xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯ ห่วงชาวมุสลิมไม่มีส่วนร่วมในการเลือกตั้งพม่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>สมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) เดินรณรงค์หาเสียงในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 15 ก.ย ประชาชนชาวพม่าราว 30 ล้านคนจะมีสิทธิร่วมลงคะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งสำคัญของประเทศในวันที่ 8 พ.ย. ที่จะถึงนี้ ซึ่งหลายคนจะมีส่วนร่วมเป็นครั้งแรกในชีวิต แต่ชาวมุสลิมโรฮิงญานับแสนคนไม่มีสิทธิในการเลือกตั้งสำคัญของประเทศหลังทางการพม่าเพิกถอนเอกสารประจำตัว.--Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

เอเอฟพี - สหรัฐฯ แสดงความกังวลว่า การเตรียมการสำหรับการเลือกตั้งครั้งสำคัญของพม่าถูกบ่อนทำลายด้วยความเคลื่อนไหวที่กันผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมออกจากการลงคะแนนเสียง

พม่าจะเลือกตั้งในวันที่ 8 พ.ย. ในสิ่งที่หลายคนหวังว่าจะเป็นการเลือกตั้งที่เสรีที่สุดในหลายชั่วอายุ หลังประเทศอยู่ภายใต้การปกครองของทหารนานหลายทศวรรษ และคาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่า พรรคฝ่ายค้านของอองซานซูจี จะกวาดคะแนนเสียงส่วนใหญ่

แต่ความตึงเครียดกำลังเพิ่มสูงในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธที่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้เห็นเหตุไม่สงบรุนแรงต่อต้านชาวมุสลิมปะทุขึ้น

“สหรัฐฯ มีความวิตกเกี่ยวกับการตัดสิทธิผู้สมัครราว 100 คน จากการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมีขึ้นของพม่า” จอห์น เคอร์บี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าว

“เราทราบถึงรายงานที่ว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งชาวมุสลิมเกือบทั้งหมดถูกตัดสิทธิ รวมทั้งผู้ที่เป็นสมาชิกปัจจุบันของรัฐสภาด้วย และยังไม่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาให้เหตุผลว่าเหตุใดคนเหล่านี้ถึงไม่ผ่านเกณฑ์” เคอร์บี้ กล่าว

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ยังระบุถึงการสงวนที่นั่ง 1 ใน 4 ของรัฐสภาให้แก่ผู้สนับสนุนอดีตรัฐบาลเผด็จการทหาร และตราว่า การกันผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นกระบวนการที่เสี่ยงทำลายความเชื่อมั่นของชาวพม่า และประชาคมโลกในการเลือกตั้งเหล่านี้

“เราเรียกร้องให้ทางการพม่าเพิ่มความพยายามที่จะจัดการต่อปัญหาเหล่านี้ และรับประกันว่าการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นเป็นความก้าวหน้าสำหรับประเทศ” เคอร์บี้ กล่าว

ความไม่สงบทางศาสนาเป็นเงาบดบังความพยายามปฏิรูปหลังพม่าหลุดพ้นจากการปกครองของทหารภายใต้การนำของรัฐบาลกึ่งพลเรือนที่เข้าบริหารประเทศในปี 2554

พม่า เผชิญต่อเหตุความรุนแรงต่อต้านชาวมุสลิมนับตั้งแต่ปี 2555 และแพร่กระจายไปทั่วประเทศพร้อมๆ กับการเพิ่มขึ้นของอิทธิพลของพระสงฆ์ชาตินิยม นอกจากนั้น ชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮิงญาหลายแสนคนต้องไร้สิทธิเลือกตั้ง เมื่อทางการเพิกถอนเอกสารประจำตัวของคนเหล่านี้ในเดือนมี.ค.
กำลังโหลดความคิดเห็น