เกนส์วิลล์ (รอยเตอร์) -- กิ้งก่าตัวหนึ่งที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ถูกรักษาไว้อย่างดีในอำพัน มีอายุเก่าแก่ถึง 99 ล้านปี นักวิทยาศาตร์ในฟลอริดาได้ศึกษา และ ยกให้เป็นซากสัตว์เก่าแก่ที่สุดในชนิดเดียวกัน และ ยังเป็น "รอยต่อที่ขาดหายไป" สำหรับนักศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสัตว์เลื้อยคลาน
กิ้งก่าตัวนี้อายุมากกว่าตัวอายุมากที่สุดก่อนหน้านี้ ถึง 75 ล้านปี นักวิทยาศาสตร์แห่งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ฟลอริดา ประกาศผลการค้นพบในสัปดาห์นี้
"มันช่างน่าตื่นเต้นอย่างน่าทึ่งที่ได้เห็นสัตว์เหล่านี้เป็นครั้งแรก" เอ็ดเวิร์ด สแตนลีย์ สมาชิกทีมวิจัยคนหนึ่งกล่าวเมื่อวันเสาร์
"มันช่างน่าตื่นเต้นและทำให้ตื่นตะลึงทีเดียว ที่ได้เห็นพวกนั้นถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี"
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สัตว์ที่ดูคล้ายกิ้งก่านี้ ตอนที่ถูกติดยึดกับยางเหนียวอำพันนั้นยังเป็นตัวอ่อน ในขณะโลดแล่นไปในป่าเขตร้อนที่ปัจจุบันเป็นประเทศพม่า ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งตัวรวมทั้งนัยน์ตาและลายตามลำตัว ถูกรักษาเอาไว้อย่างดี นายสแตนลีย์กล่าว
สัตว์เลื้อยคลานอื่นๆ ที่ติดอยู่ในอำพัน ซึ่งรวมทั้งตุ๊กแก 1 ตัว กับกิ้งก่าอาร์คติคอีก 1 ตัว ทั้งหมดยังมีสภาพโดยรวมค่อนข้างดี สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กทั่วไป มีลำตัวที่ละเอียดอ่อน และมักจะเสื่อมสลายไปรวดเร็ว เมื่อถูกหุ้มไว้ในอำพัน ได้ช่วยให้ส่วนต่างๆ ติดยึดอยู่ด้วยกัน สแตนีลย์กล่าว
นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยคนอื่นๆ ได้ใช้เทคโนโลยีเอ็กซ์เรย์ดิจิตอลที่มีความชัดเจนสูง ตรวจซากของสัตว์ เหล่านี้ และ ประมาณอายุของอำพัน โดยไม่ได้ทำให้แตกออกจากกัน
การค้นพบครั้งนี้จะช่วยให้บรรดานักวิจัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ "สภาพนิเวศที่สูญหายไปในโลกที่สาปสูญ" ที่สัตว์พวกนี้อาศัยอยู่ นอกจากนั้นยังอาจจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับเครือญาติพวกมัน ในโลกปัจจุบันอีกด้วย นายสแตนลีย์กล่าว
"มันเป็นรอยต่อที่สูญหายอีกอย่างหนึ่ง" นายสแตนลีย์กล่าว.