xs
xsm
sm
md
lg

พม่าเอาจริงห้ามตัดไม้เทือกเขาพะโคนาน 10 ปี ไม่ออกใบอนุญาตเอกชนตัดไม้เพิ่ม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>พม่าเป็นประเทศที่อุดมด้วยทรัพยากรป่าไม้ และเป็นผู้ส่งออกไม้สักรายใหญ่ แต่ด้วยอัตราผืนป่าของพม่าที่ลดลงเรื่อยๆ ในแต่ละปี เนื่องจากการตัดไม้มากเกินไป การปลูกป่าทดแทนน้อย และการลักลอบตัดไม้ ทำให้ทางการต้องออกมาตรการเพื่อรักษาคุ้มครองป่า เช่นในเขตพะโค ภาคกลางของประเทศ ทางการได้ประกาศระงับการตัดไม้ตามแนวเทือกเขาพะโค เนื่องจากเหลือพื้นที่ป่าอยู่ราว 26% เท่านั้น. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

ซินหวา - ทางการพม่าเพิ่มมาตรการในการปราบปรามการลักลอบตัดไม้ และลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายในเขตพะโค รวมทั้งสิ้น 300 คน นับตั้งแต่รัฐบาลใหม่ของอองซานซูจี เข้าบริหารประเทศในเดือน เม.ย.

นับตั้งแต่เดือน เม.ย. ทางการสามารถจับยึดไม้ที่ถูกลอบตัดอย่างผิดกฎหมายได้มากกว่า 1,800 ตัน ในเขตพะโค ตามการเปิดเผยของสำนักงานป่าไม้ท้องถิ่น ขณะเดียวกัน ก็สามารถยึดรถที่ใช้ในการขนไม้ได้ 128 คัน ซึ่งมากกว่าปีก่อนถึง 2 เท่า

ไม้ที่ยึดได้ ประกอบด้วย ไม้สักมากกว่า 700 ตัน ไม้เนื้อแข้ง 500 ตัน และไม้พันธุ์อื่นๆ อีก 600 ตัน

ในเดือน ก.ค. เจ้าหน้าที่ป่าไม้พม่าได้ประกาศระงับการตัดไม้ตามแนวเทือกเขาพะโค ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งสำนักงานป่าไม้ ระบุว่า ในปี 2558 เทือกเขาพะโคมีพื้นที่ป่าเหลืออยู่ราว 26% หรือ 22.5 ล้านไร่

เจ้าหน้าที่ระบุว่า ความพยายามในการอนุรักษ์ป่าเกิดขึ้นพร้อมกับการออกมาตรการห้ามการตัดไม้อย่างไม่เป็นทางการ และใบอนุญาตตัดไม้สำหรับบริษัทเอกชนก็จะไม่มีการอนุมัติให้อีก

ก่อนหน้านี้ ทางการพม่าได้ประกาศจะหยุดผลิตไม้สัก และลดการตัดไม้เนื้อแข็งในปีนี้ เนื่องจากปัญหาการตัดไม้ทำลายป่ารุนแรง ที่ทำให้จำนวนต้นสักในพม่าลดลงเรื่อยๆ ขณะที่อัตราพื้นที่ป่าในประเทศลดลงเหลือ 45% ในปี 2558 จากมากกว่า 57% ในปี 2533 ตามข้อมูลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

กระทรวงกำลังวางแผนที่จะปลูกต้นสักเพิ่มขึ้นใหม่ในเทือกเขาพะโค เพื่อปกป้องคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ และรัฐบาลได้จำกัดการส่งออกไม้ซุงตั้งแต่ปี 2557 เพื่อสนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ที่เพิ่มมูลค่าแทน.
กำลังโหลดความคิดเห็น