xs
xsm
sm
md
lg

ชาวเน็ตลาวเซ็ง MA60 จีน "ตกรันเวย์" ที่วัดไต อีหรอบเดียวกับ "เมียนมาร์แอร์เวย์ส"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<FONT color=#00003>เจ้าหน้าที่บริการบนเครื่องของสายการบินลาวสกายเวย์ส ชี้ไปยังบริเวณบันไดทางขึ้นเครื่อง ที่ได้รับความเสียหาย เมื่อ MA60 หมายเลข  RDPL-34226 จากเมืองหลวงพระบาง แล่นไถลออกนอกรันเวย์ส ขณะนักบินพยายามนำเครื่องลงจอดที่สนามบินวัดไต ในเหตุการณ์บ่ายวันศุกร์ที่แล้ว เคราะห์ดีที่ไม่มีผู้ใดบาดเจ็บ หรือ ได้รับอันตราย. -- หนังสือพิมพ์ลาวพัดทะนา. </b>

MGRออนไลน์ -- เครื่องบินโดยสารแบบ MA60 ที่ผลิตในประเทศจีนลำหนึ่ง ในจำนวนสองลำ ของสายการบินลาวสกายเวย์ส (Laos Skyway) ได้แล่นไถลออกข้างรันเวย์ส ที่สนามบินวัดไตนครเวียงจันทน์ ทางการได้ทำการสืบสวนเรื่องนี่ในช่วงข้ามสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่ทราบสาเหตุ หรือ ปัจจัยที่ผิดปรกติใดๆ อันชวนสงสัยว่าจะเป็นสาเหตุ

เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นเวลาประมาณ 14.00 น. วันศุกร์ 13 พ.ย. ขณะ MA60 หมายเลข RDPL-34226 จากหลวงพระบาง ลงจอดที่สนามบินนานาชาตินครเวียงจันทน์ และ ได้เกิด "ปัญหาผิดปรกติทำให้การลงจอดสับสน" สื่อของทางการรายงานอ้างการเปิดเผยของ เจ้าหน้าที่ควบคุมการบินพลเรือน

"นักบินได้พยายามบัง (คับให้) ลง (จอด) จนสุดความสามารถ แต่ในที่สุดเครื่องบินก็ได้แล่นออกจากเส้นทาง ตกลงในทุ่งนาที่สนามบินวัดไต.." ไม่มีผู้ใดบาดเจ็บ หรือ เสียชีวิต และ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยังคงสอบสวนหาสาเหตุต่อไป หนังสือพิมพ์ลาวพัดทะนารายงาน

นับเป็นครั้งแรกที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับเครื่องบินรุ่นนี้ในลาว ซึ่งทั้งสายการบินแห่งชาติ คือ ลาวแอร์เวย์ส และ ลาวสกายเวย์ อันเป็นสายการบินในประเทศ รวมทั้งกองทัพประชาชนลาว ต่างมี MA60 ใช้ในฝูง และ ยังไม่มีความเห็นใดๆ จากทางการลาว หรือ จากสื่อของทางการ ที่โดยปรกติ มักจะไม่ออกความเห็นต่อกรณี ที่อาจจะกระทบต่อมิตรภาพระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์อันดีระหว่างลาวกับจีน

แต่เหตุการณ์นี้อยู่ในสายตาของราษฎรชาวเน็ตในลาวจำนวนหนึ่ง ที่แสดงความห่วงใยต่อมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสาร และ ผลกระทบที่อาจจะมีต่อ การประกอบกิจการของลาวสกายเวย์สที่เป็นเจ้าของ ชาวเน็ตหลายคนเขียนถึงเรื่องนี้ ผ่านโลกออนไลน์ เรียกร้องให้องค์การการบินพลเรือน กับ สายการบินทั้งสองแห่ง สอบสวนให้ถึงสาเหตุอันแท้จริงโดยเร็ว และ ทำการแก้ไข

บางคนได้ชี้ไปยังพม่า ซึ่งเป็นผู้ใช้ MA60 นอกดินแดนจีนที่อยู่ใกล้ลาวมากที่สุด โดยปัญหาคล้ายกันนี้เคยเกิดขึ้นกับ MA60 สายการบินเมียนมาร์แอร์เวย์ส (Myanmar Airways) เมื่อก่อนถึง 2 ลำ ซึ่งก็คือ Myanmar National Airlines ในปัจจุบัน และ สายการบินแห่งชาติพม่า ได้ "กราวด์" เครื่องบินที่ประสบเหตุทั้งสอง โดยไม่มีการซ่อมแซม เพื่อนำกลับไปใช้เป็นเครื่องบินโดยสารอีก ส่วนลำที่เหลืออยู่ ได้ดัดแปลงไปใช้เป็นเครื่องบินสำหรับขนส่งสินค้า

นั่นคือการเปลี่ยนแปลงหลังจากเกิดเหตุการณ์ครั้งแรก วันที่ 16 พ.ค.2556 กับเที่ยวบินจากเมืองเฮฮอ (Heho) ที่อยู่ใกล้กับเมืองตองยี (Taunggyi) ในรัฐชาน ไปยังเมืองสาด (Mong Hsat) ในรัฐเดียวกัน MA60 เที่ยวบินดังกล่าว ห้ามล้อไม่อยู่ในขณะลงจอด แล่นไถลเลยรันเวย์ออกไป มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 2 ราย แต่เครื่องบินเสียหายค่อนข้างหนัก และ ได้ข้อสรุปว่าเวลาต่อมาว่า เกิดจากปัญหา "ระบบห้ามล้อล้มเหลว"

ถัดมาอีกราว 1 เดือน วันที่ 10 มิ.ย. 2556 MA60 อีกลำหนึ่ง เที่ยวบินจากเมืองมะละแหม่ง (Mawlamyine/เมาะลำไย) พร้อมผู้โดยสารทั้งหมด 60 คน กับลูกเรืออีก 4 ก็ประสบเหตุคล้ายกันกับกรณีล่าสุดในลาว คือ เครื่องบินแล่นไถลออกด้านข้างรันเวย์ ขณะลงจอดที่สนามบินเกาะสอง (Kawthaung) ทางตอนใต้สุดของประเทศ
.

2

3
เที่ยวบิน UB309 ไปหยุดลงที่พุ่มไม้ห่างจากรันเวย์ไปทางทิศตะวันตกราว 200 ฟุต (60 เมตร) ใบพัดทั้งสองข้างเสียหาย และ เกิดมีควันออกจาก บริเวณเครื่องยนต์ด้านซ้าย แต่ผู้โดยสารกับลูกเรือปลอดภัย ไม่มีผู้ใดบาดเจ็บ และ เชื่อกันว่า สาเหตุในครั้งนั้น อาจจะเป็นความบกพร่องของนักบินเอง ที่ใช้โหมด "ขับ" ไปตามทางวิ่งเร็วเกินไป ในขณะที่ล้อหน้ายังไม่แตะถึงพื้น

ทันทีที่เกิดเหตุการณ์ไม่พึงปรารถนากับ MA60 เป็นลำที่สอง กรมการบินพลเรือนพม่า ได้มีคำสั่งในวันรุ่งขึ้น คือ 11 มิ.ย.2556 ห้าม เครื่องบินโดยสารที่ผลิตในจีนทั้ง 3 ลำ ขึ้นบินอีก จนกว่าการสอบสวนหาสาเหตุจะแล้วเสร็จ

คำสั่งดังกล่าวได้ทำให้เมียนมาร์แอร์เวย์สขณะนั้น ไม่มี "เครื่องบินใหญ่" เหลือใช้งานอีก ที่มีอยู่ล้วนเป็นรุ่นที่ใช้มายาวนานกว่า MA60 และ มีสภาพทรุดโทรมทั้งสิ้น รัฐวิสาหกิจสายการบินพม่าจึงต้องยกเที่ยวบินระยะไกลภายในประเทศ และ หยุดบินโดยปริยายในที่สุด จนกระทั่งสามารถจัดซื้อเครื่องบิน ATR72-500 ใช้แล้วได้ 1 ลำ เช่าอีก 1 ลำ ในเวลาต่อมา พร้อมกับการจัดทำแผนการปฏิรูป ที่เปลี่ยนมาใช้ชื่อใหม่ ใช้โลโกใหม่ และเริ่มทำตลาดใหม่

สายการบินแห่งชาติโฉมใหม่ เริ่มได้รับมอบอากาศยานรุ่นใหม่ เมื่อปลายปีที่แล้วกับต้นปีนี้ ตามแผนการจัดหา ที่ทำขึ้นพร้อมกับการปฏิรูป ซึ่งก็คือ ATR72-600 รุ่นใหม่ล่าสุดจากบริษทผู้ผลิตในฝรั่งเศส กับ โบอิ้ง 737 รุ่นใหม่ล่าสุด ที่ผลิตในสหรัฐ ทั้งนี้ด้วยความร่วมมือช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐ ในการเช่าจากบริษัทเช่ากาศยานของกลุ่มจีอี

พม่าก็เช่นเดียวกันกับลาว การซื้อ MA60 จากจีนนั้น เป็นความช่วยเหลือจากจีน และ ใช้เงินกู้จากรัฐบาลจีน นอกจากนั้น กัมพูชาเป็นอีกประเทศหนึ่งในย่านนี้ที่มี MA60 ใช้งาน โดยสองลำเป็นของกองทัพอากาศ อีก 1 ลำเป็นของสายการบินแคมโบเดียอังกอร์ จัดซื้อด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลจีนเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ลาวเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดในอนุภูมิภาค คือมี MA60 รุ่นต่างๆ รวมกันถึง 10 ลำ เป็นของสายการบินลาว (Lao Arlines) อีก 4 ลำ สำหรับบินเส้นทางในประเทศ และ ของกองทัพอากาศอีก 4 ลำ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นรุ่นดั้งเดิม 2 ลำ กับ MA600 ที่ปรับปรุงใหม่ บรรทุกได้มากกว่า อีก 2 ลำ
.


4
แต่ประวัติการใช้งานของ MA-60 ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้มีอะไรที่ผิดปรกติจนถึงขั้นเลวร้าย และ ต้องนับเป็นเครื่องบินที่ใช้กันแพร่หลายอีกรุ่นหนึ่งของโลก ด้วยราคาพื้นฐานลำละ 11-12 ล้านดอลลาร์ ติดเครื่องยนตร์เทอร์โบพร็อพ ของแพร็ตแอนด์วิตนีย์ (Pratt & Whitney) แห่งแคนาดา ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์สำหรับอากาศยานที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ติดระบบเอวิโอนิกส์ ทั้งที่ผลิตในจีนเอง และนำเข้าจากยุโรป รวมทั้งมีการพัฒนาปรับปรุงด้านต่างๆ มาเป็นระยะ

ตามตัวเลขในเว็บไซต์บริษัทบริษัทอุตสาหกรรมอากาศยานซีอาน ( Xi'an Aircraft Industrial Corporation) ซึ่งเป็นผู้ผลิต ภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานจีน (Aviation Industry Corporation of China) นับแต่ปลายปี 2549 จนถึงสิ้นปีที่แล้ว MA60/MA600 มียอดสั่งซื้อรวมกันเกือบ 300 ลำ เพิ่งส่งมอบได้ 80 ลำ คาดว่าจะส่งได้อีกราว 165 ลำภายในสิ้นปี 2559

ปัจจุบัน MA60 มีใช้งานในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก ทั้งในอเมริกาใต้ แอฟริกา ตะวันออกกลาง ทั้งที่เป็นเครื่องบินโดยสาร และ เครื่องบินขนสินค้า โดยมีสายการบินเอกชนแห่งหนึ่งในอินโดนีเซีย เป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุด คือ ซื้อไปทั้งหมด 14 ลำ ประสบอุบัติเหตุไป 2 ลำ ปัจจุบันเหลือเพียง 12

เท่าที่มีการบันทึกไว้ ตั้งแต่เดือน ต.ค.2549 เป็นต้นมา MA60 เคยประสบอุบัติเหตุรวม 13 ครั้งเหตุการณ์ล่าสุดในลาว นับเป็นครั้งที่ 14 และ ที่ผ่านมาทำให้มีผู้โดยสารเสียชีวิตรวมกัน 21 คน ลูกเรืออีก 4 คน

อุบัติเหตุครั้งร้ายแรงที่สุด เกิดขึ้นวันที่ 7 พ.ค.2554 เมื่อเที่ยวบิน 8968 สายการบินเมอร์ปาตี นุสันตารา (Merpati Nusantara) ของอินโดนีเซีย ลงจอดที่สนามบินไคมานา (Kaimana) จ.ปาปัวตะวันตก ที่อยู่ไกลออกไปทางทิศตะวันออก ติดประเทศปาปัวนิวกินี เครื่องบินพุ่งลงทะเลก่อนถึงสนามบินราว 500 เมตร ทำให้ผู้โดยสารที่เหลืออยู่ 19 คน กับลูกเรือ 4 คน เสียชีวิตทั้งหมด

ต่อมาในเดือน ส.ค. กระทรวงขนส่งอินโดนีเซีย ได้ออกรายงานผลการสอบสวน ระบุว่าอุบัติเหตุครั้งรุนแรงทีสุด ที่เกี่ยวข้องกับ MA60 มีสาเหตุจาก "ความบกพร่องของนักบิน" ภายใต้สภาพอากาศที่เลวร้ายมากและ มองไม่เห็นทาง ขณะพยายามนำเครื่องลงจอดโดยใช้สายตา.
กำลังโหลดความคิดเห็น