xs
xsm
sm
md
lg

ฟิลิปปินส์เซ็นซื้อข้าวเวียดนาม 150,000 ตัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มรอยเตอร์เดือนส.ค. 2557 คนงานมองดูกระสอบข้าวนำเข้าจากเวียดนามขณะขนถ่ายออกจากเรือที่ท่าเรือในกรุงมะนิลา เวียดนามชนะประกวดราคาส่งออกข้าวให้ฟิลิปปินส์อีก 150,000 ตัน ตามการเปิดเผยขององค์กรอาหารแห่งชาติของฟิลิปปินส์ (NFA).--Reuters/Romeo Ranoco.</font></b>

รอยเตอร์/แถ่งเนียน - ฟิลิปปินส์ตกลงที่จะซื้อข้าว 150,000 ตัน จากเวียดนาม ในการประกวดราคา และอาจจะนำเข้าเพิ่มเติมเพื่อป้องกันราคาเพิ่มสูง หากสภาพอากาศเลวร้ายกระทบผลผลิตท้องถิ่น

ความต้องการจากฟิลิปปินส์ ที่เป็นหนึ่งในผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก จะช่วยหนุนราคาส่งออกที่อ่อนตัวลงในเอเชีย เช่น ข้าวขาวผสมข้าวหัก 5% ของไทย ราคาลดลงถึงระดับต่ำสุดในปีนี้ที่ 370 ดอลลาร์ต่อตัน

องค์กรอาหารแห่งชาติของฟิลิปปินส์ (NFA) ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลที่จะซื้อข้าวเพิ่มอีก 250,000 ตัน หากภัยแห้งแล้งที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนิโญกระทบต่อการผลิตข้าวของประเทศ นอกจากนั้น ฟิลิปปินส์ยังพร้อมที่จะอนุญาตให้ผู้ค้านำเข้าสูงสุดที่ 805,000 ตัน ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้

“นั่นคือการนำเข้าในครั้งถัดไปที่เราจะอนุญาต ซึ่งน่าจะประกาศอย่างเป็นทางการได้ภายในเดือนนี้” เจ้าหน้าที่ของ NFA กล่าว

เวียดนาม ชนะการประกวดราคาด้วยข้อเสนอที่ปรับลดลงเหลือ 410.12 ดอลลาร์ต่อตัน ตามเพดานราคาที่ผู้ซื้อกำหนดไว้สำหรับข้าวขาวผสมข้าวหัก 25% ซึ่งก่อนหน้านี้ NFA ได้ปฏิเสธข้อเสนอแรกของเวียดนามที่ 419.35 ดอลลาร์ต่อตัน สำหรับการนำเข้าข้าวทั้งหมด 250,000 ตัน และข้อเสนอของไทยที่ 419 ดอลลาร์ต่อตัน สำหรับข้าว จำนวน 100,000 ตัน

ทั้งสองประเทศได้รับโอกาสในการทบทวนปรับการเสนอราคา แต่ไทยคิดว่าราคาอ้างอิงของฟิลิปปินส์นั้นต่ำเกินไป และถอนตัวจากการประมูล

เมื่อต้นปี เวียดนามชนะสัญญาจัดส่งข้าว จำนวน 300,000 ตัน กับ NFA โดยต้องจัดส่งข้าว 150,000 ตันในเดือน ก.ค. นี้ ซึ่งเป็นช่วงที่ฟิลิปปินส์เก็บเกี่ยวได้น้อย

ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน NFA นำเข้าข้าวแล้ว 650,000 ตัน ในขณะที่เมื่อปีก่อน ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวรวมทั้งหมดประมาณ 1.7 ล้านตัน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดในรอบ 4 ปี

ด้วยผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญเกินกว่าครึ่งของประเทศ ทำให้รัฐบาลฟิลิปปินส์เร่งสำรองข้าวเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะราคาขายปลีกเพิ่มสูงที่อาจเกิดซ้ำเช่นปีก่อน หลังห่วงโซ่อุปทานได้รับความเสียหายจากซูเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน เมื่อปลายปี 2556.
กำลังโหลดความคิดเห็น