xs
xsm
sm
md
lg

เบียร์ท้องถิ่นพม่าเร่งปรับโฉมหลังคู่แข่งต่างชาติร่วมชิงส่วนแบ่งตลาด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>พนักงานเสิร์ฟยกทาวเวอร์ เมียนมาร์เบียร์ มาให้ลูกค้าในร้านอาหารแห่งหนึ่งบนถนนสาย 19 ที่รู้จักกันในชื่อย่างกุ้งเบียร์สตรีท ในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. บริษัท MBL ผู้ผลิตเมียนมาร์เบียร์ เบียร์ยอดนิยมเก่าแก่ของประเทศกำลังเผชิญกับการแข่งขันจากยักษ์ใหญ่ระดับโลก ทำให้บริษัทต้องเร่งพัฒนาและกระตุ้นยอดขายเพื่อครองส่วนแบ่งตลาดผู้บริโภคที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>

รอยเตอร์ - บรรดานักดื่มที่ซื้อหาเบียร์จากบาร์ริมถนนต่างต้องเผชิญต่อตัวเลือกที่มีอยู่อย่างจำกัด และมักจะสั่งแต่เมียนมาร์เบียร์ ที่เป็นยี่ห้อเบียร์ยอดนิยมของท้องถิ่น หรือบางครั้งอาจดื่มพร้อมกับวิสกี้สักช็อตเพื่อเพิ่มรสชาติให้แก่เบียร์ท้องถิ่นรสเบา

แต่ทุกวันนี้ชาวพม่ามีตัวเลือกหลากหลายขึ้น นั่นเป็นเพราะการมาถึงของคาร์ลสเบอร์กจากเดนมาร์ก และไฮเนเก้น คู่แข่งจากฮอลแลนด์ ที่เริ่มสายการผลิตในพม่าปีนี้ เมื่อประเทศปฏิรูปเศรษฐกิจคลายการปิดกั้นตลาดที่ถูกควบคุมภายใต้การปกครองของทหารมายาวนาน

ในตอนนี้ บริษัท Myanmar Brewery Limited (MLB) ที่มีความเชื่อมโยงกับกองทัพ ผู้ผลิตเมียนมาร์เบียร์ (Myanmar Beer) เบียร์ท้องถิ่นที่ได้รับความนิยมมายาวนาน ต้องเผชิญต่อการแข่งขันจากผู้ผลิตเบียร์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกในตลาดผู้บริโภคที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ที่ตั้งเป้าจะยกระดับการบริโภคเบียร์จากกลุ่มประเทศที่มีอัตราการบริโภคต่ำที่สุดของเอเชีย

เพียงไม่กี่เดือนหลังเปิดดำเนินการ ไฮเนเก้น ทำได้ดีตามแผนของบริษัทที่จะขยายการผลิตขึ้น 2 เท่า ที่โรงงานย่างกุ้งเป็น 50 ล้านลิตร จาก 25 ล้านลิตร ตามการเปิดเผยของผู้อำนวยการจัดการบริษัท APB Alliance Brewery ที่ผลิตเบียร์ไฮเนเก้น โดยบริษัทได้เร่งแผนการขยายการผลิตที่คาดว่าจะดำเนินการได้ในอีก 3-4 ปีจากนี้

“ปริมาณการผลิตของไฮเนเก้นพุ่งทะลุเป้าไปแล้ว มันทำให้พวกเราทุกคนประหลาดใจมาก” เลสเตอร์ แทน ผู้อำนวยการจัดการบริษัท APB Alliance Brewery กล่าว

ส่วนเบียร์ที่มีราคาย่อมเยาลงมาของไฮเนเก้นภายใต้แบรนด์ Regal Seven กำลังเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดจากเมียนมาร์เบียร์อย่างช้าๆ

ถึงแม้เมียนมาร์เบียร์ยังคงครองตลาดพม่าราว 2 ใน 3 ในแง่ปริมาณ แต่บริษัทไม่ได้พึงพอใจอยู่ที่การครองตลาดเพียงเท่านี้ บริษัท MBL ได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วที่จะยกเครื่องทั้งภาพลักษณ์และผลิตภัณฑ์เพื่อที่จะดึงดูดลูกค้ารายใหม่ๆ ของพม่า

“ยังมีความท้าทายอีกมากในตลาด” ฮิโรชิ ฟูจิคาวะ ผู้ที่กลายมาเป็นผู้อำนวยการจัดการบริษัท MBL ในปีนี้ หลังบริษัท Kirin ของญี่ปุ่น เข้าถือหุ้น 55% ในมูลค่า 560 ล้านดอลลาร์จากบริษัท Fraser and Neave (F&N) ของสิงคโปร์

“หนึ่งคือ ไฮเนเก้น และคาร์ลสเบอร์กเข้ามาในตลาดแห่งนี้ปีนี้ และเปิดตัวผลิตภัณฑ์เบียร์ทั้งที่เป็นพรีเมียม และท้องถิ่น ดังนั้น สถานการณ์การแข่งขันในตลาดจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอนและจะรุนแรงมากขึ้น” ฮิโรชิ ฟูจิคาวะ กล่าว

ขณะที่ไฮเนเก้น และคาร์ลสเบอร์กกำลังสร้างโรงงานผลิตเบียร์ของพวกเขา บริษัท MBL ได้เปิดตัวขวดโฉมใหม่ในการเพิ่มความพยายามส่งเสริมการขาย และเริ่มมุ่งเป้าไปที่คนรุ่นใหม่ด้วยการเป็นผู้สนับสนุนคอนเสิร์ตดนตรีแนวฮิปฮอป และ edm ทดแทนข้อจำกัดการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศ
.
<br><FONT color=#000033>พนักงานเสิร์ฟยืนอยู่หน้าร้านเบียร์ร้านหนึ่งบนถนนสาย 19 โดยมีป้ายโฆษณาเมียนมาร์เบียร์ติดอยู่ด้านหลัง ในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>
.
การลงทุนของผู้ผลิตเบียร์ต่างชาติในบริษัท MBL ที่แม้จะอยู่ในระหว่างการถูกคว่ำบาตร ได้ช่วยรักษาบริษัทให้อยู่ในการแข่งขัน โดยการเข้าซื้อหุ้นของบริษัท Kirin มีขึ้นหลังความขัดแย้งระหว่างบริษัท F&N และ Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) กลุ่มบริษัทที่ทหารให้การสนับสนุน ที่ถือหุ้นอยู่ 45% โดยบริษัท F&N มีส่วนเกี่ยวข้องในบริษัท MBL นับตั้งแต่กลางทศวรรษ 90

และเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ในเศรษฐกิจเกิดใหม่ของพม่า หนึ่งในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในการเติบโตสำหรับผู้ผลิตคือ การหาแรงงานที่มีทักษะ

“หากเรามองที่ตัวบุคคล คนงานที่นี่ยังเต็มไปด้วยศักยภาพที่จะพัฒนาได้ดีขึ้น” ฟูจิคาวะ กล่าว และบริษัท Kirin ได้เริ่มพาพนักงานไปญี่ปุ่นเพื่อฝึกอบรม

MEHL เป็นหนึ่งใน 2 กลุ่มบริษัทใหญ่ของประเทศที่ทหารให้การสนับสนุน ที่แตกแขนงความสนใจไปในอุตสาหกรรมหลากหลาย ตั้งแต่การผลิตอัญมณี ไปถึงซูเปอร์มาร์เกต ผลกำไรของกลุ่มบริษัทช่วยเป็นทุนบำนาญ และสวัสดิการสำหรับสมาชิกกองกำลังทหาร และครอบครัวทหาร

MEHL ตกเป็นเป้าคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ที่ห้ามธุรกิจของสหรัฐฯ ดำเนินการร่วมต่อกลุ่มบริษัทนี้ และถึงแม้บริษัทของญี่ปุ่นไม่มีข้อจำกัดดังกล่าว แต่ฟูจิคาวะกล่าวว่า เขาทราบถึงความเสี่ยงที่มีต่อชื่อเสียงของบริษัท Kirin ในการทำงานกับกลุ่มบริษัทนี้

บริษัท MBL รายงานรายได้สุทธิของบริษัทที่ 51 ล้านดอลลาร์ จากยอดขาย 201 ล้านดอลลาร์ในปี 2557

บริษัทวิจัย Euromonitor International คาดการณ์ว่า ตลาดที่มีมูลค่า 375 ล้านดอลลาร์ จะเติบโตอย่างรวดเร็วขยายตัวเป็นมูลค่า 675 ล้านดอลลาร์ ในปี 2561 โดยประชากร 51 ล้านคนของประเทศมีอัตราการบริโภคเฉลี่ยที่ 3.2 ลิตรต่อคนในปี 2556 หรือ 1 ใน 10 ของปริมาณการบริโภคในไทย

ฟูจิคาวะ กล่าวว่า การได้มาซึ่งความภักดีในตราสินค้าของผู้บริโภคหนุ่มสาวที่กำลังเพิ่มจำนวนจะเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาฐานลูกค้าที่มีอยู่

“เราต้องมีนวัตกรรมใหม่ พวกเขาไม่ต้องการดื่มสิ่งที่คนรุ่นก่อนดื่ม” ฟูจิคาวะ กล่าว

บริษัท MBL วางแผนที่จะเปิดตัวเบียร์พรีเมียมตัวใหม่แข่งกับผลิตภัณฑ์จากค่ายคาร์ลสเบอร์ก และไฮเนเก้นในตลาดราคาสูง อย่างไรก็ตาม บริษัท MBL ไม่ได้เป็นรายเดียวที่ต้องรับมือต่อภัยคุกคามจากผู้ท้าทายหน้าใหม่หลังเปิดประเทศเมื่อไม่นานนี้

รัฐวิสาหกิจไปรษณีย์และโทรคมนาคมพม่า (MPT) มีข้อตกลงกับบริษัท KDDI Corp และ Sumitomo Corp จากญี่ปุ่นเมื่อปีก่อน เพื่อแข่งขันกับบริษัทโทรคมนาคมต่างชาติในภาคส่วนที่เพิ่งเปิดใหม่ โดย MPT วางแผนที่จะเริ่มขายซิมการ์ดแบบเติมเงินให้แก่นักท่องเที่ยวในราคาเพียงไม่กี่ดอลลาร์ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซิมการ์ดยังมีราคาหลายร้อยดอลลาร์และโทรศัพท์มือถือเป็นของหายาก

ด้านสายการบินของรัฐ “เมียนมารแอร์เวย์” ก็ได้ปรับเปลี่ยนรูปโฉมใหม่เป็น “เมียนมาร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์ส” เมื่อปีก่อน โดยยกระดับฝูงบิน และเพิ่มเส้นทางระหว่างประเทศ.
กำลังโหลดความคิดเห็น