xs
xsm
sm
md
lg

เขมรปล่อย “เต่าพระราชา” หายากกว่า 200 ตัว ในศูนย์อนุรักษ์แห่งใหม่หวั่นสูญหายไปจากประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายที่ได้รับการเผยแพร่จากสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า เผยให้เห็นนักอนุรักษ์เตรียมปล่อยเต่าพระราชาลงน้ำภายในศูนย์อนุรักษ์ ที่จ.เกาะกง เมื่อวันที่ 13 ก.ย. -- Associated Press/Wildlife Conservation Society/Mengey Eng.</font></b>

เอพี - เต่าพระราชา สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดของกัมพูชามากกว่า 200 ตัว ถูกปล่อยลงน้ำวานนี้ (13) ที่ศูนย์อนุรักษ์และขยายพันธุ์แห่งใหม่ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการรักษาสัตว์เลื้อยคลานประจำชาติชนิดนี้ไม่ให้สูญหายไป

ศูนย์อนุรักษ์สัตว์เลื้อยคลานเกาะกง ที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศ เป็นความพยายามร่วมกันระหว่างกรมประมงของรัฐบาล และสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า ที่มีสำนักงานในนครนิวยอร์ก ซึ่งเต่าจำนวน 206 ตัว ที่ถูกปล่อยลงน้ำในศูนย์แห่งนี้ เป็นหนึ่งใน 25 สายพันธุ์เต่าบก และเต่าน้ำจืดที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดของโลก หรือที่รู้จักในชื่อเต่ากระอานใต้ แต่ที่ได้ชื่อว่าเต่าพระราชา เป็นเพราะตามประวัติศาสตร์ไข่ของเต่าชนิดนี้ใช้สำหรับถวายเฉพาะราชวงศ์ของกัมพูชาเท่านั้น

ก่อนหน้านี้ เชื่อกันว่าเต่าพระราชาได้สูญพันธุ์ไปแล้ว จนกระทั่งค้นพบประชากรเต่าจำนวนหนึ่งในปี 2543 และถูกจัดให้เป็นสัตว์เลื้อยคลานประจำชาติในปี 2548

นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา โครงการที่ร่วมมือกันระหว่างรัฐบาล และสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าได้เข้าดูแลรักษาหลุมวางไข่เต่า 39 แห่ง ที่มีไข่เต่ารวม 564 ใบ และฟักออกมาเป็นตัวทั้งหมด 382 ตัว ซึ่งลูกเต่าที่ฟักออกมาทั้งหมดนั้นได้รับการเลี้ยงดูภายในพื้นที่ดูแลเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

“เนื่องจากมีเต่าพระราชาเหลืออยู่ตามธรรมชาติจำนวนไม่มาก และเต็มไปด้วยภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของเต่า สัตว์เลื้อยคลานประจำชาติของกัมพูชากำลังเผชิญต่อความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์ แต่ด้วยการคุ้มครองแหล่งวางไข่ และดูแลการฟักไข่ เรากำลังเพิ่มโอกาสของการอยู่รอดให้แก่สัตว์สายพันธุ์สำคัญของกัมพูชาชนิดนี้” อุ๊ก วิบูล ผู้อำนวยการกรมประมง กล่าว

โฆษกของสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า ระบุว่า ศูนย์อนุรักษ์และขยายพันธุ์ที่เกาะกง มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ 5 บ่อ ที่มีหญ้า และตลิ่งให้เต่าได้วางไข่

“เราหวังให้มีสัตว์สายพันธุ์สัตว์อื่นๆ เช่น จระเข้สยามที่ศูนย์แห่งนี้ และอาจพัฒนาศูนย์ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อสร้างรายได้ที่จะนำไปใช้ในการอนุรักษ์เต่าในศูนย์” ผู้อำนวยการสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าประจำกัมพูชา ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง.
.

.
กำลังโหลดความคิดเห็น