xs
xsm
sm
md
lg

กลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ 3 กลุ่มที่ยังสู้รบกับรัฐบาลเผยต้องการเข้าร่วมเจรจาสันติภาพ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>พล.อ.มูตู เซพอ ประธานสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) (ขวา) ลุกขึ้นกล่าวกับประธานาธิบดีเต็งเส่งในที่ประชุมหารือระหว่างประธานาธิบดีและผู้แทนกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์เพื่อเจรจาข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศในกรุงเนปีดอ เมื่อวันที่ 9 ก.ย. ในการหารือดังกล่าวฝ่ายรัฐบาลย้ำว่าการลงนามจะไม่รวม 3 กลุ่มที่กำลังสู้รบกับรัฐบาลอยู่ตามพื้นที่ชายแดน แต่ทั้ง 3 กลุ่มได้ออกคำแถลงระบุว่าต้องการมีส่วนร่วมในข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ.--Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>

รอยเตอร์ - กลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ 3 กลุ่ม ได้เรียกร้องต่อรัฐบาลพม่าที่จะมีส่วนร่วมในการหารือหยุดยิงที่กำลังเจรจากับกลุ่มอื่นๆ อยู่ หลังทั้ง 3 กลุ่มถูกกันออกไปเนื่องจากการสู้รบกับกองทัพใกล้พรมแดนจีนเมื่อช่วงต้นปี

ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ของพม่า ได้พบกับบรรดาแกนนำกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ 5 กลุ่มใหญ่ เมื่อวันพุธ (9) เพื่อหารือการหยุดยิง ที่กรุงเนปีดอ ซึ่งทั้งหมดเห็นชอบที่จะจัดการหารือขึ้นอีกรอบในร่างข้อตกลงช่วงต้นเดือน ต.ค.

การไม่มีส่วนร่วมในการลงนามข้อตกลงสันติภาพของกองทัพอาระกัน กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า และกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง เป็นหนึ่งในข้อติดขัดหลักในการเจรจาที่ลากยาวมานาน 2 ปี

“ข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศเป็นข้อตกลงสำคัญสำหรับการเกิดขึ้นของสันติภาพที่แท้จริงในประเทศ” กองทัพทั้ง 3 กลุ่ม ออกคำแถลงร่วมวานนี้ (10) และเรียกร้องว่า พวกเขาต้องการมีส่วมร่วมอยู่ในข้อตกลง

ความตึงเครียดระหว่างชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ของพม่า และชาวพม่าส่วนใหญ่ของประเทศทำให้หลายกลุ่มจับอาวุธนับตั้งแต่ประเทศได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2491

กองกำลังทั้ง 3 กลุ่มที่ออกคำแถลงได้สู้รบกับรัฐบาลในเขตโกกังตั้งแต่เดือน ก.พ. สังหารนายทหารไปเป็นจำนวนมาก และทำให้ประชาชนหลายพันคนต้องหลบหนีออกจากพื้นที่เข้าไปพรมแดนจีน

อ่อง นาย อู ผู้อำนวยการศูนย์สันติภาพพม่าที่ประสานงานการเจรจา กล่าวว่า กลุ่มติดอาวุธชาติพันธ์ และรัฐบาลได้ยื่นรายชื่อผู้ลงนามข้อตกลงหยุดยิงที่เสนอโดยรัฐบาลแตกต่างกัน และรัฐบาลยังคงปฏิเสธที่จะยอมรับกองกำลัง 3 กลุ่มที่ยังคงสู้รบกับรัฐบาลในเขตโกกัง

อองซานซูจี หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านพม่าเรียกร้องเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า กลุ่มกบฏไม่ควรรีบร้อนในข้อตกลง เพื่อรับประกันสันติภาพ และความมั่นคงที่ยั่งยืน และกลุ่มทั้งหมดควรมีส่วมร่วมอยู่ในข้อตกลงนี้.
กำลังโหลดความคิดเห็น