xs
xsm
sm
md
lg

เจรจาสันติภาพรัฐบาล-กลุ่มชาติพันธุ์พม่ายังไม่ได้ข้อสรุปนัดถกอีกรอบต้นเดือน ส.ค.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ปาโด ซอ เกว ถู วิน (ซ้าย) จากสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กล่าวกับผู้สื่อข่าวระหว่างการแถลงข่าวพร้อมกับ ปูซิงกัง (กลาง) โฆษกกลุ่มกบฎชาติพันธุ์ และหล่า หม่อง ฉ่วย (ขวา) ที่ปรึกษาพิเศษทีมเจรจาสันติภาพรัฐบาล หลังการหารือหยุดยิงที่ศูนย์สันติภาพพม่า ในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 24 ก.ค.--Associated Press/Khin Maung Win.</font></b>

เอพี - การหารือระหว่างรัฐบาลพม่า และแกนนำกลุ่มกบฏชาติพันธุ์เป็นเวลา 3 วัน สิ้นสุดลงเมื่อวันศุกร์ (24) โดยยังไม่ได้ข้อสรุปร่างข้อตกลงหยุดยิงตามที่ต้องการที่จะช่วยยุติการสู้รบนานหลายทศวรรษ

หล่า หม่อง ฉ่วย ที่ปรึกษาพิเศษสำหรับทีมเจรจาสันติภาพฝ่ายรัฐบาล กล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะกลับมาหารือกันอีกครั้งในสัปดาห์แรกของเดือน ส.ค. หลังกลุ่มแกนนำกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยกลับไปหารือเพิ่มเติม

กลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยมากกว่า 12 กลุ่ม ที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชายแดนพม่า ต้องการที่จะปกครองตนเองนับตั้งแต่ประเทศได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อ 67 ปีก่อน โดยหลายกลุ่มได้ตั้งกองกำลังของตัวเองขึ้น แม้รัฐบาลจะบรรลุข้อตกลงหยุดยิงแล้วหลายกลุ่มในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา

ปูซิงกัง โฆษกฝ่ายกลุ่มกบฏชาติพันธุ์ กล่าวเมื่อวันศุกร์ (24) ว่า พวกเขามั่นใจว่าพวกเขาจะสามารถหาข้อสรุปสุดท้ายของข้อตกลงหยุดยิงได้ในเดือน ส.ค.นี้

ส่วนหนึ่งของปัญหาที่จะต้องได้รับการแก้ไข คือ การมีส่วนร่วมของกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ทั้งหมด และผู้แทนท้องถิ่น และต่างชาติคนใดที่จะร่วมเป็นพยานในการลงนาม

ฝ่ายแกนนำชาติพันธุ์ต้องการให้ประธานาธิบดีเต็งเส่ง และ พล.อ.อาวุโส มิน ออง หล่าย ผู้บัญชาการกองทัพทหารพม่า เป็นผู้ลงนามข้อเสนอหยุดยิง แต่รัฐบาลต้องการให้ ออง มิน หัวหน้าผู้เจรจาสันติภาพเป็นผู้ลงนาม

ฝ่ายกลุ่มชาติพันธุ์ยังยืนยันให้การลงนามนั้นครอบคลุมทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์กลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมในการเจรจา เช่น กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า (MNDAA) กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง และกองทัพอาระกัน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังคงต่อสู้กับกองกำลังของรัฐบาลพม่า

ปูซิงกัง จากชนกลุ่มน้อยชินกล่าวว่า นี่อาจเป็นปัญหาที่ยากที่สุดที่จะแก้ไข

ในระหว่างการหารือ แกนนำกลุ่มชาติพันธุ์ได้แสดงความวิตกเกี่ยวกับการยกระดับการปฏิบัติการของกองทัพในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งในรัฐกะฉิ่นที่การต่อสู้ยังคงเกิดขึ้นเป็นระยะๆ

หล่า หม่อง ฉ่วย กล่าวเตือนก่อนการหารือครั้งนี้ว่า ความล้มเหลวที่จะบรรลุข้อตกลงอาจก่อให้เกิดการต่อสู้รอบใหม่

“หากการเจรจาล้มเหลว และกองทัพเชื่อว่าข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศไม่สามารถลงนามกันได้ภายใต้รัฐบาลชุดปัจจุบัน พวกเขาจะไม่มีทางเลือกที่จะต้องดำเนินการปฏิบัติการทางทหาร” หล่า หม่อง ฉ่วย กล่าว

พล.อ.อาวุโส มิน ออง หล่าย ให้สัมภาษณ์ต่อบีบีซีเมื่อไม่นานนี้ว่า กองทัพพม่าจะมีบทบาทนำในการเมืองของประเทศตราบเท่าที่ยังคงมีการต่อสู้ในกลุ่มชาติพันธุ์ และจนกว่าข้อตกลงสันติภาพจะได้ข้อสรุป.
กำลังโหลดความคิดเห็น