xs
xsm
sm
md
lg

ติดเขี้ยวเพียบ.. ดูใกล้ๆ ฮ.ลายพรางราชนาวีไทย 3 ลำสุดท้ายในเยอรมนีส่งมอบ ก.ย.นี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online



ไม่ได้มีให้เห็นบ่อยๆ.. แอร์บัสเฮลิคอปเตอร์ส ได้จำลองติดตั้งระบบอาวุธบน ฮ.ลายพราง หนึ่งในสามลำ ล็อตสุดท้ายสำหรับราชนาวีไทย แสดงขีดความสามารถอีกด้านหนึ่ง นอกเหนือจากเพื่อภารกิจการขนส่ง เมื่อเปลี่ยนไปใช้เป็น ฮ.โจมตีเบา H145M ติดอาวุธได้หลายชนิด ภาพบนเป็น "กันพ็อด" HMP400 ปืนกลหนักขนาด 0.50 ติดบนคานอเนกประสงค์ (Multi-Purpose Pylons) ข้างขวา บนประตูเป็นปืนกล M134 "มินิกัน" 7.62 มม. 6 ลำกล้อง ใต้ห้องนักบินเป็นอุปกรณ์เซ็นเซอร์อินฟราเรด MX15 -- ภาพล่างแสดงให้เห็นระบบจรวด 70 มม. ไม่นำวิถีติดบนคานอเนกประสงค์ แอร์บัสฯ กล่าวว่า วันข้างหน้าดัดแปลงติดจรวดนำวิถี แบบเฮลไฟร์ (Hellfire) และ สไปก์ (Spike) ได้เช่นกัน ที่ประตูมีจุดติดตั้งปืนกลได้หลายรุ่น รวมทั้ง FN MAG58 7.62 มม. ที่หน่วยคอมมานโด กองทัพบกเยอรมนีใช้ H145M ของไทยติดระบบอาวุธเหล่านี้ได้ทั้งหมด รวมทั้งปืนกลหนัก GAU-21 ขนาด 0.50 ที่ใช้บน UH-1Y "ฮิวอี้" (Huey) ในปัจจุบันด้วย.


MGRออนไลน์ -- บริษัทแอร์บัสเฮลิคอปเตอร์ส ได้เผยแพร่ภาพ H145M ล็อตสุดท้ายสำหรับราชนาวีไทย ในโอกาสบินสาธิตที่โรงงานผลิต เมืองโดเนาเวิร์ต (Donauworth) แคว้นบาวาเรีย ของเยอรมนี พร้อมจัดแนะนำต่อผู้แทนสื่อกลาโหมชั้นนำหลายสำนัก ซึ่งในเวลาต่อมาบางแห่ง ได้เผยแพร่ภาพถ่าย ฮ.ลายพรางลำหนึ่ง ติดตั้งดัมมี่ (Dummy) อาวุธหลายชนิดให้เห็น แต่ไม่ได้รายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับกิจกรรม ที่จัดขึ้นเมื่อวันอังคาร 21 มิ.ย.

ภาพจากแอร์บัสเฮลิคอปเตอร์ส (Airbus Helicopters) แสดงให้เห็น H145M ลำหนึ่งขึ้นบินสาธิตต่อหน้าผู้แทนสื่อ กับแขกรับเชิญเป็นจำนวนมาก อีกหนึ่งลำจอดอยู่ภายในอาคาร กับอีกหนึ่งลำที่เผยแพร่ทางทวิตเตอร์ สำนักข่าวกลาโหมแห่งหนึ่ง ซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นลำที่ 5 จอดอยู่ภายในโรงงาน ติดตั้งหุ่นจำลองอาวุธกับอุปกรณ์ทันสมัย ให้ได้ชมหลายรายการ

อีกสำนักหนึ่งได้เสนอให้เห็นภาพภายในโรงงาน เป็นภาพขณะประกอบอากาศปีหมุน 2 ลำ ที่รวมอยู่ในสามลำสุดท้าย ในนั้น 2 ลำมีกำหนดส่งมอบให้แก่ไทยในเดือน ก.ย. และ ลำสุดท้ายปลายปีนี้

เฮลิคอปเตอร์ที่ติดระบบเอวิโอนิกส์ทันสมัยรุ่นใหม่ล่าสุด 2 ลำที่นำออกแสดงในภาพ เป็นล็อตที่สอง ที่แอร์บัสฯ เผยแพร่ข่าวก่อนหน้านี้ว่า ได้มีการเซ็นรับมอบทางเทคนิคกับราชนาวีไทย ในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเดือนเดียวกันกับที่

สามลำล่าสุดนี้ ทำสีลายพรางแนววู้ดแลนด์คาโม (Woodland Camouflage) แบบเดียวกับ ฮ.อเนกประสงค์ 2 ลำแรก และ ข้อมูลของแอร์บัส ระบุว่า H145M ของไทยทุกลำ ได้ติดตั้งโครงสร้างที่จำเป็นต่างๆ ไว้ครบครัน เพื่อประโยชน์ในการอัปเกรต หรือ ดัดแปลงไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นในอนาคต นอกเหนือจากการขนส่ง และ ชวยค้นหากู้ภัย อันเป็นจุดประสงค์หลักของการจัดหาสำหรับล็อตนี้
.

.
ไม่มีคำอธิบายว่าเหตุใด ฮ.ลายพรางหนึ่งในสามลำ จึงติดตั้งหุ่นจำลองระบบอาวุธ และ อุปกรณ์เทคโนโลยีสูง เช่น "กระเปาะ" ระบบเซ็นเซอร์ (Censor Pod) อินฟราเรด ล้ำหน้ามากที่สุดรุ่นหนึ่ง สำหรับอากาศยานที่บินในระดับต่ำและระดับปานกลาง ผลิตโดยบริษัท L-3 WESCAM แห่งสหรัฐ อันเป็นรุ่นเดียวกันกับที่ติดตั้งใน H145M กองทัพบกเยอรมนีด้วย

ตามข้อมูลของแอร์บัสฯ ก่อนหน้านี้ ราชนาวีไทยจัดหา H145M ทั้ง 5 ลำ โดยทำคอนฟิกูเรชั่นเป็น ฮ.อเนกประสงค์เพื่อภารกิจขนส่งเป็นหลัก ซึ่งไม่มีการติดระบบอาวุธใดจากโรงงาน จึงทำให้เข้าใจกันว่า หุ่นจำลองที่ติดตั้งบน ฮ.ลายพรางของราชนาวีไทย ในภาพเมื่อวันอังคาร 21 มิ.ย.นี้ จะเป็นการสาธิตขีดความสามารถอีกด้านหนึ่งของ ปีกหมุนรุ่นนี้ คือ การทำเป็น ฮ.โจมตีขนาดเบา
.

3

4

5

6
นี่คือชั่นเพื่อการทหาร ของ ฮ.ขนส่งขนาดเบา ซึ่งเมื่อก่อนรู้จักกันในชื่อ EC645 ปีกหมุนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอีกรุ่นหนึ่ง ของค่ายยูโรคอปเตอร์ (Eurocopter) ก่อนที่จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มแอร์บัส

ราชนาวีไทยเป็นลูกค้ารายแรก สำหรับ H145M เวอร์ชั่นส่งออก ซึ่งแตกต่างไปจาก EC145T2 ที่ผลิตออกมาใช้สำหรับฝ่ายพลเรือน และ ยังเป็นรุ่นทันสมัยที่สุด ใหม่ล่าสุด ของ ฮ.ขนาดเบาสองเครื่องยนต์ ในซีรีส์เดียวกัน

เดือน ธ.ค.2558 แอร์บัสเฮลิคอปเตอร์ส ส่งมอบ H145M ที่ผลิตจากโรงงานบาวาเรียแห่งเดียวกันนี้ จำนวนสองลำ ให้แก่กองทัพบกเยอรมนี ซึ่งเป็นสองลำแรกจากทั้งหมด 15 ลำ ที่จัดหาในคราวเดียว และ ทั้งหมดทำคอนฟิกูเรชั่นพิเศษ สำหรับใช้ในหน่วยคอมมานโด KSK (Kommando Spezialkräfte) ซึ่งได้กลายเป็นลูกค้ารายแรกในประเทศ

ตามข้อมูลในเว็บไซต์ MilitaryTechnology ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีกลาโหม H145M เป็น ฮ.อเนกประสงค์อย่างแท้จริง สามารถดัดแปลงได้ในเวลาอันรวดเร็ว ระหว่างเวอร์ชั่นสำหรับพลเรือนและฝ่ายทหาร รวมทั้งเวอร์ชั่นทหารเอง เมื่อต้องการเปลี่ยนภารกิจ

H145M ควบคุมเกือบจะทุกส่วนด้วยระบบคอมพิวเตอร์สมัย ระบบดิสเพลย์ต่างๆ เป็นดิจิตอล ใช้ออโตไพล็อตชนิด 4 แกน เพื่อช่วยลดภาระของนักบิน เมื่อต้องบินระยะไกล ฯลฯ นักบินยังสามารถใช้หมวกดิสเพลย์ "สกอร์เปียน" (SCORPION) ซึ่งก็คือ "หมวก HHMD" (Helmet Mounted Display) ที่ผลิตโดยกลุ่มบริษัททาเลส (Thales) โดยติดตั้งเข้ากับ ระบบดิจิตอลดิสเพลย์ในห้องนักบิน เพื่อช่วยให้มองเห็นระบบควบคุมทั้งหมด ได้ง่าย สะดวกและชัดเจน
.

<br><FONT color=#00003>เป็นเพียง ปืนกลไม้ เพื่อแสดงจุดติดตั้งอาวุธหนัก ที่ประตูด้านซ้าย รวมทั้งปืนกล MAG58 7.62x51 มม. จนถึง GAU-21 0.50 ที่นิยมใช้บน ฮิวอี้ ด้วย. </b>
7
<br><FONT color=#00003>กระเปาะ ระบบเซ็นเซอร์ MX15 ตรวจจับเป้าหมายเบื้องล่าง ใช้สารพัดประโยชน์ บน V-22 ออสปรีย์ (Osprey) ของนาวิกโยธินสหรัฐ ก็ติดตั้งซีรีส์เดียวกันนี้ แต่ขนาดใหญ่กว่า ครอบคลุมได้ไกลกว่า. </b>
8
<br><FONT color=#00003>ด้านหลังห้องโดยสารมีประตูปิดมิดชิด สามารถถอดบานนี้ออกได้ เพื่อใช้จุดนี้ติดตั้งปืนกลอีก 1 ระบบ สำหรับ คุม ทางด้านหลัง. </b>
9

10
ทวิตเตอร์ของผู้ติดตามรายหนึ่ง ได้แสดงภาพให้เห็น H145M ของเยอรมนีติดตั้ง "กระเปาะ" อินฟราเรด MX-15 ที่ผลิตโดยกลุ่มเทคโนโลยีระบบเซ็นเซอร์ ที่มีชื่อเสียงในสหรัฐ เป็นรุ่นเดียวกับ หุ้นจำลองที่ติดตั้งไว้ส่วนหน้า ใต้ห้องนักบินของ H145M ราชนาวีไทยเมื่อวันอังคารนี้

MX-15 เป็นเสมือนตาวิเศษ ที่ทำให้นักบินมองเห็นเป้าหมายที่ต้องการ ได้อย่างชัดเจนในเบื้องล่าง ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ในทุกสภาพภูมิอากาศ สามารถตอบสนองได้ในหลากหลายภารกิจ

เมื่อต้องการ "รีคอนฟิกูเรต" (Re-configurate) หรือ จัดเปลี่ยนให้เป็น ฮ.โจมตีขนาดเบา H145M สามารถติดตั้งระบบอาวุธได้หลายชนิด เช่น "กันพ็อด" ปืนกลหนักแบบ HMP400 0.50 (Heavy Machine Gun Pod) โดยบริษัท FN Herstal แบบเดียวกับที่หน่วยคอมมานโดกองทัพบกเยอรมนีเลือกใช้ หรือ จะติดตั้ง "กันพ็อด" สำหรับปืนใหญ่อากาศ 20 มม.ของค่ายเน็กซ์เตอร์ (Nexter) แห่งฝรั่งเศส และ ยังติดตั้งจรวดชุดโจมตีแบบไม่นำวิถี ขนาด 70 มม.มาตฐานนาโต้
.


.


.

H145M ยังติดระบบปืนกลได้อีกหลายชนิด รวมทั้ง MAG58 ขนาด 7.62 มม.ผลิตโดย FN แห่งเบลเยียม และ M134 "มินิกัน" (MiniGun) ปืนกล 7.62x51 มม. 6 ลำกล้อง ชนิดหมุนรอบตัว แบบแก็ตลิง (Gatling Gun) ผลิตโดยบริษัทดิลลอนเอโร (DillonAero) ซึ่งผลิตออกมาเป็นพ็อด บรรจุกระสุนสำเร็จมาพร้อม ปฏิบัติการได้โดยไม่ต้องใช่ระบบอื่นใดสนับสนุนอีก

H145M ของราชนาวีไทยทั้ง 5 ลำ สามารถติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ และ ระบบอาวุธต่างๆ เหล่านี้ได้ทั้งหมดเมื่อต้องการ.
กำลังโหลดความคิดเห็น