xs
xsm
sm
md
lg

หนุ่มสาวพม่าเริ่มฟื้นฟูรอยสัก อนุรักษ์ลายเดิม เสริมลายใหม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ช่างสักชาวพม่ากำลังลงหมึกที่หลังของชายคนหนึ่งในงานเวิร์กชอปการสักที่จัดเป็นครั้งแรกในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 23 ม.ค. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

เอเอฟพี - การหลุดพ้นจากการโดดเดี่ยวประเทศใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารนานหลายทศวรรษของพม่า ทำให้ได้เห็นสินค้าต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศอย่างมากมายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และยังทำให้แฟชั่นโบราณ เช่น รอยสัก ได้ฟื้นตัวกลับมาอีกครั้งด้วย

ด้วยการเปิดประเทศ และการยกเลิกกฎหมายเซ็นเซอร์เว็บไซต์ คนหนุ่มสาวในพม่ากำลังเปิดรับเทรนด์ต่างชาติ และยังเป็นแหล่งของวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากที่มีในสังคม

“รอยสักรูปแบบดั้งเดิมของเราสูญหายไป เรากำลังฟื้นฟูรอยสักแบบพม่าให้กลับคืนมา” ตุ๊ต พี อายุ 37 ปี ช่างสักมืออาชีพจากเมืองมัณฑะเลย์ กล่าว

ประวัติศาสตร์อันยาวนานของน้ำหมึกบนร่างกายในพม่า ที่กลุ่มชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากมายมหาศาลของประเทศ ถือว่าการสักนั้นเป็นดั่งเครื่องคุ้มครองทางจิตวิญญาณ สัญลักษ์ของสถานะทางสังคม และเป็นยาป้องกันโรค

แต่การสักแบบดั้งเดิมได้ถูกปราบปรามลงภายใต้การปกครองของอาณานิคมอังกฤษ และกลายเป็นสิ่งต้องห้ามภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารอย่างต่อเนื่องถึง 50 ปี

ในตอนนี้ช่างสักกำลังฟื้นฟูรูปแบบ และลวดลายรอยสักดั้งเดิมด้วยการใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยที่ปลอดภัยกว่าการใช้อุปกรณ์แบบเก่า

“สิ่งที่แตกต่างออกไปในวันนี้คือ คนหนุ่มสาวกำลังเลือกแบบที่เป็นตัวของตัวเอง พวกเขากำลังเลือกรอยสักที่มีความหมาย ไอเดียของพวกเขาดีขึ้นเรื่อยๆ” หม่อง ที อายุ 25 ปี ช่างสักที่เข้าร่วมวงการสักเมื่อ 6 ปีก่อน กล่าว

แม้ว่ารอยสักยังคงได้รับความนิยมในหมู่ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่ ยาดานา ตุน เพียว หญิงสาวอายุ 20 ที่ออกแบบลายสักรูปนกในความเชื่อของชาวพม่าในรูปแบบของตัวเอง และมีรอยสักที่ขา กล่าวว่า หลายอย่างกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป

“หลายคนคิดว่าการมีรอยสักทำให้คุณดูสวยงามมากขึ้น” ตุน เพียว กล่าว.
.
<br><FONT color=#000033>Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
.
กำลังโหลดความคิดเห็น