xs
xsm
sm
md
lg

กัมพูชา-ไทยจะหารือข้อตกลงเพิ่มโควตารถข้ามแดนกระตุ้นการค้า-ท่องเที่ยว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>บรรยากาศบริเวณด่านชายแดนไทย-กัมพูชา ฝั่งปอยเปตของกัมพูชา เจ้าหน้าที่กัมพูชาเผยว่าการหารือเกี่ยวกับข้อตกลงการขนส่งทวิภาคีระหว่างไทยและกัมพูชาจะมีขึ้นในเดือนหน้าโดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มการท่อเที่ยวและการขนส่งสินค้าระหว่างสองประเทศ.--Phnom Penh Post/Vireak Mai .</font></b>

พนมเปญโพสต์ - กัมพูชา และไทยจะเริ่มหารือกันในเดือนหน้าถึงการเพิ่มจำนวนรถโดยสาร และรถบรรทุกข้ามพรมแดน ที่ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 40 คันต่อวัน เพื่อที่จะกระตุ้นการท่องเที่ยว และเพิ่มการขนส่งสินค้า ตามการระบุของเจ้าหน้าที่กระทรวงงโยธาธิการและคมนาคมกัมพูชา

สองประเทศจะหารือข้อตกลงการขนส่งทวิภาคี ที่กรุงเทพฯ วันที่ 5 มิ.ย. ที่จะเพิ่มจำนวนรถข้ามพรมแดนเป็น 500 คัน ในอีก 3 ปีข้างหน้า และเปิดจุดข้ามแดนเพิ่มขึ้นเพื่อคลายความหนาแน่นของยานพาหนะ ตามการระบุของผู้อำนวยการฝ่ายบริหารกระทรวงโยธาธิการและคมนาคม

“กัมพูชาและไทยได้พูดคุยถึงข้อตกลงการขนส่งทวิภาคีอยู่เป็นระยะ และในเวลานี้ฝ่ายไทยต้องการที่จะจัดการหารือในระดับสูงเพื่อหารือถึงข้อตกลงการขนส่งทวิภาคีกับกัมพูชา ด้วยความหวังที่ข้อตกลงจะบรรลุได้ในครั้งนี้” เจ้าหน้าที่คนเดิม กล่าว

ไทยเสนอเพิ่มจำนวนโควตายานพาหนะที่ 150 คันต่อวันในปีแรก และเพิ่มเป็น 300 คันในปีที่ 2 และขยายเป็น 500 คันต่อวันในปีที่ 3 โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย จะให้การสนับสนุนสองประเทศในการบรรลุข้อตกลงนี้

ภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง รถที่ได้รับอนุญาตจะไม่จำกัดจำนวนเที่ยวรถที่เดินทางระหว่างสองประเทศ แต่สามารถข้ามแดนได้ที่ด่านอรัญประเทศ-ปอยเปต และด่านคลองใหญ่-เกาะกง เท่านั้น

แม้จะมีความยินดีต่อข้อเสนอการเพิ่มจำนวนรถข้ามชายแดน แต่ประธานสมาคมรถโดยสารกัมพูชา กล่าวว่า ข้อตกลงนี้มีแนวโน้มที่จะเอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายไทยมากกว่ากัมพูชา

“กัมพูชาจะไม่ได้ใช้โควตาในข้อตกลง เพราะกัมพูชามีสินค้าไม่มากที่จะขนส่งไปยังฝั่งไทย” โสก จันมุนี กล่าว

“ข้อตกลงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการรถโดยสารท้องถิ่นหากไทยอนุญาตให้รถโดยสารกัมพูชาเดินทางได้อย่างอิสระมากขึ้นอย่างที่รถโดยสารของไทยทำในกัมพูชา ไทยจำเป็นที่จะต้องเปิดกว้างมากขึ้นต่อผู้ประกอบการรถโดยสารกัมพูชาที่จะเข้าไปในตลาดของไทย” จันมุนี กล่าวถึงผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว

สเรย จันธี นักวิเคราะห์อิสระ กล่าวว่า ไทยพยายามที่จะทำเช่นเดียวกับเวียดนามที่ขยายข้อตกลงขนส่งของกับกัมพูชา ซึ่งผลที่ได้จากข้อตกลงคือ การส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น เช่น ผัก อาหารทะเล วัสดุก่อสร้าง และน้ำมัน มายังกัมพูชา

“ไม่นานนี้การส่งออกของไทยไปยังตลาดอื่นๆ มีอุปสรรคบ้างหลังทหารเข้ายึดอำนาจ ซึ่งอาจทำให้กัมพูชาเป็นตลาดส่งออกสินค้าของไทยในตอนนี้ แม้กัมพูชาอาจจะยังคงมีความไม่สมดุลทางการค้ากับไทยต่อไป แต่ก็ไม่เลวร้ายมากนักตราบเท่าที่กัมพูชาสามารถส่งออกไปยังตลาดระดับสูงเพื่อชดเชยสิ่งเหล่านั้น และยังดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นทั้งจากไทย และเดินทางผ่านไทย” จันธี กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น