xs
xsm
sm
md
lg

“ตานฉ่วย” หารือลับ “ซูจี” พร้อมหนุนเป็นผู้นำในอนาคต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>อองซานซูจี หัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยเข้าพบหารือกับพล.อ.อาวุโสตาน ฉ่วย ในกรุงเนปีดอ เมื่อวันศุกร์ (4) โดยอดีตผู้นำรัฐบาลเผด็จการทหารแสดงความเห็นว่าซูจีจะกลายเป็นผู้นำในอนาคตของประเทศและจะให้การสนับสนุนซูจีอย่างเต็มที่. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

รอยเตอร์ - พล.อ.อาวุโส ตาน ฉ่วย อดีตผู้นำรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ระบุมอง อองซานซูจี เป็นผู้นำในอนาคตของประเทศ และได้ให้คำมั่นที่จะสนับสนุนซูจี แม้ว่าเธอจะยังคงถูกห้ามจากการทำหน้าที่ในตำแหน่งประธานาธิบดีตามรัฐธรรมนูญก็ตาม ตามการเปิดเผยของ เน ฉ่วย เถว อ่อง หลานชายเมื่อวันเสาร์ (5)

ตาน ฉ่วย ที่เป็นผู้นำรัฐบาลเผด็จการทหารจนกระทั่งก้าวลงจากอำนาจในปี 2554 และผู้ที่หลายคนเชื่อว่า ยังคงมีอำนาจอยู่เบื้องหลัง ได้แสดงความเห็นสำคัญในการหารืออย่างลับๆ กับอองซานซูจี เมื่อวันศุกร์ (4)

“มันเป็นความจริงที่เธอจะกลายเป็นผู้นำในอนาคตของประเทศ ผมจะสนับสนุนเธอด้วยความพยายามทั้งหมดของผม” เน ฉ่วย เถว อ่อง โพสต์คำกล่าวของตาน ฉ่วย ในการหารือกับซูจี ซึ่งเป็นการพบกันครั้งแรกของทั้งคู่หลังการเลือกตั้งวันที่ 8 พ.ย. ลงบนเฟซบุ๊กในค่ำวันเสาร์ (5)

ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าความคิดเห็นของตาน ฉ่วย ครั้งนี้ เป็นการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะอนุญาตให้ซูจี ทำหน้าที่ประธานาธิบดีหรือไม่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลเผด็จการทหารร่างขึ้นในปี 2551 ห้ามซูจี จากการทำหน้าที่สูงสุดของประเทศ เนื่องจากบุตรชายของซูจีเป็นชาวต่างชาติ

ความพยายามของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ที่จะแก้ไขบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญถูกปฏิเสธ และการชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นเมื่อเดือนก่อนก็ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าพรรคควบคุมรัฐสภา

ตาน ฉ่วย ไม่มีบทบาทอย่างเป็นทางการ แต่หลายคนในพม่าเชื่อว่า เขายังคงมีความเกี่ยวข้องทางการเมืองอยู่เบื้องหลัง ตาน ฉ่วย ไม่ปรากฏตัวในที่สาธารณะนับตั้งแต่โอนถ่ายอำนาจในปี 2554 ให้แก่รัฐบาลกึ่งพลเรือนที่ดำเนินการโดยผู้ที่ภักดีต่อเขา

วิน เต็ง สมาชิกรัฐสภาของพรรค NLD ยืนยันว่า การพบหารือเกิดขึ้นจริง และซูจีได้พบกับ พล.อ.อาวุโส ตาน ฉ่วย เนื่องจากเธอเชื่อว่าเขายังมีอิทธิพลต่อรัฐบาล และกองทัพ

ความพ่ายแพ้ของพรรครัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยตาน ฉ่วย ในการเลือกตั้งวันที่ 8 พ.ย. ถูกตีความว่าเป็นอาณัติประชาชนต่อซูจี และเป็นคะแนนเสียงประท้วงต่อต้านอิทธิพลทางการเมืองของทหาร

ซูจี กำลังพยายามที่จะปูทางให้พรรค NLD เข้าทำหน้าที่บริหารประเทศได้อย่างราบรื่น ด้วยการสานความสัมพันธ์อันดีกับกองทัพ เนื่องจากต้องทำงานในรัฐบาลที่แบ่งอำนาจการปกครองร่วมกัน เพราะรัฐธรรมนูญสงวนตำแหน่งในการบริหารและผู้แทนสภาให้แก่กองทัพ และเมื่อวันพุธ (2) ซูจี ยังได้พบหารือกับประธานาธิบดีเต็งเส่ง และ พล.อ.มิน ออง หล่าย.
กำลังโหลดความคิดเห็น