xs
xsm
sm
md
lg

พม่ายุติการบูรณะสถูปพระเจ้าอุทุมพร สำรวจอีกครั้งหาหลักฐานยืนยันอีกรอบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>การฟื้นฟูบูรณะสถูปเก่าแก่ภายในสุสานแห่งนี้ ติดๆ ดับๆ ติดต่อกันมาหลายปี ในความพยายามของสองฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายไทยเองที่มีความพร้อมมากที่สุด ถึงแม้ว่าผู้เชี่ยวชาญของทั้งไทยและพม่า ต่างก็ยังมีความเห็นขัดแย้ง เกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้ อยู่ในหลายประเด็นก็ตาม. -- โกลบอลนิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์. </b>

MGRออนไลน์ - ทางการเขตมัณฑะเลย์ ได้สั่งให้ยุติการบูรณปฏิสังขรณ์สถูปเก่าแก่แห่งหนึ่งภายในบริเวณสุสานเก่าอายุหลายร้อยปี ในย่านรอบนอกนครมัณฑะเลย์ ที่เชื่อกันว่า เป็นที่ฝังพระศพพระเจ้าอุทุมพร แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อกว่า 200 ปีก่อน หลังจากมีเสียงทักท้วงจากผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งหนึ่ง ว่า ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอที่จะระบุเช่นนั้น

สถูปกับสุสานดังกล่าวอยู่บนเนินลินซิน (Linzin) ในเขตเมืองเก่าอมราปุระ (Amarapura) ซึ่งปัจจุบันถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนครมัณฑะเลย์ เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของพม่า ถัดจากนครย่างกุ้ง

“กำลังจะมีการหยุดงานปฏิสังขรณ์ลงชั่วคราว และตั้งทีมงานขึ้นมาเพื่อดูให้แน่ว่าเป็นสุสานของพระเจ้าอุทุมพร (King Udambara) แห่งกรุงสยาม ที่สร้างขึ้นเมื่อกว่า 230 ปีก่อน จริงหรือไม่” หนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งเป็นสื่อกึ่งทางการรายงานในสัปดาห์นี้ อ้างนายเยโมน (Ye Mon) แห่งคณะกรรมการพัฒนานครมัณฑะเลย์

เมื่อมีผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่งลงความเห็นว่า ที่นั่นไม่ใช่ที่ฝังพระศพ พระเจ้าแผ่นดินจากกรุงสยาม และเมื่อมีการศึกษาเรื่องนี้อย่างถ้วนถี่แล้วก็จะต้องทำรายงานถึงคณะบริหารแห่งเขตมัณฑะเลย์ โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมา รายงานโดยไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับความเห็นขัดแย้งครั้งใหม่ แต่ได้แสดงให้เห็นความไม่แน่นอนของโครงการฟื้นฟูบูรณะแหล่งโบราณคดีดังกล่าว ที่เป็นสิ่งหนึ่งในใจกลางการปรับความสัมพันธ์ไทย-พม่า ในยุคใหม่
.

.
“การประเมินเกี่ยวกับที่ฝังพระศพจะดำเนินไปบน 3 ประเด็นพื้นฐานด้วยกัน รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสืบหาข้อเท็จจริง และการประเมินว่า งานบูรณปฏิสังขรณ์ดังกล่าวสอดคล้องต่อกฎ และระเบียบหรือไม่ และควรจะดำเนินการเพื่อให้เป็นอีกเวทีหนึ่งในการปรับปรุงความสัมพันธ์ไทย-พม่า ต่อไปหรือไม่” หนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันอ้างเจ้าหน้าที่เขตมัณฑะเลย์

“เรากลับมาปฏิสังขรณ์แหล่งนี้อีกครั้งหลังได้รับการร้องขอจากสิตากูซายาดอ (Situ Sayadaw / ประมุขแห่งพระสงฆ์) ว่า ให้เราดำเนินการเรื่องนี้ เพื่อแสดงมิตรไมตรีในความสัมพันธ์ทวิภาคี ระหว่างสองประเทศ..” นายวินมอง หนึ่งในบรรดาคณะทำงานกล่าว

การบูรณปฏิสังขรณ์สถูปพระเจ้าอุทุมพร ดำเนินมาเป็นเวลาหลายปีครั้งนี้ และเกิดการติดขัดมาหลายครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความไม่ลงรอยในความคิดเห็นของบรรดานักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ ครั้งนี้นับเป็นการชะงักงันอีกครั้งหนึ่งในความพยายามของหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายไทย แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญไทยเองจะยังมีความเห็นต่างกันเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ก็ตาม.
กำลังโหลดความคิดเห็น