหลายปัจจัย หรือแค่ปัจจัยเดียว โรคตาที่พบบ่อย ได้แก่

เกิดจากอายุ ที่เพิ่มสูงขึ้น : สายตายาวในผู้สูงอายุ , โรคต้อกระจก , โรคต้อหิน , โรควุ้นตาเสื่อม
เกิดจากการติดเชื้อ : โรคตาแดงจากไวรัส , โรคตากุ้งยิง , โรคริดสีดวงตา
เกิดจากการสู้แสงแดดเป็นระยะเวลานาน : โรคต้อกระจก , โรคต้อเนื้อ , โรคต้อลม
เกิดจากการใช้พลังงานของร่างกาย : โรคเบาหวานขึ้นตา
เกิดจากพันธุกรรม : โรคตาขี้เกียจ , โรคตาบอดสี , โรคตาบอดกลางคืน , โรคสายตาผิดปกติ , โรคตาเข , โรคตาเหล่
นอกจากนี้ ในแต่ละช่วงวัย ก็มีการใช้ชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคดวงตาได้เช่นกันโดยแบ่งได้ 3 ช่วงวัยดังนี้

วัยเด็ก : สถิติล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุข พบเด็กสายตาสั้นเพิ่มมากขึ้น ถึง 3 เท่าตัว สาเหตุส่วนมาจากพฤติกรรมการเล่นสมาร์ทโฟน เล่นคอมพิวเตอร์ ในระยะเวลานาน ไม่เพียงเท่านี้ การอ่านหนังสือในที่แสงสว่างไม่เพียงพอ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสายตาเช่นกัน จนเกิดเป็นปัญหาต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น ปัญหาในด้านการเรียน เด็กจะมองตัวหนังสือบนกระดานได้ไม่ชัด ต้องเพ่งสายตามากขึ้น อาจทำให้เกิดอาการปวดตา ปวดศีรษะได้ โดยไม่ทราบสาเหตุ

วัยเรียน : ส่วนมากวัยนี้ มักให้ความสำคัญกับการอ่านหนังสือ เคร่งเครียดกับการทำการบ้านค่อนข้างมาก จนมองข้ามความสำคัญของแสงสว่างในห้อง คิดเพียงแต่ว่า “ไม่เป็นไรมองเห็น” ไม่ได้ใส่ใจการเลือกหลอดไฟเท่าไรนักจนเป็นต้นเหตุของอาการตาล้า ปวดตา ปวดศีรษะ ส่งผลให้จอประสาทตาเสื่อมก่อนวัยอันควร

วัยทำงาน : คนวัยทำงานส่วนมาก มักไม่ค่อยมีเวลาดูแลสุขภาพมากนัก เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หน้าเอกสาร แทบทั้งวัน จนหลงลืมไปว่า แสงต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวนั้นเป็นอันตรายต่อสายตามากเพียงใด ในที่นี้รวมไปแสงไฟในออฟฟิศ ที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย ทำให้เราต้องใช้สายตาเพ่งข้อมูลบนจอคอมพิวเตอร์ อ่านเอกสารต่าง ๆ มากมาย จนเกิดอาการตาล้า ถือเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดสายตาผิดปกติเพิ่มขึ้นอีกด้วย

หากไม่อยากสายตาผิดปกติก่อนวัย ควรให้ความสำคัญ และดูแลดวงตาอย่างเป็นประจำ รวมถึงใส่ใจบรรยากาศแสงไฟรอบข้าง เพราะแสงไฟจากหลอดไฟเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสายตา ฉะนั้นก่อนจะเลือกหลอดไฟ ควรพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

Flicker (แสงกระพริบ) โดยทั่วไปหลอดไฟจะมีแสงกระพริบ ในความถี่ที่ตาเราอาจจะมองไม่เห็น หากเป็นหลอดไฟที่ไม่ได้มาตรฐานจะให้แสงสั่นกระพริบ ซึ่งส่งผลต่อดวงตาเมื่อต้องใช้สายตาภายใต้แสงไฟที่ไม่ได้คุณภาพระยะยาว อาจทำให้รู้สึกมึนหัวได้
Stroboscopic effect เกิดจากการที่แสงส่องกระทบวัตถุแล้วแสงสะท้อน เข้าสู่ดวงตา ต่างจาก Flicker ที่แสงจะสะท้อนเข้าสู่ดวงตาโดยตรง Stroboscopic effect เกิดขึ้นเมื่อวัตถุที่อยู่ภายใต้แสง เคลื่อนที่ด้วยความหน่วงและความถี่สูง ทำให้เวลามองวัตถุไปนานๆ จะเกิดอาการมึนหัว
Glare (แสงสว่างที่เกินความจำเป็น) เกิดจากเมื่อแสงตกกระทบบนพื้นผิว สะท้อนมาเข้าตา ด้วยค่าความสว่าง (ลูเมน) ที่มากเกินไป
Blue Light มีคุณสมบัติยับยั้งการหลั่งสารเมลาโทนิน ส่งผลเสียต่อการนอนหลับและมีผลต่อดวงตา เพราะฉะนั้น หลอดไฟ LED ในต่างประเทศต้องผ่านการทดสอบ Blue Light Hazard ที่ส่งผลกระทบต่อดวงตา ในประเทศไทย หลอดไฟ LED จะต้องผ่านมาตรฐาน มอก. โดยเน้นเรื่องความปลอดภัยของการใช้งานเป็นหลัก

ถนอมดวงตาของเรากันตั้งแต่วันนี้ ด้วยวิธีง่าย ๆ อย่าง เข้าพบหมอตาตามความเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย , ก่อนออกแดดทุกครั้งอย่าลืมพกแว่นกันแดด พักสายตาทุกครั้งที่เล่นคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนรับประทานผักใบเขียว ที่อุดมไปด้วยลูทีน ซึ่งมีส่วนช่วยในการกรองรังสีสีฟ้า หรือลองมองหาหลอดไฟดี ๆ สักหลอดที่มีคุณสมบัติช่วยถนอมสายตา ลดแสงสั่นกระพริบ ลดแสงจ้าที่มากเกินไป แต่ยังให้ความสว่างอย่างทั่วถึง อย่างหลอดไฟ “Eye Comfort” จาก Philips ก็เป็นอีกตัวช่วยที่ดีนะคะ
กำลังโหลดความคิดเห็น