xs
xsm
sm
md
lg

สื่อจีนบอกกลุ่มคัดค้านเขื่อนในพม่าเป็น “พวกสุดโต่ง” ขวางความร่วมมือ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>อองซานซูจีสัมผัสมือกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เมื่อครั้งเดินทางเยือนกรุงปักกิ่ง เมื่อเดือนส.ค. สื่อจีนยกย่องซูจีที่เลือกเดินทางเยือนเป็นที่หมายแรกนอกจากประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่ขณะเดียวกัน ก็วิจารณ์ถึงการคัดค้านการสร้างเขื่อนที่จีนลงทุนในพม่า โดยระบุว่ามีกลุ่มสุดโต่งเป็นผู้ควบคุมการคัดค้านดังกล่าวซึ่งสร้างความเสียหายต่อโครงการและความร่วมมือระหว่างกัน. -- Agence France-Presse.</font></b>

รอยเตอร์ - หนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลของจีนระบุว่า การคัดค้านโครงการเขื่อนไฟฟ้าที่จีนลงทุนในพม่านั้นถูกควบคุมโดยกลุ่มสุดโต่งในประเทศ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างหนักต่อโครงการร่วมทุน

การะงับโครงการก่อสร้างเขื่อนยักษ์มิตโสน มูลค่า 3,600 ล้านดอลลาร์ ในปี 2554 โดยอดีตประธานาธิบดีเต็งเส่ง ยังคงเป็นประเด็นขุ่นเคืองระหว่างสองประเทศ โดยพม่าให้เหตุผลถึงความวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในการระงับโครงการ แต่การตัดสินใจที่เกิดขึ้นดังกล่าวถูกมองว่าเป็นความพยายามของพม่าที่จะปลีกตัวออกจากปักกิ่ง และก่อให้เกิดความไม่แน่นอนต่อแผนการลงทุนของจีนโครงการอื่นๆ อีกด้วย

แต่อองซานซูจี ได้กล่าวต่อจีนระหว่างเดินทางเยือนเมื่อเดือนก่อนว่า รัฐบาลใหม่ของพม่าตั้งใจที่จะหาทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมต่อทั้งสองประเทศ ซึ่งเวลานี้คณะกรรมการของพม่ากำลังทบทวนพิจารณาโครงการเขื่อนมิตโสน และเขื่อนไฟฟ้าที่ถูกเสนอขึ้นโครงการอื่นๆ แต่ในขณะเดียวกัน ซูจี ก็กำลังถูกกดดันจากกลุ่มประชาสังคมในประเทศที่ร้องขอไม่ให้ยินยอมต่อจีนโดยง่าย

บทความแสดงข้อคิดเห็นในหนังสือพิมพ์ Study Times ที่ควบคุมโดยโรงเรียนพรรคกลาง (Central Party School) สถานที่ฝึกสอนผู้นำดาวรุ่งของจีน ที่ตีพิมพ์ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ระบุว่า โครงการเขื่อนกำลังถูกโจมตีอย่างไร้เหตุผลอันสมควร

“ทั้งก่อน และหลังการเยือนจีนของซูจี สื่อพม่าสุดโต่งบางราย รวมถึงองค์การนอกภาครัฐที่ไม่แสวงผลกำไร และประชาชนต่างคัดค้านเขื่อนมิตโสน และโครงการขนาดใหญ่อื่นๆ บนแม่น้ำสาละวินกันอย่างหนัก และเรียกร้องให้ยุติโครงการเหล่านี้” หนังสือพิมพ์ระบุ

“สื่อพม่าบางฉบับยังกล่าวว่า การยุติเขื่อนเหล่านี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะแสดงให้้เห็นว่าพม่ากำลังก้าวออกจากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจต่อจีน แม้เป็นเรื่องยากที่จะทราบถึงตัวแทนของเสียงเหล่านี้ แต่ความคิดเห็นสุดโต่งของพวกเขากำลังครอบงำสื่อเอกชนในพม่า ซึ่งสิ่งนี้มีผลกระทบเชิงลบใหญ่หลวงต่อความเห็นประชาชน และสร้างความเสียหายอย่างหนักต่อโครงการความร่วมมือร่วมกัน” หนังสือพิมพ์ ระบุ

การหาทางแก้ไขโครงการเขื่อนมิตโสนมีความสำคัญต่อซูจี ที่ต้องการความร่วมมือจากจีนในการหารือกับกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ที่ยังเคลื่อนไหวตามแนวชายแดนติดกับจีน

หนังสือพิมพ์ Study Times ได้กล่าวยกย่องซูจี จากการยกจีนให้เป็นที่หมายแรกนอกจากประเทศในกลุ่มสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) นับตั้งแต่รัฐบาลของซูจีเข้าครองอำนาจ ระบุว่า การเยือนดังกล่าวรับรู้ได้ถึงความสัมพันธ์ที่สำคัญ และย้ำว่าจีนนั้นไม่ใช่เพื่อนที่คบหาไม่ได้

“จีนยินดีที่จะลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานในพม่าที่ชาติตะวันตกไม่เต็มใจที่จะลงทุน” สื่อจีน ระบุ.
กำลังโหลดความคิดเห็น