xs
xsm
sm
md
lg

จีนระดมเครื่องบิน ปืนใหญ่ จรวด “ธงแดง-12” ประชิดชายแดนพม่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>เครื่องบินรบ J-11 ซึ่งก็คือ Su-27SK เมดอินไชน่า โดยไม่ได้จ่ายค่าสิทธิบัตร แบบเดียวกันนี้ที่สื่อออนไลน์ของทางจีนรายงานว่าอย่างน้อย 1 ฝูง ถูกส่งเข้าชายแดนตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนั้นยังส่ง J-7H ไปประจำที่สนามบินเมืองหลินซัง ที่อยู่ใกล้ชายแดนรัฐชานของพม่ามากที่สุด สิ่่งนี้มีขึ้นหลังจากเครื่องบินพม่าทิ้งระเบิดในเขตโกกัง ในการปราบกองกำลังฝ่ายกบฏ แต่ระเบิดเลยเข้าไปตกในดินแดนจีน สร้างความกดดันอย่างมหาศาลต่อรัฐบาลในปักกิ่ง. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - จีนได้ระดมกำลังทหารจำนวนมาก พร้อมเครื่องบินรบ และอาวุธหนักอีกหลายชนิดเข้าสู่ชายแดนภาคตะวันตกเฉียงใต้ มณฑลหยุนหนัน กับภาคเหนือของพม่า หลังจากการปะทะชายแดนระหว่างกองทัพฝ่ายรัฐบาล และกองกำลังฝ่ายกบฏในเขตโกกัง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อจีนในช่วงข้ามเดือนมานี้ แต่ความเคลื่อนไหวทางทหารมีขึ้นหลังจากฝ่ายพม่าส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดในเขตสู้รบ เป็นเหตุให้ระเบิดหลายลูกหล่นลงในดินแดนของจีน ซึ่งทำให้เกิดแรงกดดันต่อรัฐบาลในกรุงปักกิ่่งอย่างหนัก

ภาพที่ Sina.Com และนิตยสารโกลบอลไทมส์ (Golbal Times) นำออกเผยแพร่ทางเว็บไซต์ ได้แสดงให้เห็นการเคลื่อนฝูงบิน J-11 เข้าเสริมกำลังในเขตเมืองหลินซัง (Lin Cang) ซึ่งมีชายแดนติดกับตอนเหนือของรัฐชานในพม่า รวมทั้งการเคลื่อนปืนใหญ่ กับอาวุธหนักอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ จรวด “หงฉี-12” หรือ HQ-12 ซึ่งเป็นจรวดต่อสู้อากาศยานสำหรับยิงเครื่องบินรบ

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นหลังจากนักวิชากร และสื่อออนไลน์ซึ่งเป็นของรัฐ ถามรัฐบาลในปักกิ่งว่า เพราะเหตุใดกองทัพประชาชนจีนจึงไม่สามารถตรวจจับเครื่องบินทิ้งระเบิดของพม่าได้ ปล่อยให้มีการล้ำแดนเข้ามาทิ้งระเบิด สร้างความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งคำถามที่ว่า ปัจจุบันกองทัพประชาชนจีนมีขีดความสามารถในการป้องกันเอกราชอธิปไตย และน่านฟ้าได้จริงๆ หรือไม่

คำถามต่างๆ เหล่านี้ ทำให้นายกรัฐมนตรี นายหลี่เค่อเฉียง ต้องออกมายืนยันในขีดความสามารถของรัฐบาลในการป้องกันประเทศ ในขณะที่กระทรวงการต่างประเทศได้ออกแจกแจงเกี่ยวกับการดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อพม่า ผ่านวิถีทางการทูต เพื่อป้องกันมิให้เกิดเรื่องร้ายแรงขึ้นอีก

สำหรับจีนนั้น เหตุการณ์ที่ชายแดนพม่าไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะไม่มีอะไรที่ทำให้จีนรู้สึก “เสียหน้า” เท่ากับปล่อยให้ประเทศที่เล็กกว่าอ่อนแอกว่าประเทศหนึ่ง ละเมิดอธิปไตยได้ครั้งแล้วครั้งเล่า โดยไม่มีการตอบโต้อย่างเท่าเทียม

แต่ปัญหากับพม่ามีความละเอียดอ่อน และมีความอ่อนไหวมาก ทั้งทางการเมือง ความร่วมมือทวิภาคีทางเศรษฐกิจ และในทางยุทธศาสตร์ ซึ่งจีนต้องพึ่งพาพม่าในการออกสู่มหาสมุทรอินเดีย พึ่งพาพลังงานจากแหล่งผลิตในทะเลเบงกอลของพม่า คือ ก๊าซปริมาณมหาศาลที่พม่าขายให้จีน และส่งผ่านระบบท่อความยาวนับพันกิโลเมตร เข้าสู่มณฑลหยุนหนัน ก่อนจะกระจายแบ่งปันนำไปใช้ในอีกหลายมณฑลทางภาคตะวันตกของประเทศ

ในทางการเมืองระหว่างประเทศ จีนเป็นผู้อุปถัมภ์รัฐบาลทหารพม่าในอดีตมาตลอด ทั้งช่วยแก้ต่างให้ และใช้สิทธิยับยั้งเพื่อปกป้องพม่าในเวทีสากล ในปัจจุบันจีนระมัดระวังอย่างมากที่จะทำอะไรรุนแรงต่อพม่า ในขณะที่ความสัมพันธ์กับความร่วมมือระหว่างพม่ากับสหรัฐฯ และความสัมพันธ์กับอินเดีย ชาติประชาธิปไตยใหญ่ที่สุดในโลก ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับจีน ได้พัฒนาในทางบวกมาเป็นระยะๆ

แต่จีนก็มี “ศึกใน” ที่จะต้องจัดการอย่างรอบคอบเช่นกัน..
.
<FONT color=#00003>หงฉี-12 (Hong Qi-12) ซึ่งก็คือ จรวดต่อสู้อากาศยาน S-175 ดาวินา (Davina) ฉบับเมดอินไชน่า ที่จีนไม่ได้จ่ายค่าสิทธิบัตรให้ใคร แบบเดียวกันนี้ที่สื่ออออนไลน์ของทางการรายงานว่า ถูกส่งเข้าชายแดนมณฑลหยุนหนัน-รัฐชานของพม่า สิ่งนี้เกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลปักกิ่ง ได้รับการกดดันจากสังคมอย่างหนัก. </FONT>
2
นี่คือสถานการณ์ปัจจุบันระหว่างสองประเทศ หลังจากจีนได้กล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 13 มี.ค. เครื่องบินของพม่าได้ทิ้งระเบิดลงในเขตไร่อ้อยของชาวบ้าน ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 4 คน อีก 8 คนบาดเจ็บ และ ผู้เสียชีวิตได้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 5 คน ในเวลาต่อมา

จีนกล่าวอีกว่า ก่อนหน้านั้นพม่ายังยิงปืนใหญ่ล้ำแดนเข้าไป ทำให้บ้านเรือนของราษฎรถูกทำลาย ซึ่งต่อมาเรื่องแบบนี้ได้กลายเป็นเหตุการณ์ปกติ คือ เกิดขึ้นติดต่อกันอีกหลายครั้ง

ในวันที่ 14 มี.ค. เจ้าหน้าที่ทำเนียบประธานาธิบดีพม่า ได้ออกปฏิเสธว่า เหตุการณ์ระเบิด ที่จีนกล่าวหา ไม่ได้เกิดจากฝ่ายรัฐบาล ทั้งระบุว่าอาจเป็นฝีมือของอีกฝ่ายหนึ่งที่กระทำการโดยต้องการให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างจีนกับพม่า แต่เมื่อจำนนด้วยหลักฐานของฝ่ายจีนเวลาต่อมา พม่าก็ได้ออกแถลงแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์อันไม่พึงปรารถนาที่เกิดขึ้น และแสดงความเศร้าใจต่อชาวจีนผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งให้คำมั่นจะจัดการสอบสวนสืบสวนหาฝ่ายรับผิดชอบในเรื่องนี้

แต่ภายในจีนไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น การล้ำอธิปไตยของพม่าได้ทำให้เกิดคำถามที่กดดันต่อรัฐบาลปักกิ่งติดตามมาอย่างมากมาย นอกเหนือจากปัญหาที่มีราษฎร (พม่า) อีกราว 70,000 คน หลบหนีการสู้รบจากเขตโกกัง ข้ามเข้าสู่ดินแดนจีน ซึ่งเป็นภาระต้องให้ข้าวน้ำ ให้ที่พักอาศัย ให้การช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมพื้นฐานต่างๆ ขณะที่ฝ่ายพม่ามองว่า ในบรรดาผู้ที่หลบหนีนั้น ยังรวมทั้งฝ่ายกองโจรที่แอบแฝงไปรับการช่วยเหลือจากจีนด้วย

กลุ่มกบฏในเขตโกกังนั้นมีความเป็นมาที่ยาวนาน ตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และตั้งแต่เมื่อครั้งที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า ที่ปักกิ่งสนับสนุน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตที่รัฐบาลกลางพม่าให้สิทธิในการปกครองตนเองแห่งนี้ เกือบทั้งหมดมีเชื้อสายจีน และดินแดนแถบนี้ก็มีประวัติมายาวนาน รวมทั้งในครั้งหนึ่งเคยเป็นดินแดนของจีน แต่สูญเสียไปในช่วงที่อังกฤษเข้าครอบครองดินแดนพม่า และตกมาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชานปัจจุบัน

นักวิชาการจีนจำนวนหนึ่งถึงกับเรียกร้องผ่านสื่อออนไลน์ ให้รัฐบาลจีนต้องช่วยฝ่ายบกฏโกกัง บางคนเรียกร้องให้จีนโจมตีพม่าเป็นการตอบโต้การรุกล้ำอธิปไตยอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่จะไม่อาจจะเกิดขึ้นง่ายๆ ด้วยลมบนลมล่างที่กล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้นการเคลื่อนกำลังพล เคลื่อนอาวุธเข้าสูชายแดนติดกับพม่า จึงเป็นสิ่งที่จีนไม่มีทางเลี่ยง แต่จะเลยเถิดไปยิ่งกว่านั้น เป็นเรื่องลำบากยากเข็นยิ่ง
.

<FONT color=#00003>เครื่องบินขับไล่ J-7H ที่สื่อออนไลน์ของทางการจีนกล่าวว่า จอดที่สนามบินเมืองหลินซัง ซึ่งตอนนี้กองทัพอากาศได้เข้าควบคุมใช้เป็นฐานปฏิบัติการ ใกล้ชายแดนพม่า อีกลำเป็น J-11 ที่ประจำการอยู่สนามบินอีกแห่งหนึ่งห่างออกไป  เพราะต้องใช้ทางวิ่งยาวกว่าสนามบินหลินซัง. </b>
2
วันที่ 14 มี.ค. โฆษกกองทัพอากาศจีน ได้ออกให้สัมภาษณ์ว่า เครื่องบินรบของจีนได้ขึ้นลาดตระเวนตรวจการณ์บริเวณชายแดน ป้องกันมิให้เครื่องบินต่างชาติรุกล้ำน่านฟ้าได้อีก และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สื่อออนไลน์ต่างๆ ก็ได้นำภาพการเคลื่อนกำลังของฝ่ายจีนออกเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง จนถึงช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานี้

ตามรายงานของ Sina.Com ปัจจุบัน กองทัพอากาศได้เข้าควบคุมสนามบินเล็กๆ ที่เมืองหลินซัง เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับฝูงบินขับไล่โจมตีแบบ J-7H ส่วน J-11 (ซึ่งจีนก๊อบปี้จาก Su-27SK ของรัสเซีย) อีกฝูงหนึ่ง ไปตั้งฐานที่สนามบินอีกแห่งหนึ่งห่างกันออกไป เนื่องจากต้องใช้ทางวิ่งขึ้นลงยาวกว่า J-7 นั่นเอง

สื่อออนไลน์ของจีนอีกหลายสำนัก รวมทั้งเว่ยโป (Weibo) ยังเผยแพร่ภาพรถบรรทุกทหารหลายสิบคันนำทหารราบเคลื่อนเข้าสู่พื้นที่ชายแดน กับรถลากปืนใหญ่อีกหลายกระบอก พร้อมรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ และจรวด “ธงแดง-12” (Hong Qi-12) รวมทั้งภาพ “โมบายเรดาร์” หรือฐานเรดาร์เฉพาะกิจที่ติดตั้งบนรถบรรทุก จอดอยู่ในหลายจุดตามแนวชายแดน

“ธงแดง-12” หรือ Kai Shan-1 (KS-1) เป็นจรวดต่อสู้อากาศยานจากพื้นสู่อากาศ ระยะปานกลาง เป็นอาวุธอีกชนิดหนึ่งที่จีนก๊อบปี้ [เรียกให้ไพเราะว่า “รีเวิร์ส เอ็นจิเนียริ่ง” (Reverse-Engineering)] จากจรวด S-175 “ดาวินา” (Davina) ของโซเวียต/รัสเซีย นำวิถีด้วยเรดาร์ เป็นจรวดรุ่นเก่าที่ผ่านการใช้งานมานาน ขณะที่จีนทำจรวดต่อสู้อากาศยานพื้นสู่อากาศ ออกมาอีกหลายรุ่น ทันสมัยกว่า และประสิทธิภาพดียิ่งกว่า

เป็นเรื่องที่ขำไม่ออก ขณะที่จีนเคลื่อนจรวด “ธงแดง-12” เข้าชายแดน พร้อมจะยิงเครื่อบินข้าศึกที่ล้ำแดนนั้น พม่าเองก็พร้อมจะใช้จรวด HQ-12 ยิงเครื่องบินข้าศึกที่ล้ำแดนเช่นกัน.. กองทัพพม่านำ “หงฉี-12” ที่ซื้อจากจีนออกอวดเป็นครั้งแรก ในพิธีสวนสนามครบรอบปี วันก่อตั้งกองทัพในเดือน มี.ค.2556 คู่กับจรวด S-175 อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็น “ของแท้” ที่พม่าซื้่อตรงจากรัสเซีย.
.

ตรึงกำลังคลุมพื้นที่ Sina/Weibo/GlobalTimes
<FONT color=#ff0000>ภาพจากพื้นที่ -- จรวด ธงแดง-12 ติดตั้งบนรถบรรทุก 6 ล้อ แล่นเข้าสู่ชายแดนพม่า ในช่วงไม่กี่วันมานี้ จีนยังระดมอาวุธหนักอีกหลายชนิด เช่นเดียวกับเครื่องบินรบ และกำลังทหารราบ เพื่อเข้าตรึงพื้นที่ แต่จะทำกับพม่าเลยเถิดไปยิ่งกว่านี้ เป็นเรื่องลำบากสำหรับจีน.</FONT>
3

4

5

6

7

8

9

11

12

13

14

15

16

17
กำลังโหลดความคิดเห็น