xs
xsm
sm
md
lg

จนท.พม่าชี้แจงข่าวเต็งเส่งไม่ลงเลือกตั้ง ระบุยังไม่ตัดสินใจแต่คาดจะประกาศเร็วๆ นี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีเต็งเส่ง (ขวา) ขณะร่วมการประชุมข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ ที่ศูนย์การประชุมนานาชาติพม่า ในกรุงเนปีดอ เมื่อเดือนก.พ. 2558 ซอ เต เจ้าหน้าที่อาวุโสจากสำนักงานประธานาธิบดีออกมาชี้แจงว่าประธานาธิบเต็งเส่งยังไม่ได้ตัดสินใจเกี่ยวกับลงสมัครรับเลือกตั้งหรือชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แม้ว่าก่อนหน้าจะมีจดหมายถึงหัวหน้าพรรค USDP และคาดว่าจะเต็งเส่งจะประกาศต่อสาธารณชนในเร็วๆ นี้.--Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

รอยเตอร์ - ประธานาธิบดีเต็งเส่งของพม่า ยังไม่ตัดทิ้งเรื่องการเป็นผู้นำประเทศสมัยที่ 2 เจ้าหน้าที่อาวุโสจากสำนักงานของเต็งเส่งออกมาเปิดเผยวันนี้ (14) ชี้แจงถึงคำแถลงก่อนหน้าเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของประธานาธิบดี

พม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 พ.ย. การเลือกตั้งที่ถูกมองว่าเป็นบททดสอบการเปลี่ยนแปลงของพม่าไปสู่ประชาธิปไตย หลังการปกครองโดยทหารนานหลายทศวรรษสิ้นสุดลงไปในปี 2554

เจ้าหน้าที่รายหนึ่งจากสำนักงานประธานาธิบดีได้ระบุเมื่อวันจันทร์ (13) ว่า เต็งเส่งที่เคยเป็นทั้งอดีตนายพล และก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีภายใต้การปกครองของทหาร และได้เข้าบริหารประเทศในปี 2554 จะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งในเดือน พ.ย.นี้ ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ ซึ่งอ้างจากจดหมายที่ส่งถึง ฉ่วย มาน ประธานรัฐสภา

ซอ เต เจ้าหน้าที่อาวุโสจากสำนักงานประธานาธิบดี ได้ออกมาชี้แจงในวันนี้ (14) ว่า เต็งเส่งยังไม่ได้ตัดสินใจ

“ประธานาธิบดียังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่สอง” ซอ เต กล่าว

“สิ่งที่เขาได้กล่าวต่อสาธารณชนก่อนหน้านี้หลายครั้ง คือ เขาจะตัดสินใจเรื่องการทำหน้าที่เป็นสมัยที่ 2 ขึ้นอยู่กับความต้องการของประชาชน และสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศ” ซอ เต กล่าว และคาดว่า เต็งเส่ง จะประกาศต่อประชาชนถึงการตัดสินใจในเร็วๆ นี้

แม้ว่าเต็งเส่ง จะไม่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกรัฐสภา หรือเลือกที่จะไม่ร่วมลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่เต็งเส่ง ก็ยังสามารถที่จะถูกเสนอชื่อเป็นประธานาธิบดีได้โดยบรรดาสมาชิกรัฐสภา ซึ่งตามรัฐธรรมนูญฉบับที่ทหารร่างขึ้นระบุว่า ผู้สมัครตำแหน่งประธานาธิบดีไม่จำเป็นจะต้องเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ

การเลือกตั้งในเดือน พ.ย. ที่คาดว่าจะถูกจับตามองจากบรรดาผู้สังเกตการณ์ตะวันตก จะเป็นการตัดสินที่นั่ง 3 ใน 4 ของที่นั่งในรัฐสภา ขณะที่ที่นั่งส่วนที่เหลือถูกสงวนให้แก่นายทหารที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี จะถูกเสนอชื่อจากรัฐสภาชุดใหม่ ที่ประกอบด้วยสภาสูง สภาล่าง และนายทหารที่ได้รับแต่งตั้งให้เข้านั่งในทั้ง 2 สภา

สมาชิกสภานิติบัญญัติทั้งหมดจะลงคะแนนเสียงเลือกประธานาธิบดี ซึ่งผู้ที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดจะทำหน้าที่เป็นผู้นำประเทศ ส่วนผู้ถูกเสนอชื่ออีก 2 คน จะทำหน้าที่ในตำแหน่งรองประธานาธิบดี.
กำลังโหลดความคิดเห็น