xs
xsm
sm
md
lg

Adidas-PUMA นำทัพแบรนด์ดังร้องเขมรแก้ไขสถานการณ์แรงงาน-สิทธิมนุษยชน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




รอยเตอร์ - แบรนด์เสื้อผ้าและรองเท้าชื่อดังระดับโลก ที่รวมทั้ง Adidas PUMA และ Levi Strauss ได้เขียนจดหมายถึงผู้นำกัมพูชาอีกครั้ง โดยระบุว่าสิทธิมนุษยชนและแรงงานของประเทศที่ถูกคุกคามจะนำมาซึ่งมาตรการคว่ำบาตรต่ออุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มที่เป็นภาคส่วนสำคัญของประเทศ

จดหมายเรียกร้องให้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน แก้ไขกฎหมายสหภาพแรงงาน ยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับองค์การนอกภาครัฐที่ไม่แสวงผลกำไร (เอ็นจีโอ) และยกเลิกข้อหาอาญาต่อผู้นำสหภาพ

“ความน่าเชื่อถือของภาคส่วนเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวเดินทางกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง เรามีความวิตกกังวลว่าสถานการณ์สิทธิมนุษยชนและแรงงานในกัมพูชากำลังเสี่ยงที่จะสูญเสียสิทธิพิเศษทางการค้าสำหรับกัมพูชา” จดหมายระบุ

เฮง ซาว โฆษกกระทรวงแรงงาน ระบุว่า ตัวเขาไม่เห็นจดหมายฉบับดังกล่าว แต่กล่าวว่าจดหมายนั้นอาจมีความวิตกกังวลเก่าๆ ในเรื่องที่เราได้จัดการแก้ไขไปแล้วตามกฎหมายของกัมพูชาและกระบวนการทางกฎหมาย

สหภาพยุโรปจะตัดสินในเดือนหน้าว่าจะยกเลิกโครงการ Everything but Arms (EBA) ของกลุ่มหรือไม่ หลังรายงานของคณะกรรมการยุโรป พบว่า รัฐบาลของฮุนเซนปราบปรามฝ่ายค้าน กลุ่มประชาสังคม และสื่อ

สหภาพยุโรปมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของการส่งออกของกัมพูชา อุตสาหกรรมใหญ่ที่สุดของประเทศ ที่จ้างแรงงานราว 700,000 คน

จดหมายที่ส่งถึงฮุนเซนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นตัวแทนของบริษัทเครื่องนุ่งห่มและรองเท้ารายใหญ่ต่างๆ ที่ประกอบด้วย Adidas, Levis Strauss, New Balance, Puma, Ralph Lauren, Under Armour, บริษัท VF Corporation และสมาคมเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าของอเมริกา

พวกเขาเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมายสหภาพแรงงานอีกครั้ง เนื่องจากการแก้ไขที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ม.ค. ยังคงไม่เป็นไปตามมาตรฐานสิทธิแรงงานสากล ล้มเหลวที่จะกำจัดอุปสรรคที่ไร้กฎเกณฑ์ต่อการลงทะเบียนสหภาพแรงงาน และยังจำกัดความสามารถของสหภาพแรงงานในการเป็นตัวแทนให้แก่สมาชิกของพวกเขาอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ แบรนด์ต่างๆ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกกฎหมายที่กำกับควบคุมสมาคมต่างๆ และเอ็นจีโอด้วย

“กฎหมายในปัจจุบันทำให้เกิดบรรยากาศของการคุกคามและการปราบปรามต่อองค์กรประชาสังคมและสหภาพแรงงาน” จดหมายระบุ และว่า รัฐบาลควรยุติกระบวนการยุติธรรมที่ไม่มีมูลความจริงต่อนักเคลื่อนไหวด้านแรงงาน.
กำลังโหลดความคิดเห็น