xs
xsm
sm
md
lg

เพื่อนบ้านหรูจริงๆ อาคารใหม่แบงก์ชาติกัมพูชาสถาปัตย์ทรงปราสาทสูงกว่า 20 ชั้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003><br><FONT color=#00003>แลนด์มาร์คแห่งใหม่ -- ยังไม่ทราบรายละเอียดอะไรมากนัก แต่ดูมีเนื้อที่เหลือเฟือ ออกแบบอย่างตั้งใจให้สะท้อนวัฒนธรรมแห่งชาติมากที่สุด กำลังจะสร้างขึ้นบนทำเลเดิมริมถนนพระนโรดม และ จะเป็นสานักงานใหญ่หลังที่ 4 หรือ 5 ของธนาคารแห่งชาติ รวมทั้งลบภาพการเป็น ธนาคารแดง (Banque Rouge) ที่เป็นมาตลอดเวลากว่า 6 ทศวรรษ. </a>

MGR ออนไลน์ -- ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (National Bank of Cambodia) ได้ประกาศการก่อสร้างสำนักงานใหญ่หลังใหม่ พร้อมทั้งเผยแพร่ภาพอาคารในอนาคต ลงในเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการเมื่อข้ามวันมานี้ ทั้งยังระบุว่าเป็นการแสดงให้เห็นความทันสมัย กับความเจริญรุ่งเรืองรุดหน้าในระบบการเงินการธนาคารของประเทศ ที่เศรษฐกิจโดยรวมเติบโตในระดับสูงเฉลี่ยกว่า 7 ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา

NBC ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรเกี่ยวกับตัวอาคารมากไปกว่านี้ ระบุแต่เพียงว่าการก่อสร้างกำลังจะเริ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ -- แต่แบบแปลนที่เผยแพร่ได้แสดงให้เห็นอาคารสำนักงานใหญ่สูงกว่า 20 ชั้น มีรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่ค่อยๆ ลดหลั่นขนาดของอาคารลงเป็นชั้นๆ แบบขั้นบันไดทั้ง 4 ด้าน ตั้งแต่ชั้นสูงขึ้นไปจนถึงชั้นบนสุด ทำให้มองดูเป็นรูปปราสาทหลังใหญ่ แบบปราสาทพนมและพระวิหารที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของชาติ

นอกจากนั้นสิ่งหนึ่งที่จะเปลี่ยนไปอย่างสำคัญก็คือ อาคารสำนักงานใหญ่หลังใหม่จะไม่ใช้สีแดง ซึ่งจะทำให้ธนาคารแห่งชาติของกัมพูชา ไม่ได้เป็น "ตึกแดง" หรือ "ธนาคารแดง" (Banque Rouge) อีกต่อไป -- เช่นที่เป็นมาตั้งแต่วันเริ่มก่อตั้ง

สำนักงานใหญ่หลังใหม่กำลังจะเป็นหลังที่ 4 หรือ 5 ที่สร้างขึ้นบนที่ดินแปลงเดิม ริมถนนพระนโรดม (Preah Norodom) กรุงพนมเปญ แต่มีรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่สะท้อนวัฒนธรรมแห่งชาติ เด่นชัดกว่าทุกหลังที่ผ่านมา และ มองจากมุมสูงก็จะเห็นแม่น้ำโตนเลสาปอันเก่าแก่คู่กับเมืองหลวงเป็นฉากหลัง

ถึงแม้ว่าในกรุงพนมเปญจะมีตึกระฟ้าสูงที่สุดถึง 38 ชั้น และ ยังมีอีกกว่า 10 หลังที่สูง 30 ชั้นขึ้นไป กำลังอยู่ระหว่างก่อสร้าง หรือ มีกำหนดก่อสร้างในปีนี้ แต่อาคารรูปทรงปราสาทกำลังจะเป็น "แลนด์มาร์ค" ที่สำคัญของเมืองหลวง

ไม่มีการกล่าวถึงมูลค่าการก่อสร้าง ตลอดจนแหล่งที่มาของเงินทุนที่จะใช้ แต่ชาวกัมพูชาบางคนที่อ่านข่าวในเว็บไซต์ข่าวภาษาเขมรกล่าวว่า อาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของแบงก์ชาติ ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลจีน ไม่ต่างกับอาคารสำนักงานอื่นๆ ของทางราชการอีกหลายแห่ง รวมทั้งอาคารทำเนียบรัฐบาล อาคารรัฐสภา สถาบันการฝึกอบรมของกระทรวงกลาโหมและกองทัพ ที่รัฐบาลจีนช่วยเหลือทั้งในรูปเงินให้เปล่าและเงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ
.
<br><FONT color=#00003>อาคารสำนักงานใหญ่หลังปัจจุบัน ใช้มาตั้งแต่ปี 2546 - เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวเฉลี่ยปีละกว่า 7% ตลอด 20 ปีมานี้ ทำให้อาคารแบงก์ชาติเล็กลงถนัด.  </a>
ธนาคารแห่งกัมพูชาก่อตั้งขึ้นในเดือน ธ.ค. 2497 เมื่อได้รับเอกราช หลังจากฝรั่งเศสถอนตัวออกไป และ โรงพิมพ์ หรือ Institut d Émission ในกรุงไซ่ง่อน ที่พิมพ์ธนบัตรอินโดจีนสำหรับใช้ใน 3 ประเทศดินแดนปกครองอินโดจีนได้ถูกยุบไป -- กัมพูชาเริ่มพิมพ์เงินสกุลเรียล (Riel) ของตนเองออกมาใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้า จากนั้นธนาคารแห่งชาติก็ได้ผ่านทั้งวิกฤติการณ์ และ วิวัฒนาการต่อมาในหลายยุค จนกลายเป็นสถาบันการเงินหลัก คู่การพัฒนาประเทศในปัจจุบัน

ก่อนสงครามเวียดนามจะเริ่มขึ้นและลามออกไปทั่วคาบสมุทรอินโดจีนอีกครั้งหนึ่งนั้น รัฐบาลพรรคสังคมราษฎร์นิยม (Sangkum Reastr Niyum) ภายใต้การนำของเจ้านโรดมสีหนุ ได้ปฏิรูประบบธนาคารครั้งใหญ่ หลังมีการปรับนโยบายและทิศทางการพัฒนาการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศ ทำให้เกิดธนาคารแห่งรัฐที่เป็นองค์กรกึ่งอิสระขึ้นมาเต็มรูป อาคารสำนักงานใหญ่ได้รับการต่อเติมให้ใหญ่โตขึ้น มีการก่อตั้งธนาคารเฉพาะทางของรัฐบาลหลายแห่ง เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบท และ ธนาคารเพื่อการเกษตร ฯลฯ ทำให้ธนาคารพาณิชย์เอกชน และ ธนาคารต่างชาติแห่งต่างๆ ต้องปิดลง

แต่ระบบการเงินการธนาคารได้ถูกทำลายลง หลังจากคอมมิวนิสต์เขมรแดง หรือ พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา ยึดอำนาจจากรัฐบาลประธานาธิบดีลอนนอลในวันที่ 17 เม.ย.2518 -- รัฐบาลเขมรแดงยกเลิกการใช้ธนบัตร และ จ่ายค่าจ้างพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นข้าวปลาอาหาร สิ่้งของ กับเครื่องนุ่งห่มแทน ฯลฯ ธนาคารแห่งชาติถูกยุบ "อาคารสีแดง" ถูกทำลายเสียหายหนัก จนเหลือแต่เพียงเค้าโครงให้เห็น

การฟื้นฟูธนาคารแห่งชาติมีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเดือน ต.ค.2522 ภายใต้ระบอบใหม่โดยพรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา (เขมรแดงอีกค่ายหนึ่ง) ที่สหภาพโซเวียตและเวียดนามหนุนหลัง ซึ่งกลายมาเป็นพรรคประชาชนกัมพูชาในปัจจุบัน ที่ไม่มีแนวทางสังคมนิยมอีกแล้ว -- ระบอบใหม่ได้จัดพิมพ์ธนบัตรเรียล และ นำออกใช้หมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้าอีกครั้่งหนึ่ง ในวันที่ 20 มี.ค. 2523 หลังถูกยกเลิกไป 5 ปี

ตามข้อมูลในเว็บไซต์ NBC -- ในขณะที่รอการก่อสร้างอาคารสำนักงานหลังใหม่ แบงก์ชาติกัมพูชาได้ใช้ชั้นบนสุดของอาคารธนาคารพาณิชย์เขมร (Khmer Bank of Commerce) เดิม เป็นสำนักงานชั่วคราว ภายใต้ชื่อ "ธนาคารประชาชนกัมปูเจีย" (People's Bank of Kampuchea) แต่ก็ยังไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะฟื้นฟูทั้งระบบให้กลับมาใช้การได้อีกครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลากรทางการเงิน เช่นเดียวกันกับปัญญาชนสาขาอื่นๆ ที่แทบจะไม่มีลงเหลืออยู่ เนื่องจากถูกสังหารไปเกือบหมดในยุคเขมรแดง
.
<FONT color=#00003>ภาพถ่ายเมื่อปี 2522 หลังระบอบใหม่ยึดอำนาจในกรุงพนมเป็ญ ให้เห็นผลงานของระบอบเขมรแดง ที่เลิกการใช้เงิน และ ธนาคารแดง ถูกทำลาย.  </a>
<br><FONT color=#00003>สำนักงานใหญ่หลังใหม่ เปิดใช้ในปี 2533 หลังประเทศกลับสู่สันติ กองทัพเวียดนามถอนทหารออกไปทั้งหมด และ มีการเซ็นสัญญาสันติภาพกรุงปารีสปลายปีถัดมา. </a>
<br><FONT color=#00003>อาคารสำนักงานแห่งแรกของแบงก์ชาติกัมพูชาในปี 2497 บนที่ดินแปลงเดียวกันนี้ -- สร้างขึ้นหลังฝรั่งเศสสิ้นอิทธิพลในคาบสมุทรอินโดจีนและปิดโรงพิมพ์ธนบัตรลง -- น่าเสียดายที่ไม่มีภาพสีให้เห็น. </a>
<br><FONT color=#00003>แต่... ดูอีกที เหตุไฉนใครๆ จึงเรียกธนาคารแห่งชาติกัมพูชาเป็น ธนาคารแดง (Banque Rouge) ตลอดมาตั้งแต่วันแรก. </a>
<br><FONT color=#00003>อาคารวัตตะนัค (วัตตะนะ) ทาวเวอร์สูง 38 ชั้น เพิ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการเดือนทื่แล้ว -- กำลังจะมีตึกระฟ้าผุดขึ้นมาอีกกว่า 10 หลังในอนาคตอันใกล้ แต่ในวันนั้นสถาปัตยกรรมรูปทรงปราสาท ก็จะยังโดดเด่นเป็นสง่าในย่านใจกลางเมืองหลวง. </a>
ระบบธนาคารในกัมพูชาล้มลุกคลุกคลานตลอด 10 ปีต่อมา เนื่องจากรัฐบาลที่เวียดนามหนุนหลัง ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ และ ขาดแหล่งสนับสนุนทางการเงิน สงครามกลางเมืองยังดำเนินต่อมาอีก 10 ปี ระหว่างระบอบใหม่ฝ่ายหนึ่ง กับอีกฝ่ายหนึ่งคือเขมรแดงเก่า ที่ร่วมกับอีก 2 ฝ่ายจัดตั้ง "รัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย" เป็นรัฐบาลพลัดถิ่นที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอาเซียน และสหประชาชาติให้การรับรอง

จนกระทั่งสงครามกลางเมืองยุติลงในปี 2532 ประเทศกลับคืนสู่ความสงบสันติ กองทัพเวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชาทั้งหมด ธนาคารประชาชนฯ จึงได้เริ่มขยายสาขาออกสู่จังหวัดต่างๆ และ เริ่มมีการก่อตั้งธนาคารพาณิชย์ กับธนาคารเฉพาะทางของรัฐบาลขึ้นมาหลายแห่ง -- การก่อสร้าง "ตึกแดง" หลังใหม่มีขึ้นในปี 2533 โดยรื้อถอนหลังเก่าที่ถูกเขมรแดงทำลายออกไป

ในปี 2534 หลังการเซ็นสัญญาสันติภาพกรุงปารีส ได้มีการก่อตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้นในกัมพูชาเป็นแห่งแรก ภายใต้ชื่อ Cambodia Commercial Bank เพื่อรองรับและสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ขององค์การบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติ (United Nations Transitional Authority in Cambodia) ที่จัดตั้งขึ้นในขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านอำนาจในประเทศนี้

ในเดือน ก.พ.2535 จึงมีการประกาศเปลี่ยนชื่อจาก ธนาคารประชาชนกัมปูเจีย กลับไปเป็น "ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา" อีกครั้ง มาจนกระทั่งทุกวันนี้.


กำลังโหลดความคิดเห็น