xs
xsm
sm
md
lg

จีน-เวียดนามตกลงที่จะจัดการข้อพิพาททะเลจีนใต้อย่างเหมาะสม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน (ที่ 2 จากซ้าย) พบหารือกับประธานาธิบดีเจื่อง เติ่น ซาง (ที่ 3 จากขวา) ที่มหาศาลาประชาคม ในกรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 3 ก.ย.--Agence France-Presse/Pool/Parker Song.</font></b>

รอยเตอร์ - ผู้นำจีน และเวียดนามเห็นพ้องกันที่จะจัดการข้อพิพาทอย่างเหมาะสมวานนี้ (3) สำนักข่าวซินหวาของทางการจีนรายงาน ท่ามกลางความตึงเครียดเกี่ยวกับข้อขัดแย้งทางทะเลในทะเลจีนใต้

ความเคลื่อนไหวของจีนที่เพิ่มมากขึ้นเพื่ออ้างสิทธิอธิปไตยในน่านน้ำของภูมิภาค สร้างความไม่พอใจให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน และก่อให้เกิดความวิตกในสหรัฐฯ แม้ปักกิ่งจะระบุไม่มีเจตนาเป็นศัตรู

การเคลื่อนแท่นขุดเจาะน้ำมันของจีนเมื่อปีก่อนในบริเวณที่เวียดนามเรียกว่า เขตเศรษฐกิจจำเพาะ และไหล่ทวีปของประเทศ ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งเวียดนามราว 120 ไมล์ทะเล ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของสองประเทศย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามชายแดนในปี 2522

“เราสนับสนุนการจัดการปัญหาข้อขัดแย้งอย่างเหมาะสมระหว่างสองฝ่ายด้วยการเจรจา และขยายความร่วมมือ และผลประโยชน์ร่วมกัน” ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน กล่าวต่อประธานาธิบดีเจื่อง เติ่น ซาง ของเวียดนาม

ผู้นำจีน ระบุว่า เป็นสิ่งจำป็นสำหรับสองประเทศที่จะส่งเสริมการประสานงานทางยุทธศาสตร์ การแลกเปลี่ยน และความร่วมมือ

“เวียดนามหวังที่จะเสริมสร้างความไว้วางใจทางการเมือง และการแลกเปลี่ยนบุคลากรกับจีน การจัดการความแตกต่างอย่างเหมาะสม และเพิ่มความร่วมมือทั้งสองฝ่าย” ประธานาธิบดีเจื่อง เติ่น ซาง กล่าว

จีน อ้างสิทธิอธิปไตยในทะเลจีนใต้ทับซ้อนกับเวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไต้หวัน และบรูไน

วอชิงตัน ได้ประโยชน์จากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยการเพิ่มความสัมพันธ์ทางการทูตกับฮานอย ซึ่งจีนมองว่า ความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ นั้นจะเป็นการกระตุ้นความตึงเครียดด้วยการสนับสนุนพันธมิตรในภูมิภาค เช่น ฟิลิปปินส์ นอกเหนือจากเวียดนาม

จีน และเวียดนามได้พยายามที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์นับตั้งแต่เกิดเหตุพิพาท และรองนายกรัฐมนตรีจีน ได้เดินทางเยือนเวียดนามเมื่อกลางเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา.
กำลังโหลดความคิดเห็น