xs
xsm
sm
md
lg

โปรดทราบ.. เรื่อง “ภู ห.ผี” โปรดอย่าเบือนหน้าหนี ชื่อนี้สถานที่นี้มีอยู่จริงในลาว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>เรื่องราวน่าจะเริ่มจากตรงนี้เมื่อต้นเดือนที่แล้ว ก่อนจะไปเป็นบทความในนิตยสารรายเดือนภาษาลาวฉบับหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู้อ่านจำนวนหนึ่งพากันสงสัย ต่อมารายงานชิ้นนั้นถูกเผยแพร่ต่อๆ กันไปจากเว็บสู่เว็บจาก ทำให้เกิดการถกเถียงกันมาข้ามเดือนเกี่ยวกับชื่อ ປ່າສະຫງວນແຫ່ງຊາດ และ ຕາດນ້ຳກັດ แห่ง ພູຫີຜີ. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - รู้จักน้ำตก “หลี่ผี” ใช่ไหม? แน่นอน.. ผู้ที่ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยวในย่านนี้ของโลกก็จะต้องรู้จักน้ำตกสวยงาม กับเกาะแก่ง ที่เกิดให้เห็นในช่วงฤดูน้ำหลาก และน้ำลด ในเขตนทีสี่พันดอน เมืองโขง แขวงจำปากสัก ของลาว หรืออย่างน้อยที่สุดก็เคยได้ยินชื่อนี้

แต่ก็ยังมีอะไรบางอย่างที่เกี่ยวกับผีสาง อยู่ทางตอนเหนือขึ้นไป ซึ่งผู้คนจำนวนมากยังไม่รู้จัก ไม่เคยได้ยิน กระทั่งชาวลาวเจ้าของประเทศเองจำนวนหนึ่งก็ยังไม่แน่ใจนักว่าสถานที่แห่งนี้ ตามชื่อนั้นจะมีอยู่จริง

ชื่อภาษาลาวเขียนว่า "ປ່າສະຫງວນແຫ່ງຊາດພູຫີຜີ" และชื่อภาษาอังกฤษคือ Phou Hee Phee National Protected Area ถึงกระนั้นก็ยังทำให้ชาวลาวบางคนอ่านแล้วรู้สึกเอะใจ และที่นี่ขอสะกดชื่อใหม่เป็น “ภู ห.ผี” เพื่อให้เขียนง่ายขึ้น ..

โปรดอย่าอมยิ้ม.. อย่าเบือนหน้าหนี เพราะมิใช่สิ่งผิดปกติอะไรในภาษาลาว หากเป็นชื่อที่สามัญมากในความรู้สึกของชาวลาว เป็นธรรมดา และมีความเป็นธรรมชาติ มิได้ส่อ หรือสื่อไปในทางลามกจกเปรต หรือหยาบโลนอย่างใดทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าหลายคนได้ยินชื่อแล้วอาจเกิดความรู้สึกกังขาขึ้นมาอย่างทันทีทันใดก็ตาม

ความงุนงงสงสัยในเรื่องนี้สะท้อนออกมาให้เห็นผ่านสื่อออนไลน์ภาษาลาว เมื่อนิตยสารมหาชนนำเอาเรื่องราวของ "ປ່າສະຫງວນແຫ່ງຊາດພູຫີຜີ" ไปเขียนบอกเล่าความเป็นมา และเป็นไปของเขตป่าอันอุดม มั่งคั่ง รุ่มรวยด้วยทรัพยากร ซึ่งอยู่ในเขตเมือง (อำเภอ) ไซ แขวง (จังหวัด) อุดมไซ อยู่ห่างจากเขตเทศบาลแขวงไปราว 20 กิโลเมตร และปรากฏว่ามีผู้อ่านเขียนไปทักท้วงเกี่ยวกับชื่อภูเขา อันเป็นชื่อของป่าสงวนแห่งนี้ ..

"ມີຜູ້ອ່ານທ້ວງເຂົ້າມາວ່າ ວາລະສານມະຫາຊົນ ສະບັບ 211 ໃນຄໍລ່ຳ ທ່ອງທ່ຽວ ທີ່ຂຽນວ່າ "ພູຫີຜີ" ນັ້ນແມ່ນຂຽນຜິດ. ເລີຍຢາກນຳສະເໜີຮູບພາບຂອງ ເຂດປ່າສະຫງວນດັ່ງກ່າວໃຫ້ຜູ້ອ່ານເຂົ້າໃຈຕື່ມວ່າ ທີ່ຂຽນນັ້ນຖືກຕ້ອງແລ້ວ ຖ້າບໍ່ຂຽນແບບນັ້ນຕ່າງຫາກທີ່ຜິດ" นิตยสารดังกล่าวเขียนอธิบายในเฟซบุ๊ก ในสัปดาห์ต้นเดือน พร้อมกับโยงไปยังอีกเว็บหนึ่ง เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าไปดูภาพจากสถานที่จริง รวมทั้งภาพปากถ้ำแห่งหนึ่ง อันเป็นผลงานของธรรมชาติ .. ที่มาของชื่อ

บทเขียนของนิตยสารฉบับนี้ถูกเผยแพร่ต่อๆ ไปผ่านเว็บไซต์ บล็อก และเฟซบุ๊ก ของชาวลาวอีกหลายแห่ง ทำให้เกิดการถกเถียงกันมานานข้ามเดือน ทำให้ “แอดมิน” ของแหล่งต่างๆ ต้องออกค้นคว้าหาหลักฐาน ข้อมูล และภาพถ่าย เพื่อยืนยันอย่างเป็นเรื่องเป็นราว และผู้อ่านอีกจำนวนมากตามเข้าไปแสดงความเห็นสมทบ

"ບ້ານຂອຍເດອ" ผู้อ่านคนหนึ่ง ซึ่งนัยว่าเป็นชาวอุดมไซตามเข้าไปสำทับ

“55555 จั่งแม่น คึของผี หลึ คน บํ่จัก” อีกคนชักสนุกเขียนด้วยอักษรไทย

ฯลฯ
.
<FONT color=#00003>เรื่องนี้ต้องเคลียร์ .. นิตยสารมหาชน เขียนชี้แจงลงในเฟซบุ๊ก เมื่อต้นเดือนนี้ และ เนื้อหาก็ชัดเจน เป็นไปตามนั้น.   </b>
2
<FONT color=#000033>อีกภาพหนึ่งที่นิตยสารรายเดือนภาษาลาว นำไปแสดงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องเกี่ยวกับชื่อ และ ที่มา.</b>
3
<FONT color=#000033>เรื่องจริงใช่ปะ .. แฟนชาวไทยคนหนึ่ง ตามเข้าไปสมทบ ร่วมสงสัยกับชาวลาว. </b>
4
<FONT color=#000033>แอดมิน ของแหล่งต่างๆ พยายามค้นคว้าข้อมูล เพื่อยืนยันการดำรงอยู่ของ ປ່າສະຫງວນແຫ່ງຊາດພູຫີຜີ ในบัญชีรายชื่อนี้ยังขาดไปอีก 2 แห่งคือ ป่าสงวนเซซุน-หนองม้า แขวงคำม่วน กับ อีกแห่ง พูบด-ปุงจอง ในแขวงเชียงขวาง.</b>
5
.

ตามรายงานของสื่อทางการ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556-2557 รัฐบาลคอมมิวนิสต์ลาว ได้ยกระดับป่าสงวนระดับแขวง ขึ้นเป็นป่าสงวนแห่งชาติอีกหลายแห่ง ในนั้นมี ພູຫີຜີ รวมอยู่ด้วย ทำให้ทั่วประเทศมีป่าสงวนแห่งชาติเพิ่มขึ้นเป็น 25 แห่ง ยังมีป่าสงวนระดับแขวงรวมกันอีกกว่า 70 แห่ง กับ “ป่าป้องกัน” ในระดับอำเภอ อีกกว่า 180 แห่ง รัฐบาลยังได้กำหนดเป้าหมายปลูกป่าทดแทนที่ชัดเจน เพื่อทำให้ลาวกลับมามีต้นไม้ปกคลุมเนื้อที่ 70-80% อีกครั้ง ในช่วง 15-20 ปีข้างหน้า

ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ພູຫີຜີ นั้น มีน้ำตกสวยงามแห่งหนึ่งเป็นตัวชูโรงด้านการท่องเที่ยว เรียกกันว่า “ตาดน้ำกัด” (ຕາດນ້ຳກັດ) ตั้งอยู่ในเขตบ้านแฟน เมืองไซ เมื่อผสมผสานเข้ากับป่าเขาลำเนาไพรอันเขียวขจีอันงดงาม ก็ได้ช่วยหนุนเนื่องทำให้ ປ່າສະຫງວນແຫ່ງຊາດພູຫີຜີ กลายเป็นปลายทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศยอดนิยมอีกแห่งหนึ่งของประเทศ ซึ่งรัฐเปิดให้ราษฎรในท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรง มีรายได้โดยตรงจากบริการต่างๆ ทำให้ชื่อเสียงของสถานที่แห่งนี้ขจรไกลออกไปเรื่อยๆ

ตามรายงานของสื่อทางการ เมื่อปีที่แล้วรัฐบาลได้มอบให้บริษัทเอกชนแหน่งหนึ่ง เป็นผู้พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยววนอุทยานตาดน้ำกัด ไปทั่วโลก เป็นการลงทุนภายใต้สัญญาสัมปทานยาวนานถึง 45 ปี.
.

ที่นี่.. งดงามเกินบรรยาย Facebook/Micki Khounphixay
สปป.ลาวอุดมมั่งคั่งรุ่มรวยด้วยทรัพยากรแหล่งน้ำ กับป่าไม้เขียวชะอุ่ม มีเขตป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 25 แห่ง ป่าสงวนระดับแขวง และเขตป่าเฝ้าระวังอีกนับจำนวนไม่ถ้วน ตั้งแต่แขวงเซกอง อัตตะปือกับจำปาสัก ทางใต้สุด จนถึงเชียงขวาง หลวงพระบาง อุดมไซ กับหลวงน้ำทาทางตอนเหนือสุด ทางการได้เปิดป่าธรรมชาติหลายแห่ง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยให้ราษฎรในท้องถิ่น ช่วยกันจัดการดูแลรักษา และมีรายได้โดยตรงจากบริการการท่องเที่ยว.


6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19
กำลังโหลดความคิดเห็น