xs
xsm
sm
md
lg

ไทย-ลาวเซ็นเอ็มโอยูซื้อขายไฟฟ้า 9,000 MW "ลุงตู่-ทองลุน" ร่วมเป็นสักขีพยาน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา กับ นายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรีไทยและลาว ร่วมเป็นสักขีพยานการเซ็น MoU ซื้อขายไฟฟ้า 9,000 เมกะวัตต์ วันอังคาร 6 ก.ย.2559 ซึ่งเป็นวันแรกของการประชุมผู้นำอาเซียน โดย พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงานของไทย กับ นายคำมะนี อินทิลาด รมว.พลังงานและเหมืองแร่ลาว ได้ร่วมกันลงนามในเอกสารดังกล่าว. -- หนังสือพิมพ์ปะเทดลาว. </b>

MGRออนไลน์ -- รัฐบาลไทยได้เซ็นบันทึกช่วยจำ ซื้่อกระแสไฟฟ้าจากลาวเพิ่มจาก 7,000 เมกะวัตต์ในปัจจุบัน เป็น 9,000 เมกะวัตต์แล้ว ซึ่งเป็นไปตามแผนการจัดหาไฟฟ้า ให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ที่นับวันสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ ที่สถิติแสดงให้เห็นว่า ชาวไทยใช้กระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ จนทุบสถิติหลายครั้ง ในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมตรีว่าการกระทรวงพลังงานของไทย กับ นายคำมะนี อินทิลาด รมว.กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ลาว ได้ร่วมกันเซ็นเอกสารบันทึกช่วยความจำเพื่อความเข้าใจ ในเรื่องนี้วันอังคาร 6 ก.ย.ที่ผ่านมา ในนครเวียงจันทน์ โดย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ที่เดินทางไปร่วมการประชุมผู้นำอาเซียน ได้ร่วมกับนายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรีลาว เป็นสักขีพยานในพิธี

การซื้อขายกระแสไฟฟ้าระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้าน เป็นความร่วมมือด้านพลังงานสองฝ่าย ที่ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลา 4 ทศวรรษ ไทยได้เซ็นความตกลงซื้อไฟฟ้าจากลาวครั้งล่าสุดเมื่อปี 2549 จาก 3,000 เกมะวัตต์ เพิ่มขึ้นเป็น 5,000 เมกะวัตต์ เป็นการซื้อกระแสไฟฟ้า ที่ผลิตจากเขื่อนใหม่หลายแห่ง

ตามตัวเลขของกระทรวงพลังงานฯ ลาว จนถึงสิ้นปี 2558 ทั่วประเทศมีเขื่อนผลิตไฟฟ้า ที่สามารถปั่นไฟได้แล้วรวม 38 เขื่อน อีกราว 20 เขื่อนอยู่ในนั้นตอนสำรวจศึกษา หรือ ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง เขื่อนอีกหลายแห่งก่อสร้างแล้วเสร็จ รวมทั้งน้ำคาน 3 ในแขวงหลวงพระบาง ได้เริ่มเก็บกักน้ำในฤดูนี้ เขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่กำลังจะเสร็จในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ยังรวมทั้งเขื่อนไซยะบูลี ที่บริษัทเอกชนไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

โรงไฟฟ้าหงสาที่ใช้ความร้อนจากถ่านหิน ขนาด 1,878 เมกะวัตต์ ได้เปิดเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าครบทั้งสามหน่วยตั้งแต่ต้นปี เป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดของลาวปัจจุบัน มูลค่าก่อสร้างกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์ โดยบริษัทบ้านปูพาวเวอร์ กับบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ถือหุ้นฝ่ายละ 40% หุ้นส่วนที่เหลือ 20% เป็นของรัฐวิสาหกิจถือหุ้น ของกระทรวงการเงิน สปป.ลาว 95% ของไฟฟ้าทื่ผลิตได้ ส่งจำหน่ายให้ไทย

รัฐบาลไทยกับรัฐบาลลาวได้เซ็นความตกลงซื้อกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าหงสา ตั้งแต่เดือน ธ.ค.2550 เพื่อให้เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าแก่ไทยในปี 2553 โดยรวมอยู่ในความตกลงซื้่อกระแสไฟฟ้า 7,000 เมะกวัตต์ ที่ลงนามกันก่อนหน้านั้น 1 ปี

ไฟฟ้าอีก 2,000 เมกะวัตต์ ที่เซ็นเอ็มโอยูครั้งล่าสุดเมื่อวันอังคารนี้ ยังรวมทั้งปริมาณที่จะผลิตจากเขื่อนไซยะบูลีขนาด 1,285 เมกะวัตต์ด้วย เขื่อนมูลค่า 3,800 ล้านดอลลาร์แห่งนี้ กำลังจะเป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในลาว และ เป็นแห่งแรกในจำนวน 11 แห่ง เป็นเขื่อนแบบฝายน้ำล้น ที่สร้างกั้นลำน้ำโขงทั้งสาย มีกำหนดส่งไฟฟ้าจำหน่ายให้แก่ไทยในอีก 3 ปีข้างหน้า
.
<br><FONT color=#00003>เป็นการเซ็นบันทึกซื้อขายไฟฟ้า ครั้งที่สองในรอบ 10 ปี ระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้าน. -- หนังสือพิมพ์ปะเทดลาว.</b>
2
<br><FONT color=#00003>เขื่อนน้ำคาน 3 แขวงหลวงพระบางเริ่มเก็บกักน้ำปีนี้. -- รัฐวิสาหากิจไฟฟ้าลาว. </b>
3
<br><FONT color=#00003>เขื่อนไซยะบูลีคืบหน้าไปไกล กำหนดเริ่มขายไฟฟ้าให้ไทยปี 2562. -- เฟซบุ๊ก/Abay Yincin. </b>
4
ตามสถิติของ กฟผ. การใช้ไฟฟ้าได้พุ่งขึ้นถึงขีดสูงสุด จนกลายเป็นสถิติใหม่ถึง 2 ครั้ง ในช่วงปลาย เดือน เม.ย.ปีนี้ ซึ่งอากาศร้อนจัดถึง 37.8 องศา

อากาศร้อนจัดต่อเนื่องและฝนทิ้งช่วง ทำให้การใช้ไฟฟ้าพุ่งขึ้นเป็น 29,403.7 เมกะวัตต์ ในวันที่ 28 เม.ย. ก่อนหน้านั้นในวันที่ 27 เพิ่มขึ้นเป็น 29,249.4 เมกะวัตต์ นับเป็นการทำ "ตัวเลขพีค" ครั้งที่ 6 และ 5 ตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา กฟผ. ออกประกาศ ขอความร่วมมือประชาชนช่วยประหยัดไฟ วันละ 1 ชั่วโมงในช่วงเวลา 14.00-15.00 น. เป็นเวลา 2 เดือน โดยเสนอวิธีการจำนวนหนึ่ง ที่ช่วยประหยัดหรือลดการใช้ไฟฟ้า

ตามสถิติล่าสุดเดือน ก.ค.2559 ปัจจุบันไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งหมด 16,376.13 เมกะวัตต์ ในนั้นเป็นไฟฟ้าที่ผลิต จากพลังน้ำเพียง 3,484.18 เมกะวัตต์ หรีอ คิดเป็น 21.27% อีก 22.26% ใช้พลังงานความร้อนเป็นหลัก และ 56.25% จากพลังงานความร้อนร่วม ซึ่งเป็นเทคโนโลยี การนำไอเสียจากไอน้ำในโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ ที่มีความร้อนสูงหลายร้อยองศาเซลเซียส ไปสร้างพลังงานให้แก่โรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ ผลิตไฟฟ้าอีกทอดหนึ่ง

ส่วนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าน้ำมันดีเซล ในปัจจุบันยังเหลือเพียง 30.40 เมะกวัตต์ หรือ 0.19% เท่านั้น และ การผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนอื่นๆ มีเพียง 4.55 เมกะวัตต์หรือ 0.03% ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา

ตัวเลขทั้งหมดได้ทำให้ไทย ยังต้องซื้อไฟฟ้าจากลาว จีน รวมทั้งมาเลเซียอย่างต่อเนื่อง.
กำลังโหลดความคิดเห็น