xs
xsm
sm
md
lg

พม่าไฟเขียวแบงก์ต่างชาติอีก 4 ธนาคารเวียดนามอินเดียทยอยเข้า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพี เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่หน้าสาขาของธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (BTMU) หลังเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2558 โดยเป็นธนาคารต่างชาติรายแรกที่เข้าดำเนินกิจการในพม่า นับตั้งแต่พม่าเริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศหลังหลุดพ้นจากการปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารในปี 2554. -- Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>

เอเอฟพี - ธนาคารต่างชาติอีก 4 ราย ได้รับอนุมัติเบื้องต้นในการเข้าดำเนินกิจการในพม่า สื่อทางการพม่ารายงานวันนี้ (6) ในความพยายามล่าสุดของรัฐบาลที่จะดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเข้าสู่ประเทศ

ระบบธนาคารของพม่าปิดตัวจากการแข่งขันภายนอกมานานหลายทศวรรษภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหาร ทำให้ประเทศแบกรับภาระจากโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพ และประชาชนไม่ไว้วางใจในระบบธนาคารของประเทศ

แต่ระบบธนาคารเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปนับตั้งแต่การปกครองของทหารเปิดทางให้แก่รัฐบาลนักปฏิรูปในปี 2554 ที่ปูทางมาสู่การเลือกตั้งครั้งสำคัญในเดือน พ.ย.

ธนาคารใหม่ 4 แห่งที่ได้รับอนุมัติเบื้องต้น คือ ธนาคารเพื่อการลงทุนและการพัฒนาของเวียดนาม ธนาคารอี ซัน คอมเมอเชียล ของไต้หวัน ธนาคารชินฮัน ของเกาหลีใต้ และธนาคารแห่งอินเดีย ตามการรายงานของโกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมาร์ที่อ้างคำกล่าวของธนาคารกลางพม่า

พม่าได้อนุมัติการดำเนินการธนาคารในประเทศให้แก่ธนาคารต่างชาติแล้วทั้งหมด 13 ราย โดยส่วนใหญ่ยังอยู่ในกระบวนการด้านกฎระเบียบก่อนเปิดสาขา แต่บางรายได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว

ในเดือน เม.ย.2558 ธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (BTMU) ของญี่ปุ่น กลายเป็นธนาคารต่างชาติรายแรกในรอบหลายทศวรรษที่เปิดสาขาภายในประเทศพม่า

ผู้ปกครองทหารเผด็จการพม่าได้เข้าควบคุมธนาคารทุกแห่งเมื่อเข้ายึดอำนาจในปี 2505 ส่งผลให้เศรษฐกิจตกลงอย่างหนักเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ

ชาวพม่ายังคงลังเลที่จะยอมรับระบบธนาคารของประเทศ และการทำธุรกรรมหลายอย่างยังอยู่ในรูปเงินสดเท่านั้น

ทางการพม่าได้ดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจ และการเมืองในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาที่ทำให้ชาติตะวันตกยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร และเปิดประเทศสู่กระแสการลงทุนต่างชาติ

ทั้งรัฐบาลที่กำลังจะหมดวาระ และพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของอองซานซูจี ที่กำลังเข้ารับหน้าที่ ต่างให้คำมั่นว่า จะเพิ่มทุนเข้าสู่กิจการท้องถิ่น และกระตุ้นการลงทุน

ธนาคารโลกได้กล่าวว่า การเข้าถึงเงินทุนยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการทำธุรกิจในพม่า.
กำลังโหลดความคิดเห็น