xs
xsm
sm
md
lg

ญี่ปุ่นเศร้าอดส่งออกนิวเคลียร์หลังเวียดนามพับแผนสร้างโรงไฟฟ้า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้สื่อข่าวสวมชุดป้องกันและหน้ากากฟังบรรยายสรุปจากพนักงานบริษัท Tokyo Electric Power (TEPCO) หน้าอาคารเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 1 และหมายเลข 2 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ ในเมืองโอคุมะ จ.ฟุกุชิมะ เมื่อวันที่ 10 ก.พ. แม้เวียดนามจะทำข้อตกลงพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กับญี่ปุ่น แต่ด้วยปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้นถึง 2 เท่า และความวิตกเกี่ยวกับความปลอดภัยของโรงไฟฟ้า หลังเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติฟุกุชิมะ ทำให้รัฐบาลเวียดนามตัดสินใจที่จะระงับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศ. --  Reuters/Toru Hanai/File.</font></b>

รอยเตอร์ - เวียดนามมีทีท่าจะยกเลิกแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์กับบริษัทญี่ปุ่น ทำลายการผลักดันของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ที่จะเริ่มต้นการส่งออกเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หลังภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ ทำให้อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของประเทศต้องหยุดชะงักลง

รัฐบาลญี่ปุ่นระบุในคำแถลงฉบับหนึ่งที่ออกในสัปดาห์นี้ว่า รัฐบาลได้รับแจ้งจากรองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม ว่า ฮานอยใกล้ที่จะตัดสินใจยกเลิกโครงการดังกล่าว โดยรัฐมตรีกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น อธิบายความเคลื่อนไหวของเวียดนามนี้ว่า เป็นเรื่องที่น่าเศร้าอย่างมาก

การตัดสินใจของเวียดนาม เกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการคาดการณ์ว่า ความต้องการพลังงานลดลง และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งความวิตกเรื่องความปลอดภัย หลายประเทศตั้งแต่เยอรมนี ไปจนถึงอินโดนีเซียได้ตัดสินใจที่จะระงับโครงการพลังงานนิวเคลียร์ หรือยกเลิกแผนพัฒนา เนื่องจากสถานการณ์ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ในปี 2554 ที่นับว่าเลวร้ายที่สุดของโลกตั้งแต่เหตุการณ์เชอร์โนบิล ในปี 2529

“เวียดนามเป็นแค่รายล่าสุดในรายชื่อประเทศยาวเหยียด รวมทั้งชิลี และอินโดนีเซียเมื่อไม่นานนี้ ที่เลื่อนอย่างไม่มีกำหนด หรือยกเลิกแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” มีเคิล ชไนเดอร์ นักวิเคราะห์ด้านพลังงาน จากสำนักงานในกรุงปารีส กล่าว

ฮานอย ทำสัญญากับญี่ปุ่นในปี 2553 โดยภายใต้แผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น บริษัท Japan Atomic Power จะประสานงานร่วมกันกับกลุ่มบริษัทที่ประกอบด้วย บริษัท Tokyo Electric Power ที่ควบคุมโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ และผู้ผลิตอุปกรณ์อย่าง Hitachi และ Toshiba

โฆษกบริษัท Japan Atomic Power กล่าวว่า บริษัทไม่ได้ติดต่อกับเวียดนามนับตั้งแต่เสร็จสิ้นการศึกษาความเป็นไปได้ และตามการระบุของสมาคมนิวเคลียร์โลก การศึกษาความเป็นไปได้นั้นเสร็จสมบูรณ์ในปี 2556

รัฐสภาเวีดนามกำหนดให้วันอังคาร (22) เป็นวันรับรองอย่างเป็นทางการในการยกเลิกข้อตกลงญี่ปุ่น รวมทั้งโครงการนิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศ ที่ทำสัญญากับบริษัท Rosatom ของรัสเซีย ตามการรายงานของสื่อทางการ ด้านบริษัท Rosatom ระบุว่า บริษัทจะไม่แสดงความเห็นจนกว่ารัฐสภาเวียดนามจะตัดสินใจอย่างเป็นทางการ

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น และรัสเซียคาดว่าจะตั้งขึ้นใน จ.นีงทวน ทางภาคกลางของประเทศ

โรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง จะมีกำลังการผลิตรวม 4,000 เมกะวัตต์ โดยโรงไฟฟ้านีงทวน 2 หมายเลข 1 มีกำหนดเริ่มดำเนินการในปี 2564 และตามด้วยโรงไฟฟ้านีงทวน 2 หมายเลข 2 ในปี 2565 ซึ่งโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่งนี้ บริษัทญี่ปุ่นเป็นผู้ดูแลเครื่องปฏิกรณ์ ส่วนบริษัท Rosatom จะดูแลเครื่องปฏิกรณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์นีงทวน 1 ที่มีกำหนดเริ่มเดินเครื่องในปี 2563

ด้วยการคาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตการบริโภคพลังงานของเวียดนามจะชะลอตัวลง ทำให้ชะตากรรมของแผนระยะยาวที่จะขยายกำลังการผลิตพลังงานนิวเคลียร์เป็น 15,000 เมกะวัตต์ นั้นถูกตั้งคำถาม

การขยายตัวด้านความต้องการพลังงานต่อปีของเวียดนามอยู่ที่ร้อยละ 11 ระหว่างปี 2559-2563 และอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7-8 จนถึงปี 2573 เปรียบเทียบจากที่รัฐบาลเคยคาดการณ์ไว้เมื่อตอนเริ่มต้นแผนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ว่าประเทศจะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17-20 ต่อปี.
กำลังโหลดความคิดเห็น