xs
xsm
sm
md
lg

ตังเกเวียดนามลากโมลาโมลาหนักกว่า 300 กก.กลับฝั่ง บ่นอุบซวยกลางทะเล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<FONT color=#00003>นายเหวียนวันถ่าว (Nguyen Van Thao) กับโมลาโมลาที่นำกลับเข้าถึงฝั่ง เมื่อวันที่ 8 ส.ค. เขาแสดงความประสงค์ผ่านทางการท้องถิ่น ขอบริจาคให้แก่พิพิธภัณฑ์ หรือ สถาบันทางวิทยาศาสตร์ที่ไหนสักแห่ง แต่ไม่มีผู้ใดสนใจ จึงได้ฝังไว้ริมหาดในอีก 4 วันถัดมา พักหลังๆ นี้ติดอวนชาวประมงอยู่บ่อยๆ ใน ทะเลตะวันออก ชายฝั่งเวียดนาม ซึ่งอาจจะแสดงให้เห็นความรุ่มรวยด้วยอาหารโปรด อันได้แก่ แมงกะพรุน ปลาเล็ก และ พวกกุ้งตัวเล็ก. -- ภาพ: Công lý ยุติธรรม ออนไลน์.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เรือหาปลาเวียดนามลำหนึ่งจาก จ.แทงฮว้า (Thanh Hao) ลากปลาโมลาโมลาเข้าฝั่งอีกตัวในสัปดาห์นี้ ปลาตัวใหญ่ติดอวนลากของเขาในน่านน้ำแถบหมู่เกาะสแปร็ตลีย์ ทำให้ต้องแล่นกลับฝั่งอย่างเดียว หรือไม่ก็จะต้องตัดอวนทิ้ง เขาบอกว่าเป็นเคราะห์หามยามซวย ออกหาปลาไม่ได้ปลา แต่ได้ปลาที่ไม่ต้องการ ไม่มีค่าราคาอะไรแม้แต่น้อย

เมื่อปีที่แล้วก็เกิดเหตุการณ์คล้ายกันนี้ เมื่อชาวประมงใน จ.เหงะอาน (Nge An) ออกหาปลา และมีโมลาโมลาตัวหนึ่ง น้ำหนักเกือบครึ่งตันติดอวน ทำให้ต้องแล่นกลับฝั่ง ในช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังสูงลิ่ว เพิ่มต้นทุนในการออกจับปลาให้สูงขึ้นอีก

ตัวล่าสุดนี้วัดความกว้างของลำตัวได้ 1.8 เมตร และความยาวเท่าๆ กัน หลังจากนำขึ้นเรือได้สำเร็จ ชาวบ้านจากหมู่บ้านชาวประมงใกล้เคียงนับร้อยได้แห่ไปดูปลาประหลาดกัน ก่อนนายเหวียนวันถ่าว (Nguyen Van Thao) เจ้าของเรือจะปล่อยปลาตัวใหญ่กลับลงทะเล แต่ปรากฏว่า ปลาได้เสียชีวิตแล้ว

นายถ่าว กล่าวว่า อวนลากของเขาหนักอึ้งในตอนบ่ายวันที่ 8 ส.ค. ซึ่งบ่งบอกว่ามีอะไรขนาดใหญ่เข้าไปติดอยู่ในนั้น เมื่อมีอาการดิ้นขลุกขลัก เขาจึงแน่ใจได้ว่าไม่ใช่วัตถุระเบิด หรือวัตถุอันตรายใดๆ หากเป็นสิ่งมีชีวิตตัวโต เขาไม่สามารถจะนำขึ้นเรือได้ในกลางทะเล และไม่อยากจะตัดอวนราคาแพงทิ้ง จึงตัดสินใจแล่นกลับฝั่งที่อยู่ห่างออกไปกว่า 200 กิโลเมตร ซึ่งนับเป็นความโชคร้าย

นายถาว ได้แจ้งต่อทางการท้องถิ่น ว่า เขาเองไม่ต้องการปลาตัวใหญ่ที่แช่แข็งเอาไว้ ทั้งแสดงความประสงค์จะบริจาคให้แก่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ หรือสถาบันสัตว์น้ำที่ไหนสักแห่งที่ต้องการนำไปศึกษา แต่จนถึงวันที่ 12 ส.ค. ก็ยังไม่มีสถานบันใดตอบกลับ ทำให้นายถ่าว กับเพื่อนบ้านช่วยกันฝังโมลาโมลาบริเวณหาด ทำพิธีบวงสรวงเพื่อเป็นสิริมงคลตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมา “ซิงออนไลน์” เว็บไซต์สารพัดข่าวภาษาเวียดนามรายงาน

โมลาโมลา หรือ “ปลาแสงอาทิตย์” (Sunfish) เป็นสัตว์น้ำหายากใน “หนังสือปกแดง” ของเวียดนาม เป็นปลาที่ห้ามล่า ห้ามนำไปใช้ประโยชน์ใดๆ นอกเหนือจากวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา หลายประเทศบังคับใช้กฎหมายคล้ายกันนี้เพื่อคุ้มครอง รวมทั้งสหภาพยุโรปทั้งหมด แต่เป็นเมนูยอดนิยมในญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน

ปลาแสงอาทิตย์ เป็นกลุ่มปลาที่มีรูปร่างผิดแผก (Tetraodontiformes) พบทั้งในทะเลน้ำอุ่น และน้ำเย็นปลา อาศัยหากิน และว่ายในความลึกตั้งแต่ 200-600 เมตร และอุณหภูมิของน้ำ 10-12 องศา แต่มีนิสัยชอบลอยตัวขึ้นบนผิวน้ำอาบแดด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นการซึมซับเอาความอบอุ่น หรือ “เทอร์มอล ชาร์จ” (Thermal Charge) เป็นระยะๆ

ตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ โมลาโมลาเป็นปลา “ไข่ดก” คือ แต่ละตัวตกไข่ได้หลายล้านฟอง แต่ลูกปลามีโอกาสรอดในอัตราต่ำ ศัตรูในธรรมชาติมีตั้งแต่สิงโตทะเล ฉลาม และวาฬเพชฌฆาต สำหรับตัวที่รอด บางชนิดเมื่อโตเต็มที่อาจจะยาวถึง 5.5 เมตร และน้ำหนัก 2,300 กก. ตัวที่ติดอวนลากเรือประมงเวียดนามล่าสุดนี้เป็นปลาที่โตแล้ว และเป็นขนาดเฉลี่ยทั่วไป

“ทะเลตะวันออก” ของเวียดนามได้กลายเป็นอาณาบริเวณหนึ่้ง ที่ พบโมลาโมลาบ่อยครั้ง ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ซึ่งอาจจะบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารของโมลาโมลา ซึ่งได้แก่แมงกะพรุน ปลาเล็ก และกุ้งตัวเล็ก

เดือน ส.ค.ปีที่แล้ว ชาวประมงใน อ.กวี่งลือว์ (Quynh Luu) จ.เหงะอาน ออกเรือลากอวนในน่านน้ำนอกชายฝั่ง จ.ห่าตี๋ง (Ha Tinh) ทางภาคกลางวตอนบน ลากโมลาโมลายาว 3 เมตร กว้าง 2.5 เมตร น้ำหนักราวครึ่งตันเข้าฝั่ง ก่อนบริจาคให้แก่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติแห่งชาติเวียดนาม (Vietnam National Museum of Nature) ในกรุงฮานอย

ในเดือนเดียวกันชาวประมงใน อ.กวี่งลอมง์ (Quynh Long) ก็ลากอวนได้โมลาโมลาที่ยังเล็กอีกตัวหนึ่ง น้ำหนักราว 100 กิโลกรัม และได้บริจาคให้แก่พิพิธภัณฑ์แห่งเดียวกัน.
.
<FONT color=#00003>ขณะที่เนื้อของโมลาโมลา เป็นเมนูยอดนิยมในหลายท้องถิ่น ทั้งในญี่ปุ่น เกาหลีและไต้หวัน แต่กลับเป็นปลาที่ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลยในเวียดนาม ทั้งยังมีกฎหมายคุ้มครองอีกต่างหาก. -- ภาพ: ZingOnline. </b>
2
กำลังโหลดความคิดเห็น