xs
xsm
sm
md
lg

ถึงไม่ใช่สิงห์นักดื่ม ก็มีสิทธิ์เป็นโรคตับแข็ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ถึงไม่ใช่สิงห์นักดื่ม ก็มีสิทธิ์เป็นโรคตับแข็ง ด้วยสาเหตุเหล่านี้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

2 พฤศจิกายน 2558 17:54 น.

ถึงไม่ใช่สิงห์นักดื่ม ก็มีสิทธิ์เป็นโรคตับแข็ง ด้วยสาเหตุเหล่านี้

หลายๆ คน มักจะมีความเข้าใจโดยส่วนใหญ่ว่า “โรคตับแข็ง” นั้น เกิดมาจากการดื่มที่ส่วนผสมของแอลกอฮอล์อยู่ในเครื่องดื่ม และมีการสะสมเข้าไปเป็นจำนวนมาก พอดื่มไปมากเข้าๆ ก็เกิดภาวะโรคนี้เกิดขึ้น จนทำให้เกิดความคิดจำไปเลยว่า การดื่มสุรา, เบียร์ และ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมดังกล่าว คือต้นเหตุของ โรคตับแข็งในที่สุด นั่นเอง

แต่ช้าก่อน ถ้าหากได้ลองอ่านข้อมูลจริงๆ ของ “โรคตับแข็ง” ก็อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงก็ได้ เพราะโรคดังกล่าว ไม่ได้มีแค่สาเหตุของการดื่มเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีอีกหลากสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นมา ซึ่งบางที ข้อมูลชุดนี้ อาจจะทำให้คนทั่วไป ได้ทราบและเข้าใจถึงโรคตับแข็งได้ดีกว่าเดิม และ ลบภาพจำของสาเหตุที่เข้าใจกันมาไปเลยไม่มากก็น้อย

ถึงไม่ใช่สิงห์นักดื่ม ก็มีสิทธิ์เป็นโรคตับแข็ง ด้วยสาเหตุเหล่านี้

สาเหตุของโรค “ตับแข็ง”

สำหรับการเกิดภาวะของ “โรคตับแข็ง” มาจากการเกิดการทำลายตับและการอักเสบ ทำให้เนื้อเยื่อที่ดีของตับถูกทำลาย และเกิดแผลเป็นและพังผืดมาแทนที่

ส่วนสาเหตุของ “โรคตับแข็ง” มีหลายสาเหตุ อาทิเช่น

-การรับประทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน
-เกิดจากอาการอักเสบของตับที่มาจากภูมิต้านทานตนเองที่ทำงานไม่ปกติ
-การได้รับสารพิษที่ส่งผลต่อตัวตับ
-การรับประทานของหวาน หรือ น้ำอัดลมมากเกินไป จนทำให้ไขมันไปสะสมที่ตับ เกิดภาวะเกาะตับจากไขมัน
-การติดเชื้อทั้งหลาย ทั้งจากไวรัสตัดับอักเสบบีและซี แบคทีเรีย เชื้อรา และ ทางพยาธิ

ถึงไม่ใช่สิงห์นักดื่ม ก็มีสิทธิ์เป็นโรคตับแข็ง ด้วยสาเหตุเหล่านี้

อาการของ “การท้องผูก”

ผู้ที่มีภาวะตับแข็งจะมีอาการแสดงต่างๆ ทั้ง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ น้ำหนักลด มึนงง สับสน มีความจำไม่ดี พูดอะไรก็จะจำไม่ค่อยได้ แถมยังมีอาการในตัวเหลืองและตาเหลืองอีกด้วย

ข้อควรจำหากมีภาวะของโรค

-ควรรับประทานโปรตีนที่ย่อยง่าย
-ลดน้ำหนักเพื่อป้องกันภาวะไขมันเกาะตับ
-งดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
-งดรับประทานยาที่เกิดอันตรายต่อตับ
-ไม่ควรทำให้เกิดอาการท้องผูก เพราะอาจก่อให้เกิดสารพิษดูดซึมเข้าไปในร่างกาย จนเกิดภาวะสะสมได้
-จำกัดปริมาณในการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มและเกลือลง
กำลังโหลดความคิดเห็น