xs
xsm
sm
md
lg

ชาวลาวงงเป็นอย่างมาก.. เป็นแบตเตอรีแล้วไง? ไฉนติดหนี้ค่าไฟฟ้าไทย 6 พันล้าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>เสาไฟฟ้าที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในไซยะบูลี แขวงนี้์ซือไฟฟ้าจาก ฟฟล.เพิ่มขึ้นอีกมากมาย หลังจากกลายเป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในประเทศ ที่ใช้พลังงานความร้อนจากถ่านหินผลิตเองในท้องถิ่น เสาไฟฟ้าที่เห็นอาจทำให้หลายคน นึกถึงต่างอำเภอในชนบทห่างไกลของไทยเมื่อ 40-50 ปีก่อน วันนี้ลาวยังขาดแคลนระบบสายส่งไฟฟ้าอย่างมาก ทำให้ต้องซื้อไฟจากไทยกลับไปใช้ ภายใต้ความตกลง แลกเปลี่ยนกระแสไฟฟ้า ที่ทำคู่กับสัญญาซื้อขาย.</b>

MRGออนไลน์ -- ชาวลาวที่ใช้อินเตอร์เน็ตนับร้อยๆ คน สงสัยและมีความข้องใจเป็นอย่างยิ่ง หลังจากได้ทราบข่าวผ่านสื่อในประเทศไทยว่า จนถึงปัจจุบันรัฐบาลลาวติดค้างค่ากระแสไฟฟ้า ต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตของไทย เป็นเงินถึง 6,000 ล้านบาท หลายคนแสดงความสงสัยนี้ ผ่านเว็บไซต์สื่อของทางการ และ ถึงแม้ว่าจะมีผู้ทราบเรื่องจำนวนหนึ่ง พยายามอะไรอธิบายข้อเท็จจริง แต่ก็ยังไม่อาจช่วยไขข้อข้องใจได้ทั้งหมด

นั่นคือผลของความเชื่อ ที่เชื่อกันมาเป็นเวลานานว่า ลาวเป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าส่งออก และ ไทยเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุด ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา และ หลายคนกล่าวว่าถ้าหากประเทศชาติ จะตกเป็นหนี้ค่าไฟประเทศไทยจริงๆ สิ่งนี้ก็อาจจะเกิดจากการทุจริตคอร์ปชั่น ของเจ้าหน้าที่ทางการ

"ปะเทดผะลิดไฟ้าเอง พัดติดหนี้เขากูละงง" ลิดสะไหม LC จันทะบัวลี (Lithsamay LC Chanthaboualy) เป็นคนแรกๆ ที่แสดงความงวยงงง ผ่านเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ปะเทดลาว

"ประชาชนเฮาในประเทดแท้ๆ บางพึ้นที่ไฟยังบ่อได้ใช้กันเลย เป็นจั่งใดนอ คึอว่ามาเป็นหนี้ประเทศอึ่นแล้ว" Kem Tana Kon เขียนแสดงความงุนงง ที่เห็นชาวลาวในประเทศจำนวนมาก ในบางพื้นที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้เลย แต่เป็นเพราะเหตุใด จึงไปเป็นหนี้ค่าไฟฟ้าประเทศอื่น

"เปันบ้าไปแล้ว ลาวคือสิเปันหนี้ ลาวมีไฟฟ้าใช้เอง เอามาแต่ไสอีก" - จอมช่า บ้าพลั่ง - เขียนอย่างไม่เชื่อว่าจะเป็นความจริง เพราะลาวผลิตไฟฟ้า และ มีใช้เอง เพราะเหตุใดจึงต้องไปซื้อไฟฟ้ามาใช้อีก

ความเห็นของชาวลาวออนไลน์ทั้งสาม แสดงให้ห็นความไม่เข้าในข้อเท็จจริงที่ว่า นอกจากไทยจะซื้อไฟฟ้าจากลาว ตามสัญญาซื่้อขายที่ทำกันมาหลายครั้ง แต่ในช่วงเดียวกันนั้น ลาวได้ซื้อกลับไฟฟ้าที่ขายให้ไทยจำนวนหนึ่ง เพื่อนำไปใช้ในดินแดนห่างไกล ในแขวงต่างๆ เหนือจดใต้ ที่ระบบสายส่งไฟฟ้าในประเทศ ยังเข้าไม่ถึง โดยส่งผ่านระบบสายส่งที่ กฟผ. เป็นผู้ลงทุนสร้างไปเชื่อมต่อ ระบบสายส่งของการไฟฟ้าลาว
.
<br><FONT color=#00003>พิธีเปิดโรงไฟฟ้าย่อยและเชื่อมต่อข่ายไฟฟ้า ระหว่างแขวงสาละวันกับแขวงสะหวันนะเขต ในสัปดาห์กลางเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา เป็นก้าวใหญ่ๆ ของลาว ที่จะสลัดการขึ้นต่อ ที่ต้องซื้อไฟฟ้าจาก กฟผ. กลับไปใช้ในหลายท้องถิ่นทั่วประเทศ ในราคาที่แพงกว่าตอนขาย.  Photo: Embassy of Japan. </b>
2
เมื่อซื้อไฟฟ้าจากไทย ผ่านระบบสายส่งของไทย ก็จึงทำให้ค่าไฟฟ้าที่ลาวซื้่อจากไทย สูงกว่าครั้งที่ไทยซื้อจากลาว ซึ่งเป็นไปตามความตกลงซื้อขาย ที่ทั้งสองฝ่ายต่างเข้าใจ และ ตระหนักในข้อเท็จจริงเป็นอย่างดี

ความจริงที่ทำให้ชาวลาวจำนวนมากงุนงงสงสัยนี้ เปิดเผยเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว โดยผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายทวารัฐ สูตะบุตร ในการประชุมสัมมนาหัวข้อ "คุณูปการของ ศ.ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ ต่อสังคมไทย” ที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

ศ.ดร.บุนรอด เป็น รมว.ทบวงมหาวิทยาลัยคนแรกของไทย และ เป็น รมช.กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ นอกจากนั้่นยังเป็นอดีตเลขาธิการสำนักงานพลังงานแห่งชาติ เป็นผู้รวมกิจการสามหน่วยงานการไฟฟ้าในยุคนนั้น ก่อตั้งเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2512 และ พัฒนาความสัมพันธ์ทางธุรกิจไฟฟ้ากับลาว มาตั้งแต่นั้น

วันที่ 6 ก.ย.2559 ระหว่างการประชุมผู้นำกลุ่มอาเซียนในนครเวียงจันทน์ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กับ นายทองลุน สีสุลิด นรม.ลาว ได้ร่วมเป็นสักขีพยาน การลงนามในบันทึกช่วยความจำ ระหว่าง รมว.พลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย กับคู่ตำแหน่งแห่งกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ลาว ซึ่ง กฟผ.จะซื้อไฟฟ้าจากลาว เพิ่มขึ้นเป็น 9,000 เมกกะวัตต์ จากเดิม 7,000 เมกะวัตต์ ที่เซ็นสัญญาซื้อขายครั้งก่อนหน้านั้น เมื่อ 10 ปีที่แล้ว

นอกเหนือจากไทยรับซื้อไฟฟ้าจากลาวแล้ว ในกรอบ 9,000 เมกะวัตต์แล้ว สองฝ่ายยังมีความตกลง แลกเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าระหว่างกันอีก รวม 494 เมกะวัตต์ คือ หากลาวผลิตไฟฟ้าได้มากเกินกว่าความต้องการใช้ในประเทศ ก็จะส่งไฟฟ้าส่วนที่เหลือขายให้แก่ กฟผ.อีก โดยผ่านระบบสายส่ง แต่ถ้าหากฝ่ายลาวขาดแคลนไฟฟ้า ไทยก็จะส่งขายกลับคืนไปให้ลาว ผ่านระบบสายส่งเช่นเดียวกัน
.


3

4
ภายใต้กรอบความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนไฟฟ้านี้ ทำให้ลาวมีภาระหนี้สะสมอยู่เกือบ 6,000 ล้านบาท เนื่องจากค่าไฟฟ้า ที่ไทยส่งขายให้แก่ลาวนั้น สูงกว่าค่าไฟฟ้า ที่ลาวขายให้ไทย เนื่องจากต้องบวกต้นทุนของระบบสายส่งเข้าไปด้วย

ตามข้อมูลที่เปิดเผยล่าสุดนี้ จุดขายไฟฟ้าที่ลาวส่งให้ไทยนั้นมีเพียง 2 จุด แต่จุดที่ฝ่ายลาว ต้องการซื้อไฟฟ้ากลับไปใช้ มีถึง 6 จุดซึ่ง กฟผ.มีค่าใช้จ่ายในการลงทุน ก่อสร้างระบบสายส่ง

นายทวารัฐ กล่าวว่า จะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพื่อทบทวนกรอบความร่วมมือ ในการแลกเปลี่ยนไฟฟ้าระหว่างสองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อหาแนวทางที่จะช่วยปลดภาระหนี้เกือบ 6,000 ล้านบาทดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (Electricite Du Lao) กำลังพยายามอย่างยิ่ง ที่จะลดการพึ่งพากระแสไฟฟ้าจากไทยลงให้มากที่สุด ตามแผนการแต่เดิมนั้น ลาวจะปลดเปลื้องภาระดังกล่าว เพื่อไม่ต้องซื้อไฟฟ้าจากไทย ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ด้วยการก่อสร้างระบบสายส่งให้ทั่วถึง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ

กลางเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการต่อเชื่อมสถานีไฟฟ้าย่อย 2 แห่ง ระหว่างแขวงสะหวันนะเขตในภาคกลาง กับแขวงสาละวันในภาคใต้ เพื่อนำกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ จากเขื่อนหลายแห่งทางตอนใต้สุดของประเทศ ขึ้นไปใช้ในแขวงภาคกลาง จนถึงนครเวียงจันทน์ เพื่อลดการพึ่งพาซื้อกระแสไฟฟ้าจากไทย ผ่านระบบสายส่ง กฟผ. จากเมืองนครพนมไปยังเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน กับอีกบางจุดในย่านนี้
.

<br><FONT color=#00003>เอกอัครรัฐทูตญี่ปุ่นประจำลาว นายตาเกชิ ฮิกิฮารา และ รมว.พลังงานและเหมืองแร่ลาว นายคำมะนี อินทะลาด เดินชมสถานีไฟฟ้าย่อยในแขวงสาละวัน หลังพิธีเปิดระบบข่ายสายส่งไฟฟ้าเชื่อมภาคกลางกับภาคใต้ ในสัปดาห์กลางเดือน ส.ค. ระบบสายส่งกว่า 100 กม.กับ สถานีไฟฟ้าย่อยทั้งสองแห่ง สร้างขึ้นด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาก กับการช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากรัฐบาลญี่ปุ่น. Photo: Embassy of Japan. </b>
5
ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร กับสถานีไฟฟ้าทั้งสองแห่ง ก่อสร้างขึ้นด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมากจากรัฐบาลญี่ปุ่น รวมทั้งการช่วยเหลือแบบให้เปล่าอีกส่วนหนึ่งด้วย

หลายปีมานี้่ ฟฟล.ซึ่งในปัจจุบัน สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างเหลือเฟือ สำหรับใช้ภายในประเทศ ยังได้ก่อสร้างระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ต่อเชื่อมข่ายไฟฟ้าระหว่างแขวงภาคกลาง กับภาคเหนือในอีกหลายจุด ซึ่งเป็นความพยายามที่จะเป็นอิสระ จากการซื้อไฟฟ้าผ่านระบบสายส่งจากไทย ที่ดำเนินมายาวนานกว่า 40 ปี

ในช่วงปีหลังๆ นี้ ฟฟล.ได้พยายามผูกเอาการลงทุนสร้างระบบสายส่ง พ่วงเข้าในสัญญาก่อสร้างเขื่อนแห่งใหม่ๆ ด้วย รวมทั้งกรณีล่าสุดซึ่งได้แก่ บริษัทไฟฟ้าหงสาที่ต้องก่อสร้างระบบสายส่ง ระยะทางนับร้อย กม. ด้านหนึ่งเพื่อส่งไฟฟ้าจำหน่ายให้แก่ไทย กับอีกด้านหนึ่งเพื่อเชื่อมกับข่ายของ ฟฟล. ที่ซื้อไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในประเทศ แม้จะซื้อปริมาณไม่มากก็ตาม

แต่ทั้งหมดนี้ ยังเป็นเรื่องที่ชาวลาวจำนวนมาก ยากจะเข้าใจ

"ตังแต่ข้อยเกิดมาบ่อเห้นไฟฟ้าเข้าบ้านข้อยเลิย จักกะเป็นเพาะติดหนี้นีนา" -- จันที แสงปันยา (Chanthy Sengpanya) เขียนแสดงความสงสัย เนื่องจากตั้งแต่เกิดมา ยังไม่เคยเห็นมีไฟฟ้าต่อเข้าหมู่บ้านเลย ซึ่งเรื่องนี้ก็คงจะเป็นเพราะ การติดหนี้ค่าไฟฟ้าประเทศเพื่อนบ้านนั่นเอง.
กำลังโหลดความคิดเห็น