xs
xsm
sm
md
lg

พระสงฆ์หัวรุนแรงร้องทางการควบคุมพิธีกรรมเชือดสัตว์ของชาวมุสลิมในพม่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ชายชาวมุสลิมหั่นเนื้อเป็นชิ้นๆ เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้คนเนื่องในวันอีดิลอัฎฮา ในนครย่างกุ้ง วันที่ 25 ก.ย.--Agence France-Presse/Phyo Hein Kyaw .</font></b>

เอเอฟพี - ชาวมุสลิมในพม่าทำพิธีเชือดสัตว์เนื่องในวันทางศาสนาเมื่อวันศุกร์ (25) ที่ผ่านมา ท่ามกลางแรงกดดันจากชาวพุทธที่จะควบคุมการฆ่าสัตว์ในประเทศ ที่ความตึงเครียดทางศาสนาได้แพร่กระจายไปทั่วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

แพะ แกะ และวัว ถูกเชือดเพื่อฉลองเทศกาลสำคัญของชาวมุสลิม วันอีดิลอัฎฮา ซึ่งพิธีเฉลิมฉลองขนาดเล็กนี้จัดขึ้นในย่านชาวมุสลิมใกล้ตัวเมืองนครย่างกุ้ง ที่บรรดาอาสาสมัครจะช่วยกันหั่นเนื้อ และบริจาคเนื้อบางส่วนให้แก่คนยากจน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธที่เข้าแถวรออยู่ด้านนอก

ตัวแทนชุมชนชาวมุสลิมในท้องถิ่นเผยว่า การเฉลิมฉลองถูกจำกัดมากขึ้นในปีนี้

“ทางการอนุญาตให้ทำการเชือดสัตว์เพื่อพลีทานแต่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดจำนวนมาก” เอ ละวิน ตัวแทนจากกลุ่มศาสนาเพื่อสันติภาพอธิบาย พร้อมระบุว่า ในปีนี้ชุมชนต่างๆ ที่จำเป็นต้องขออนุญาตเชือดสัตว์ได้รับสัตว์ทำพิธีกรรมจำนวนไม่มาก

มะบะธา (Ma Ba Tha) กลุ่มเคลื่อนไหวชาตินิยมชาวพุทธ ได้เพิ่มการต่อต้านชาวมุสลิมในประเทศก่อนการเลือกตั้งวันที่ 8 พ.ย. ที่พรรค่ายค้านของอองซานซูจี คาดว่าจะกวาดคะแนนเสียงท่วมท้นหากการเลือกตั้งดำเนินไปอย่างยุติธรรม

เมื่อวันศุกร์ (25) พระปามุกคา โฆษกของกลุ่มมะบะธา กล่าวว่า การฆ่าวัวควายขัดต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า และกลุ่มได้ผลักดันให้ทางการเข้าควบคุมการฆ่าวัวควาย

“พวกเขา (ชาวมุสลิม) ควรเลี่ยงการกระทำเช่นนี้หากพวกเขาต้องการอยู่อย่างสงบ สันติ และสามัคคี” พระปามุกคา กล่าว

มะบะธา ได้พยายามที่จะก่อให้เกิดความกลัวด้วยการกล่าวอ้างว่าศาสนาพุทธกำลังถูกคุกคามจากชาวมุสลิมที่มีสัดส่วนประมาณ 5% ของประชากรในประเทศ

ชาวพุทธได้เห็นอิทธิพลของตัวเองที่ขยายตัวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาที่ความตึงเครียดทางศาสนาลุกลามหลังเหตุความรุนแรงระหว่างชาวพุทธ และชาวมุสลิมปะทุขึ้นในรัฐยะไข่เมื่อปี 2555 เหตุไม่สงบที่เกิดขึ้นครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 คน และมีผู้ไร้ที่อยู่อีกราว 140,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม

ชาวโรฮิงญาหลายพันคนถูกยกเลิกสิทธิลงคะแนนเสียงในปีนี้ หลังรัฐสภาห้ามผู้ที่่ไม่มีสถานะพลเมืองอย่างสมบูรณ์มีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง

ไม่มีพรรคใหญ่พรรคใด รวมทั้งพรรคของซูจีเสนอชื่อชาวมุสลิมลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งเดือน พ.ย. ความเคลื่อนไหวที่นักเคลื่อนไหวสิทธิตำหนิว่า เป็นการถอยหลังครั้งใหญ่ของประเทศ

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายประเทศที่รวมทั้งสหรัฐฯ อังกฤษ และญี่ปุ่น ได้แสดงความวิตกต่อความตึงเครียดทางศาสนาที่เพิ่มขึ้นในพม่าว่า อาจจุดชนวนความขัดแย้งในขณะที่การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทวีความรุนแรงขึ้น
.
<br><FONT color=#000033>ผู้คนจำนวนมากยืนเข้าแถวรอรับเนื้อจากชาวมุสลิมเนื่องในเทศกาลอีดิลอัฎฮา ขณะที่กลุ่มมะบะธาออกมาผลักดันเรียกร้องให้ทางการควบคุมพิธีกรรมการฆ่าสัตว์ของชาวมุสลิมนี้.--Agence France-Presse/Phyo Hein Kyaw .</font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น